"สมาร์ทโฟน"บูมกระทบชิ่งองค์กร "ไอดีซี"แนะเตรียมตัวรับมือการจ

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

"สมาร์ทโฟน"บูมกระทบชิ่งองค์กร "ไอดีซี"แนะเตรียมตัวรับมือการจ

Post by brid.ladawan »

ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


"สมาร์ทโฟน"บูมกระทบชิ่งองค์กร "ไอดีซี"แนะเตรียมตัวรับมือการจัดการระบบไอที
« on: July 28, 2012, 03:50:15 pm »


"สมาร์ทโฟน"บูมกระทบชิ่งองค์กร "ไอดีซี"แนะเตรียมตัวรับมือการจัดการระบบไอที
updated: 13 ก.ค. 2555 เวลา 11:50:14 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

นายทิม ดิลลอน รองประธานฝ่ายวิจัยโมบิลิตี้ และเอ็นยูเซอร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย บริษัทวิจัยไอดีซี เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีปัจจัยทางบวกด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งคนไทยชอบเทคโนโลยีทำให้ยอดขายอุปกรณ์สมาร์ทโฟนและแท็บเลตเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีระดับราคาถูกลง ประกอบกับอุตสาหกรรมธนาคารในประเทศไทยเริ่มนำแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือมาใช้งานมากขึ้น แต่การใช้งานในองค์กรยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นอาจเพราะไม่ได้เหมาะกับทุกองค์กร แต่ขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจและตำแหน่งงานของพนักงานแต่ละคนมากกว่า

สำหรับในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกคาดว่าจะมีพนักงานนำโมบายดีไวซ์มาใช้ในองค์กร 38% หรือ 838.7 ล้านคน แบ่งเป็นพนักงานที่เข้าประจำสำนักงาน 508.6 ล้านคน นาน ๆ ครั้ง 317.8 ล้านคน และทำงานที่บ้าน 12.3 ล้านคน จากการสำรวจยังระบุด้วยว่าการใช้สมาร์ทโฟนปี 2554 มีน้อยกว่า 10% แต่จะเพิ่มเป็น 20% ในปี 2558 ขณะที่แท็บเลตเพิ่มจาก 1% เป็น 2% และการใช้งานส่วนใหญ่ 60% ยังอยู่บนโต๊ะโน้ตบุ๊ก ขณะที่ระบบปฏิบัติการที่มีการนำมาใช้แอนดรอยด์ อาร์ม มีสัดส่วน 32.70% วินเทล 25% ไอโอเอส 17.20% วินโดวส์โฟน อาร์ม 10.70% และอื่น ๆ 8.8% แบล็คเบอร์รี่ 10 ประมาณ 5.70%

พนักงานในเอเชีย-แปซิฟิกจะมีอุปกรณ์ที่สามารถประมวลผลคอมพิวเตอร์เพิ่มจาก 2 เครื่อง/1 คน เป็น 3 เครื่อง/1 คน ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ ต้องทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง รวมถึงมีการวางแผนด้านโมบายแอปพลิเคชั่นให้เห็นมากกว่าเดิม

"การเพิ่มขึ้นของกระแสโมบายเวิร์ก ฟอร์ซบ่งชี้ให้เห็นว่า การที่พนักงานในองค์กรต้องการนำอุปกรณ์ไอทีของตนเองมาใช้ทำงานในองค์กรมากขึ้น จะทำให้องค์กรต้องเปลี่ยนกรอบความคิดเดิมใหม่ ทำให้ที่ทำงานในอนาคตมีความยืดหยุ่นและเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้มากขึ้น ประเด็นเรื่องประสิทธิภาพในการสร้างผลงานและความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานเป็นเรื่องที่หลายคนคาดหวัง และองค์กรต่าง ๆ จะหันมากังวลเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในบริษัท รวมถึงการหามาตรการดูแลอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ของพนักงาน"

นายทิมกล่าวต่อว่า องค์กรต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ จาก 4 ประการ ประการแรกคือ การที่พนักงานในองค์กรจะนำอุปกรณ์ไอทีของตนเองมาใช้ในการทำงาน ข้อดีคือจะทำให้พนักงานสร้างผลงานได้ดีขึ้น และมีความพึงพอใจกับการทำงานสูงขึ้น แต่ทำให้ต้นทุนการดูแลอุปกรณ์ไอทีในองค์กรสูงขึ้น และการรักษาความปลอดภัยของระบบไอทีในองค์กรจะซับซ้อนขึ้นเช่นกัน

ประการที่ 2 องค์กรต้องตระหนักว่าการใช้อุปกรณ์มือถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ทำให้ความปลอดภัยขององค์กรลดลง ซึ่ง 80% ของบริษัทในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกไม่ได้มองเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ประการที่ 3 คือแอปพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือจะเริ่มขยายตัวจากการใช้งานในหมู่ผู้บริโภคมาสู่การใช้งานด้านธุรกิจ และสุดท้าย เรื่องเอ็นเอฟซี และการชำระเงินผ่านอุปกรณ์มือถือจะเป็นเรื่องน่าจับตามองในอนาคต เพราะมีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และโซลูชั่นด้านนี้มากขึ้น แต่ความนิยมในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป

ทางไอดีซียังเปิดเผยข้อมูลผลสำรวจบุคลากรอาวุโสที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการตัดสินใจด้านไอทีขององค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกกว่า 279 คนจากหลายภาคอุตสาหกรรม ได้ข้อสรุป 4 ข้อใหญ่ ข้อแรก องค์กรส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกไม่ได้มองเรื่องโมบิลิตี้ในองค์กรเป็นแค่การใช้งานอีเมล์ และส่วนใหญ่เริ่มวางแผนกลยุทธ์ในองค์กรแล้ว ดังนั้นองค์กรในประเทศไทยควรวางกลยุทธ์เชิงรุกเกี่ยวกับเรื่องนี้

เพื่อมองหาผลกระทบและเตรียมการรับมือ

ข้อ 2 ระบบปฏิบัติการไอโอเอส และแอนดรอยด์บนอุปกรณ์มือถือเริ่มขยายตัวมาสู่องค์กรธุรกิจ โดยองค์กรส่วนใหญ่ให้ความสนใจระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 32% ระบบปฏิบัติการไอโอเอส 30% ดังนั้นต้องคิดว่าควรออกแบบโซลูชั่นให้รองรับระบบปฏิบัติการใดเพื่อตอบสนองความต้องการพนักงานที่หลากหลาย ข้อ 3 เทรนด์การนำอุปกรณ์ไอทีของตนเองมาใช้ทำงานเป็นเรื่องที่กำลังมาและหนีไม่พ้น แทนที่องค์กรจะสั่งห้ามควรหาคำจำกัดความ วางขอบเขตการใช้งาน และเปลี่ยนมุมมองขององค์กรเพื่อใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมมากกว่า และข้อ 4 การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นขององค์กรรองรับระบบปฏิบัติการเดียวอาจไม่เพียงพอ และอาจต้องทำให้รองรับเทคโนโลยีเอชทีเอ็มแอล 5 ซึ่งมี2 ทางเลือกคือ ให้บริษัทอื่นเป็นผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่น ซึ่งพัฒนาได้เร็วหรือพัฒนาด้วยตนเองอาจต้องใช้เวลานานกว่า และต้องดูความพร้อมของบุคลากรรวมถึงงบประมาณการพัฒนา แต่มีข้อดีตรงที่ปรับแต่งแอปพลิเคชั่นได้เหมาะสมกับความต้องการได้
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”