มือถือเสมือนส่วนหนึ่งของร่างกาย - โลกาภิวัตน์

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

มือถือเสมือนส่วนหนึ่งของร่างกาย - โลกาภิวัตน์

Post by brid.ladawan »

ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


มือถือเสมือนส่วนหนึ่งของร่างกาย - โลกาภิวัตน์
« on: September 27, 2012, 05:27:02 pm »

มือถือเสมือนส่วนหนึ่งของร่างกาย - โลกาภิวัตน์
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2555 เวลา 00:00 น.

มนุษย์ใช้มือถือจนติดเป็นนิสัย ขาดไม่ได้ ทุกคนอยากมีติดตัวไว้ จนกระทั่งเอาไว้บนหัวนอน กระทั่งในประเทศไทย ผมเคยเห็นขอทานแอบนำมือถือมาใช้งาน

บริษัทควอลคอมและไทม์ ได้ทำการศึกษาสำรวจประชาชนทั่วโลกด้วยการใช้ตัวอย่างผู้ใช้มือถือประมาณ 5,000 คน ปรากฏว่า มีคนนำมือถือไปไว้บนหัวนอนยามค่ำคืนถึง 68% และก็ยังพบอีกว่า คนอเมริกันสามในสี่คนคิดว่าการเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีสม่ำเสมอช่วยได้และมีประโยชน์

ถ้าหากมาดูตัวอย่างผู้ที่ติดการใช้โทรศัพท์อย่างเหลือเชื่อน่าจะเป็น คุณไมเคิล เซย์เลอร์ ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อว่า “คลื่นแห่งโทรศัพท์เคลื่อนที่” หรือ “The Mobile Wave” และเป็นซีอีโอ หรือผู้บริหารสูงสุดของไมโครสทราเทจี้ เขาให้สัมภาษณ์ว่า เขาต้องเช็กดูมือถืออย่างน้อยนาทีละครั้ง “ผมต้องเช็กดูโทรศัพท์มือถือ 500 ครั้งต่อวัน หรือบางทีอาจจะถึง 1,000 ครั้งต่อวัน” ประเภทต้องเอามือถือติดตัวไปตลอดทุกวินาทีไม่มีการวางทิ้งไว้

“น่าจะมีกรณีเดียวกระมังที่ผมอาจจะวางโทรศัพท์ได้ก็คือ ถ้าหากผมได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระราชินีแห่งประเทศอังกฤษ และพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสกับกระผมสองต่อสอง ผมอาจจะยอมไม่เช็กดูโทรศัพท์ เพราะผมต้องปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยตามพระราชประสงค์ เพื่อมิให้เป็นการรู้สึกหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”

โดยปกติแล้วคุณเซย์เลอร์ จะใช้โทรศัพท์มือถือตลอดเวลา เพื่อคอยรับข่าวสารหรือเอสเอ็มเอสจากเพื่อนร่วมงานและเพื่อน ๆ ทั่วไป

ก็ไม่ใช่ว่าโทรศัพท์มือถือจะมีแต่ประโยชน์เท่านั้น นักมานุษยวิทยาอย่าง ดร.แอมเบอร์ เคส และผู้สังเกตการณ์อีกหลายท่านก็เห็นว่า วัฒนธรรมผู้ใช้มือถือก็มีผลลบเช่นกัน โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าหากใครที่จะต้องใช้โทรศัพท์ตลอดเวลา นานไปอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกถูกทอดทิ้งและว้าเหว่ ก็น่าประหลาดใจเหมือนกันว่า ตรงนี้อาจจะตรงกันข้ามกับความรู้สึกของผู้อ่าน ผมเองก็รู้สึกว่า บางเวลาถ้าอยู่คนเดียวเหงาก็เอาโทรศัพท์มือถือมาโทรฯ หาคนที่เราคิดถึง แต่ถ้าหากไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้ก็อาจจะรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งก็ได้

ศาสตราจารย์ เชอร์รี่ เทอร์เคิล แห่งเอ็มไอที ได้เขียนในหนังสือที่เขาแต่งไว้ชื่อว่า “เรามาอยู่โดดเดี่ยวกันเถอะทำไมเราจะต้องมาตั้งความหวังมากมายกับเทคโนโลยี และทำไมเราจะต้องตั้งความหวังน้อยกับพวกเรากันเองด้วย”

ประเภทไม่สนเทคโนโลยี ท่านศาสตราจารย์ก็เล่าว่า “กลุ่มพวกวัยรุ่นบอกข้าพเจ้าว่า เขานอนไปพร้อมกับโทรศัพท์มือถือ บางครั้งในโรงเรียนเขาไม่ให้นำโทรศัพท์มือถือเข้าห้องเรียน จะต้องเอาโทรศัพท์มือถือเก็บไว้ที่ตู้ล็อกเกอร์ เขาก็จะรู้ว่าโทรศัพท์สั่นเมื่อไรและมีใครโทรฯมา”

“เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเข้าไปแล้ว คนขาดไม่ได้ กลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้เป็นกลุ่มแรกที่เติบโตมากับการตั้งความหวังที่จะต้องใช้เทคโนโลยีตลอดเวลา”

ส่วนวัยรุ่นอีกคนอายุ 13 ปี บอกกับท่านอาจารย์เทอร์เคิลว่า “การติดต่อด้วยการส่งข้อความ ถือว่าพอเหมาะพอดีที่จะสื่อสารถึงกันและควบคุมได้ดีที่สุด การส่งข้อความจะไม่ทำให้เรารู้สึกว่าใกล้ชิดกันจนเกินไป และก็ไม่เหินห่างจนเกินไป” ปัจจุบันมีวัยรุ่นเด็กประเภทนี้มากเขาเรียกว่า โกลดีลอคส์ (Goldilocks) หรือคนที่ชอบความสะดวกสบายในการติดต่อกับคนจำนวนมากแต่ก็ทิ้งระยะเอาไว้ เอาแค่คุยกันได้ก็พอ

ท่านผู้อ่านติดกับมือถือมากไหมครับ แต่ผมว่าวัยรุ่นคงขาดมือถือได้ลำบาก.

รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
boonmark@stamford.edu
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”