นักวิจัยออสเตรเลียทดลองสร้างถนนผสมหน้ากากอนามัย แข็งแรง ยืดหยุ่นกว่าถนนคอนกรีตแบบเดิม

Post Reply
brid.samanan
Posts: 578
Joined: 07 Aug 2017, 09:57

นักวิจัยออสเตรเลียทดลองสร้างถนนผสมหน้ากากอนามัย แข็งแรง ยืดหยุ่นกว่าถนนคอนกรีตแบบเดิม

Post by brid.samanan »

นักวิจัยชาวออสเตรเลียทดลองสร้างถนนจากส่วนผสมของหน้ากากอนามัย หวังลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของหน้ากากอนามัยใช้แล้ว รวมถึงลดต้นทุนค่าก่อสร้างได้กว่า 30%

Image
ภาพจาก Shutterstock

นับตั้งแต่วันที่โควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก เมื่อต้นปี 2020 จนถึงวันนี้เป็นเวลา 1 ปีแล้วที่ชาวโลกต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค แม้ว่าการใส่หน้ากากอนามัยจะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้ แต่ทราบหรือไม่ว่าหน้ากากอนามัยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

ในแต่ละวันคนทั่วโลกใช้หน้ากากอนามัยเฉลี่ย 6.8 ล้านชิ้นต่อวัน แน่นอนว่าหน้ากากอนามัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถใช้ซ้ำบ่อยๆ ได้ องค์การสหประชาชาติเคยคาดการณ์ว่าหน้ากากอนามัยใช้แล้ว และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 กว่า 75% จะถูกนำไปจัดการในหลุมขยะ หรือกลายเป็นขยะในทะเลต่อไป

ทดลองสร้างถนนจากหน้ากากอนามัยใช้แล้ว

นักวิจัยจาก Royal Melbourne Institute of Technology University (RMIT) ประเทศออสเตรเลีย ต้องการที่จะหาวิธีลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ด้วยการนำไปทำเป็นวัสดุสำหรับทำถนน โดยผสมกับวัสดุคอนกรีตรีไซเคิล

การสร้างถนนจากวัสดุรีไซเคิลที่ผสมกับคอนกรีตไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะที่ผ่านมาเรามักเคยได้ยินการสร้างถนนจากวัสดุต่างๆ มากมาย ซึ่งการใช้หน้ากากอนามัยใช้แล้วผสมกับคอนกรีตรีไซเคิล จะทำให้ถนนมีความแข็งแรง หลอมละลายเป็นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย รวมถึงมีความยืดหยุ่นมากกว่าการใช้คอนกรีตรีไซเคิลเพียงอย่างเดียว

ใช้หน้ากากอนามัย 3 ล้านชิ้นต่อถนน 1 กิโลเมตร

โดยนักวิจัยจาก RMIT ได้ทดลองสร้างถนนจากหน้ากากอนามัยผสมกับคอนกรีตรีไซเคิล โดยคำนวนว่าถนนระยะทาง 1 กิโลเมตร จะต้องใช้หน้ากากอนามัยราว 3 ล้านชิ้น ซึ่งเทียบเท่าได้กับขยะ 93 ตัน ที่ถูกทิ้งในหลุมฝังกลบขยะ

สาเหตุที่ทำให้ถนนที่ทดลองสร้างจากหน้ากากอนามัยใช้แล้วผสมกับคอนกรีตรีไซเคิลมีความแข็งแรงมากกว่าถนนแบบปกติ เป็นเพราะหน้ากากอนามัยมีวัสดุตั้งต้นที่ทำมาจาก “พลาสติก” นั่นเอง และด้วยความที่พลาสติกแบบ Polypropylene ไม่สามารถย่อยสลายได้ จึงกลายเป็นว่าหน้ากากอนามัยจะทำหน้าที่เป็นตัวยึดก้อนหินก้อนเล็กๆ ระหว่างคอนกรีต ทำให้ถนนมีความแข็งแรงมากขึ้นนั่นเอง

สำหรับต้นทุนของการสร้างถนนจากหน้ากากอนามัยใช้แล้ว นักวิจัยจาก RMIT คาดการณ์ว่าจะมีราคาถูกกว่าการสร้างถนนจากวัสดุอื่น อยู่ที่ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่หากมีการผสมหน้ากากอนามัยใช้แล้วลงไปจะมีรคาถูกลงเหลือ 26 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

ต้นทุนที่นักวิจัยคำนวนนี้ยังไม่ได้รวมต้นทุนการจัดการกับหน้ากากอนามัยใช้แล้ว เช่น การทำความสะอาดก่อนการนำมาใช้ รวมถึงการขนส่ง จึงอาจทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งต้องเปรียบเทียบต้นทุนเทียบกับการนำหน้ากากอนามัยใช้แล้วไปทิ้งในหลุมขยะ สำหรับการคำนวนต้นทุนในประเทศออสเตรเลีย คาดการณ์ว่าการสร้างถนนจากหน้ากากอนามัยใช้แล้วเป็นส่วนผสม จะมีค่าใช้จ่าย 32-78 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือถูกกว่าการสร้างถนนโดยไม่มีวัสดุรีไซเคิลประมาณ 30%

อย่างไรก็ตามการทดลองของนักวิจัยออสเตรเลียนี้ยังอยู่ในการทดลองขั้นต้นเท่านั้น ซึ่งผู้วิจัยหวังว่าจะมีรัฐบาล หรือบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ในการทดลองที่มีสเกลขนาดใหญ่กว่านี้

ที่มา – Fastcompany
By Brandinside.com
05/02/2021
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”