มองรอบด้านปัญหาอีคอมเมิร์ซ ทำไมต้องมี "ไทยแบล็กลิสต์"

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

มองรอบด้านปัญหาอีคอมเมิร์ซ ทำไมต้องมี "ไทยแบล็กลิสต์"

Post by brid.ladawan »

มองรอบด้านปัญหาอีคอมเมิร์ซ ทำไมต้องมี "ไทยแบล็กลิสต์"

ปฏิเสธ ไม่ได้ว่าในยุคปัจจุบัน "ออนไลน์" เป็นช่องทางใหม่ที่มีความสำคัญมากขึ้นทุกที เพราะไม่เพียงสะดวก ง่าย และเข้าถึงลูกค้าได้ไร้พรมแดนแล้ว เทียบช่องทางอื่นต้นทุนยังต่ำกว่าด้วยเพิ่มโอกาสให้คนตัวเล็ก ไม่น่าแปลกที่ใครต่อใครจะสนใจธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ยิ่งมีการเปิดระบบโทรศัพท์มือถือ 3G คลื่น 2.1 GHz ด้วยแล้ว ยิ่งผลักดันให้ธุรกิจมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โลกไม่ได้มีด้านที่สวยงามด้านเดียว เช่นกันกับบทบาทของผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร "ตลาดดอทคอม-ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ" "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับเขาในบทบาทของนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ไทย ดังต่อไปนี้

- ภาพรวมอีคอมเมิร์ซไทยยังเป็นขาขึ้น

ใน ภาพรวมกำลังโต แต่ในความเป็นจริงผู้ที่ใช้อีคอมเมิร์ซมี 25 ล้านคน หรือ 30% ของคนทั้งประเทศ ถือว่าน้อยมาก ขณะที่ความเชื่อมั่นและศรัทธาในธุรกิจนี้ยังมีไม่มาก จากปัญหาต่าง ๆ เช่น การโกง, การได้รับสินค้าไม่มีคุณภาพ ไม่ตรงตามที่สั่งไป และเปลี่ยนแปลงสินค้าไม่ได้ เป็นต้น

เมื่อเกิดปัญหาไม่มีหน่วยงาน ไหนที่ลงมากำกับดูแลชัดเจน แม้จะมีหน่วยงานเกี่ยวข้องมากมาย เช่น ไอซีที กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรม

ส่งเสริมการส่งออก สำนักงานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) การทำงานยังทับซ้อนกัน ไม่ชัดเจนว่าฝ่ายไหนควรจัดการหรือดูแลเรื่องใดโดยเฉพาะ ทำให้การทำงานล่าช้า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด

- กฎหมายด้านอีคอมเมิร์ซ

ประเทศ ไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซโดยตรง แต่มีที่ใช้ร่วมกันทางอ้อม คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ขณะนี้อยู่ในการทำประชาพิจารณ์เพื่อการปรับแก้ไข ให้ครอบคลุมและทันสมัยขึ้น ทั้งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งี่ดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. และองค์การอาหารและยา หรือ อย.

เรื่องกฎเกณฑ์ข้อกำหนดที่จะออกมา กำกับดูแลเกี่ยวกับสินค้าไหนขายได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือขายแล้วจะละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ยังไม่มีตายตัว ส่วนใหญ่ออกมาหลังจากมีปัญหาแล้ว ความผิดเหล่านี้จึงจะมีการพิจารณาจากผู้ฟ้องร้อง โดยมีหลักฐานแจ้งมาเกี่ยวกับการขายสินค้าที่ไม่ควรขาย หรือขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ทาง

ผู้ขายก็จะยกเลิกการขายสินค้าดัง กล่าวไป ในบางกรณีผู้ขายไม่ยอมหยุดขายสินค้าก็จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดี มองจริง ๆ ถ้ามีการนำเข้าอย่างถูกกฎหมาย เสียภาษี และผู้ฟ้องไม่ได้รับสิทธิ์ในการขายแต่เพียงผู้เดียว เรื่องนี้ก็ถือว่าไม่มีความผิด

- การแก้ปัญหา

หากโดนฉ้อโก้ง จากกรณีการซื้อขายผ่านอีคอมเมิร์ซ ควรแจ้งความกับตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรม ทางเศรษฐกิจ หรือกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งมีหน้าที่ดูแลโดยตรง หากเป็นความผิดด้านคุณภาพ ลิขสิทธิ์เวชภัณฑ์ต่าง ๆ ก็เป็น สคบ. และ อย.

- สมาคมมีบทบาทอะไรบ้างในเรื่องนี้

ทาง สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยกำลังจัดทำบัญชีดำ หรือโครงการ "ไทยแบล็กลิสต์" เกี่ยวกับร้านค้าออนไลน์ที่ไม่น่าไว้ใจ เพื่อให้ผู้บริโภคและกลุ่มร้านค้าออนไลน์ด้วยกันทราบ แต่ยังคงติดปัญหาการศึกษาข้อกฎหมายว่าทำได้แค่ไหน เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากไม่ระมัดระวังอาจโดนฟ้องร้องได้ ร้านค้าออนไลน์ที่อยากให้ผู้ซื้อมั่นใจมากขึ้น ก็ควรมีข้อมูลการซื้อขายที่เกิดขึ้นจริงมาโชว์ในหน้าแรกของเพจร้าน ระบุชื่อที่อยู่เบอร์โทร.จริงของเจ้าของร้าน เพื่อความแน่ใจของผู้ซื้อ ถ้ามีร้านก็ควรถ่ายหน้าร้านมาโชว์

- เรื่องภาษีอีคอมเมิร์ซ

ไม่ ใช่เรื่องใหม่ หรือมีการจ่ายภาษีที่แปลกกว่าการประกอบธุรกิจอื่น ที่มีปัญหา เพราะพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของออนไลน์ไม่ทราบว่าการขายของผ่านช่องทางนี้ต้อง เสียภาษี ซึ่งความเป็นจริงการประกอบกิจการใด ๆ เมื่อได้รับผลตอบแทนก็ต้องเสียภาษี คนที่กังวลว่าต้องเสียภาษีซ้อนกับที่ขายหน้าร้านก็อยากแนะนำให้ทำบัญชีรวม กันแล้วนำรายรับที่ได้ไปหักภาษี

การเสียภาษีไม่ได้ทำให้การประกอบกิจการธุรกิจอีคอมเมิร์ซแย่ลง ในต่าง ประเทศที่มีได้ยกเว้นภาษีอีคอมเมิร์ซก็มีที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเสียภาษีแตกต่างกันในแต่ละรัฐ ทำให้คิดภาษีโดยรวมลำบากจึงมีการยกเว้นภาษีส่วนนี้ แต่เข้าใจว่าปัจจุบันมีการเริ่มกลับมาเก็บภาษีอีกครั้ง

ผมเองก็เป็น ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซ มองว่าเราไม่ใช่ขายของแล้วจะเอาแต่รายได้เข้าอย่างเดียว ควรเสียภาษีด้วย เป็นหน้าที่ที่ทุกคนควรทำ หากใครยังไม่มีความรู้เรื่องนี้ก็มาอบรมที่สมาคมจัดร่วมกับกรมสรรพากรเป็น ประจำได้ เช่นกันกับเรื่องกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ นั้นก็ต้องการมีการพัฒนาให้ทันสมัย และเหมาะกับสถานการณ์ให้มากขึ้น กฎหมายบางอย่างอาจเก่าเกินไปก็ควรมีการปรับแก้

- การเตรียมตัวสำหรับเออีซี

ในงานไทยแลนด์ออนไลน์เอ็กซ์โปที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทาง สพธอ.ได้นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เริ่มมีการนำมาใช้ใน
ต่าง ประเทศแล้ว เช่น e-Archive & record เป็นการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยในการบริหารจัดการเอกสารต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดพื้นที่และค่าใช้จ่ายในการจัดการเอกสาร และป้องกันการสูญหาย, e-Time stamping เป็นบริการประทับเวลาอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยตรวจสอบเวลาที่แน่นอนในการทำ สัญญา หรือข้อมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้งานแล้วในอเมริกาและญี่ปุ่น หรือ e-Notary ที่ช่วยตรวจสอบสัญญาการซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อป้องกันการฉ้อโกง สพธอ.ยังมีความพยายามปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ และรองรับการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้ดีขึ้นด้วย

ขอขอบคุณ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
28 พ.ค. 2556
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”