อนาคตผู้ใช้อินเตอร์เน็ต กับ เงินในกระเป๋า

Post Reply
brid.kita
Posts: 359
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

อนาคตผู้ใช้อินเตอร์เน็ต กับ เงินในกระเป๋า

Post by brid.kita »

ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


อนาคตผู้ใช้อินเตอร์เน็ต กับ เงินในกระเป๋า
« on: November 29, 2012, 10:29:54 am »

อนาคตผู้ใช้อินเตอร์เน็ต กับ เงินในกระเป๋า


โลกของอินเตอร์เน็ตตั้งแต่อดีตกระทั่งยุคปัจจุบัน ถูกใช้ประโยชน์ไปในทางแสวงหาความรู้ สาระ ความบันเทิงกันอย่างแพร่หลาย หากใช้อย่างถูกวิธี ถูกวัตถุประสงค์ ก็สามารถสร้างคุณประโยชน์แก่ตัวเองและสังคมมหาศาล ทว่า หากใช้ไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง ก็สร้างโทษแก่ผู้ใช้และส่วนรวมด้วยเช่นกัน

ในเวทีเสวนาสาธารณะ NBTC Public forum ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา โดย กสทช.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และ กสทช.สุภิญญา กลางณรงค์ จึงตั้งประเด็นการหารือในหัวข้อ ITU จะกำกับดูแลอินเตอร์เน็ต: ไทยควรมีท่าทีอย่างไร เป็นเวทีถกแถลงเพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสมกับประเทศไทย

โดยมีโจทย์ว่า "ไทยจะได้อะไรจากการใช้อินเตอร์เน็ต?" และการวิเคราะห์อนาคตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ภายใต้กติกาใหม่ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งกำลังหาข้อสรุปเกี่ยวกับกฎข้อบังคับโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Regulation-ITRs) ซึ่งเป็นข้อบังคับทั่วไปในเรื่องหลักการและการปฏิบัติการโทรคมนาคมระหว่าง ประเทศ และการทำงานร่วมกันได้ของโครงสร้างโทรคมนาคมระหว่างประเทศ รวมถึงอัตราค่าธรรมเนียมและบริการ เป็นต้น

ทั้งนี้ ไอทียู คือหน่วยงานของสหประชาชาติที่มีวัตถุประสงค์ในการประสานงานปฏิบัติการ ด้านการสื่อสารและบริการทั่วโลก มีสมาชิก 193 ประเทศ เป็นศูนย์กลางในการประสานกำกับดูแลการบริการโทรคมนาคมให้ทันสมัยและการ บริการให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ มีเป้าหมายสำคัญคือช่วยประเทศเกิดใหม่ก่อตั้งและพัฒนาระบบโทรคมนาคมของ ตัวเองได้

กฎข้อบังคับโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITRs ฉบับปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกนั้น ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2531 หรือกว่า 2 ทศวรรษมาแล้ว ข้อบังคับหลายประเด็นจึงล้าสมัยและบริการโทรคมนาคมหลายประเภทยังยกเลิกการ ให้บริการแล้วเนื่องจากวิวัฒนาการเทคโนโลยีโทรคมนาคมไม่หยุดนิ่งและมีการ พัฒนารูปแบบการให้บริการโทรคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโทรคมนาคม โดยให้เอกชนเป็นผู้ให้บริการในหลายประเทศ รวมถึงการเจริญเติบโตของปริมาณทราฟฟิกโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาต้องการให้ยกเลิกข้อบังคับดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ของไอทียูจากประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย เห็นความจำเป็นของการมีกฎข้อบังคับด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศกำลังพัฒนาจากประเทศที่พัฒนาแล้วในการให้บริการ ข้ามพรมแดน ซึ่งมีแนวทางการกำหนดอัตราค่าบริการที่แตกต่างกัน

ดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหารอินเตอร์เน็ตโซไซตี้ประเทศไทย ISOC (ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) กล่าวถึงประเด็นหลักๆ ที่ถูกพูดถึงในสังคมอย่างสูงขณะนี้ คือ ผลกระทบต่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศอาจเกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจ , การศึกษา, การท่องเที่ยว, กลุ่มเอสเอ็มอี, สาธารณสุข, โรงพยาบาล รวมถึงกลุ่มภาคธุรกิจอื่นๆ นับไม่ถ้วน แทบจะทุกภาคส่วน

"ทุกวันนี้เราใช้อินเตอร์เน็ตฟรี ไม่ต้องจ่ายเงินค่าใช้บริการ เพราะการพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตปราศจากการลงทุนจากภาครัฐ หรือใช้เงินจากภาษีของประชาชน เป็นสิ่งเราถูกสร้างขึ้นโดยไม่มีเจ้าของ จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องใช้อย่างรับผิดชอบ เพราะทุกวันนี้ การอยู่รอดของอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นเพราะเครือข่ายองค์กรต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อให้การใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด"

"ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเป็นร้อยละ 40 ของทั้งโลก แต่ในส่วนของภูมิภาคเอเชียเองก็มีอัตราสูงถึงร้อยละ 25 แล้ว ฉะนั้น ภูมิภาคนี้จึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายระบบ อินเตอร์เน็ต ให้ประชาชนเข้าถึงมากที่สุด" ดวงทิพย์กล่าว

ด้าน กาญจนา กาญจนสุต อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือเอไอที กล่าวว่า การเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นไม่มีรัฐบาลเข้ามา เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้น ดังนั้นการบริหารเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงพยายามไม่เข้าไปยุ่งกับรัฐบาลมาก ที่สุด เพราะการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐมักเกิดความล่าช้า

"หลังจากเกิดโดเมนเนมหรือชื่อเว็บไซต์ขึ้นมากมาย ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องเร่งพัฒนาโดเมนของตัวเองเพื่อให้อยู่รอด ทำให้คนที่จำเป็นต้องทำธุรกิจหรือธุรกรรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมโยง บางคนจึงเลือกใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าไอทียูเพราะใช้เวลาในการพัฒนานานและ ราคาแพง" อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเอไอทีกล่าว และทิ้งท้ายว่า ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายของตัวมันเอง เช่นกูเกิลได้สร้างเครือข่ายของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับกฎข้อบังคับโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หากใครต้องการความชัดเจนติดตามได้ที่ การประชุมว่าด้วยการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (World Conference on International Telecommunications : WCIT) ณ ประเทศดูไบ ระหว่างวันที่ 3-14 ธันวาคม ที่จะถึงนี้



ขอบคุณ แหล่งที่มาหนังสือพิมพ์ มติชน
post : วันศุกร์ ที่ 2 พฤศจิกายน 2555 เวลา 11:06:02 น. by www.CreditOnHand.com
tag : ข่าวไอทีอัพเดท อนาคตผู้ใช้อินเตอร์เน็ต กับ เงินในกระเป๋า
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”