เสวนาเสรีภาพในสื่อสังคมออนไลน์

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

เสวนาเสรีภาพในสื่อสังคมออนไลน์

Post by brid.ladawan »

เสวนาเสรีภาพในสื่อสังคมออนไลน์

เสวนา "เสรีภาพในสื่อสังคมออนไลน์กับประเด็นความมั่นคง" รองผกก.ปอท. แจงจุดประสงค์คุมไลน์ต้องการได้ความร่วมมือจากผู้ให้บริการ ไม่ใช่การควบคุมผู้ใช้ทั่วไป

วันนี้ (16 ส.ค.) เวลา 09.00 น. ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาสาธารณะ "เสรีภาพในสื่อสังคมออนไลน์กับประเด็นความมั่นคง" ที่ห้องประชุม1001ศูนย์ประชุมศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ ชั้น10 อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ มีผู้เข้าร่วมการเสวนาประกอบด้วย นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บก.ข่าวการเมืองและความมั่นคง จากไทยพีบีเอส, พ.ต.ท.สันติพัฒน์ พรหมะจุล รองผกก.กลุ่มงานสนับสนุนคดีเทคโนโลยี การปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.), นายอาทิตย์ สุริยวงศ์กุล ตัวแทนเครือข่ายพลเมืองเน็ต และนายศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ นักสื่อสารมวลชนอิสระและนักกฎหมาย

นายเสริมสุข บก.ข่าวการเมืองและความมั่นคง จากไทยพีบีเอส ยกกรณีศึกษาของตนเองที่เพิ่งถูก ปอท.เรียกแจงปมโพสต์ข้อความวิเคราะห์ลือปฏิวัติ ว่า ไม่น่าเป็นเรื่อง ตนเองจึงสงสัยขอบเขตพ.ร.บ.มั่นคง เพราะทำเช่นนี้อดคิดไม่ได้ว่าเอี่ยวการเมือง แม้สรุป ปอท. เรียกสอบตนฐานะพยาน แต่ก็สงสัยว่าแล้วทำไม เว็บจาบจ้วงยังอยู่

พ.ต.ท.สันติพัฒน์ รองผกก.ปอท. กล่าวว่า กรณีคุณเสริมสุขที่เรียกมาสอบ เนื่องจากการโพสต์ทำให้เกิดความตื่นตระหนกตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จึงเรียกสอบ แม้แต่ตำรวจก็เคยถูกเรียกสอบเช่นกัน ส่วนเว็บไซต์ที่จาบจ้วงก็มอนิเตอร์ทุกวัน แต่การดำเนินคดีต้องใช้ระยะเวลา

ส่วนกรณีคุมแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) พ.ต.ท.สันติพัฒน์ กล่าวว่า จุดประสงค์ต้องการได้ความร่วมมือจากผู้ให้บริการ ไม่ใช่การควบคุมผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งเมื่อเกิดการกระทำผิดมีการร้องทุกข์ ปอท.หวังได้รับความร่วมมือจากผู้ให้บริการเผยข้อมูลเฉพาะของคนทำผิดเท่านั้น

นายศิลป์ฟ้า นักสื่อสารมวลชนอิสระและนักกฎหมาย กล่าวว่า กรณีของคุณเสริมสุข ถ้าไม่ก๊อปปี้ข้อความลือมาโพสต์ อาจเขียนแค่ว่าสิ่งที่ลือกันไม่จริงและความเห็น อย่างนี้ไม่เข้าข่ายผิด

นายอาทิตย์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ยังต้องปรับให้เหมาะสม เข้าใจว่าเน้นระบบคอมพิวเตอร์มากไป ส่วนตัวอ่านกฎหมายแล้วไม่เข้าใจ เช่น กดไลค์ (Like) ผิดกฎหมายข้อไหน ดังนั้นกฎหมายควรปรับให้ประชาชนเข้าใจง่าย มีความชัดเจน ชอบธรรม จำเป็น และชอบด้วยสัดส่วน

ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2556
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”