โอกาสดีสำหรับคนที่อยากมีชื่อบนยานอวกาศ งานนี้ NASA จัดให้

Post Reply
brid.samanan
Posts: 578
Joined: 07 Aug 2017, 09:57

โอกาสดีสำหรับคนที่อยากมีชื่อบนยานอวกาศ งานนี้ NASA จัดให้

Post by brid.samanan »

Image

โอกาสง่ายๆ ที่เราจะได้เข้าร่วมการสำรวจจักรวาลกับองค์การ NASA มาถึงแล้ว กับยานสำรวจดวงอาทิตย์ที่มีชื่อว่า Parker Solar Probe ที่มีหมายกำหนดการปล่อยยานในช่วง Summer ของปีนี้ โดยภารกิจของยานนี้คือการสำรจชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ในแบบที่ไม่เคยมียานลำไหนทำได้มาก่อน และที่สำคัญคือทาง NASA เขาเปิดโอกาสให้ใครก็ตามได้ร่วมการสำรวจอวกาศในครั้งนี้ด้วย

NASA ได้เปิดตัวแคมเปญที่เรียกว่า Hot Ticket เป็นช่องทางสำหรับใครก็ตามที่อยากมีส่วนร่วมในภารกิจการสำรวจดวงอาทิตย์ของยาน Parker Solar Probe โดยเราสามารถฝาก ชื่อ นามสกุล ใส่ไว้ในการ์ดหน่วยความจำเล็กๆ ที่อยู่ในยานสำรวจ ถึงแม้อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สำหรับกลุ่มคนที่ชอบเรื่องการสำรวจอวกาศ นี่ถือเป็นเรื่องที่เจ๋งมากๆ เลยทีเดียว และต่อไปนี้คือรายละเอียดการลงทะเบียนเข้าระบบการฝาก ชื่อ นามสกุล ไปกับยาน

อันดับแรก ให้ไปที่หน้าเว็บลงทะเบียน โดยคลิกที่ลิงค์อ้างอิงของ parkersolarprobe.jhuapl.edu ทางด้านใต้บทความนี้ จากนั้นก็ใส่ ชื่อ นามสกุล และใส่อีเมล์ของเรา จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Submit เพื่อยืนยันการลงทะเบียน จากนั้นระบบจะส่งอีเมล์กลับมาหาเราเพื่อยืนยันการลงทะเบียน ให้ทำการคลิกลิงค์ในอีเมล์ ซึ่งจะพาเราไปยังหน้าเพจที่คอนเฟิร์มการลงทะเบียน และเราจะได้รับตั๋วเดินทางดิจิทัลเพิื่อยืนยันการส่งชื่อเราเข้าร่วมเดินทางในครั้งนี้

Image
ตัวอย่างของตั๋ว Hot Ticket ที่ได้จากการลงทะเบียน

ยานสำรวจ Parker Solar Probe ได้รับภารกิจที่น่าตื่นเต้นที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยที่รอบตัวยานได้รับการหุ้มด้วยเกราะกันความร้อนหนา 4 นิ้ว เพื่อป้องกันความร้อนอย่างมหาศาลจากดวงอาทิตย์ และมันจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะห่างที่น้อยกว่า 6.4 ล้านกิโลเมตร (ในขณะที่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 150 ล้านกิโลเมตร) และมันต้องต้านทานกับอุณหภูมิสูงถึง 1,370 องศาเซลเซียส และถึงแม้ว่าจะต้องทนกับสภาพที่ร้อนอย่างแสนสาหัส แต่ทาง NASA เคลมว่าภายในตัวยานที่เก็บเครื่องมือทดสอบต่างๆ นั้นมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้องเลย

ยานสำรวจดวงอาทิตย์ Parker Solar Probe นั้นมีขนาดใกล้เคียงกับรถขนาดเล็ก มันจะโคจรรอบดวงอาทิตย์หลายรอบในระหว่างภารกิจ เพิื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสนามแม่เหล็ก และชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจะมีประโยชน์สำหรับการขยายองค์ความรู้ของเราเกี่ยวกับหลักการทำงานของดวงอาทิตย์ โดยช่วงเวลาปฏิบัติการของยานสำรวจนั้นยาวไปถึงปี 2025 แต่ระยะเวลาก็อาจขยายออกไปได้ตามความเหมาะสม

ที่มา : parkersolarprobe.jhuapl.edu , bgr.com
12/03/2018 By Thaiware.com
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”