การแก้ปัญหาลิ้นจี่ของสหกรณ์ ถือเป็นโมเดลแห่งความสำเร็จ - นาน

Post Reply
brid.siriwan
Posts: 3942
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

การแก้ปัญหาลิ้นจี่ของสหกรณ์ ถือเป็นโมเดลแห่งความสำเร็จ - นาน

Post by brid.siriwan »

การแก้ปัญหาลิ้นจี่ของสหกรณ์ ถือเป็นโมเดลแห่งความสำเร็จ - นานาสารพัน

กรมฯ ได้ประสานงานกับสหกรณ์ผู้ผลิต 9 แห่งใน 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน และ พะเยา ทำหน้าที่รวบรวมลิ้นจี่ของสมาชิกสหกรณ์ ปริมาณ 2,100 ตัน
กรมส่งเสริมสหกรณ์นับเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทในการแก้ปัญหาตลาดของลิ้นจี่และปัญหาของผลไม้ตามฤดูกาลอย่างต่อเนื่อง แต่เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนกรมส่งเสริมสหกรณ์จะเน้นส่งเสริมสมาชิกสหกรณ์ให้ปรับปรุงและพัฒนาการผลิตผลไม้ให้มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด ตลอดจนสนับสนุนให้สหกรณ์ดำเนินการรวบรวมผลไม้จากเกษตรกรสมาชิก เพื่อกระจายไปยังตลาด ต่าง ๆ ภายใต้กลไกธุรกิจปกติ พร้อมทั้งประสานช่องทางการตลาดต่าง ๆ มารองรับผลผลิตที่สหกรณ์ได้ดำเนินการรวบรวม เพื่อจำหน่ายไปสู่ผู้บริโภค เพื่อขยายช่องทางในการจำหน่ายให้สมาชิก ภายใต้ความเชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวจะช่วยยกระดับราคาผลผลิตให้เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

นายวินัย กสิรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวถึงแนวทางของกรมส่งเสริมสหกรณ์ในการแก้ปัญหาตลาดของลิ้นจี่ที่ผ่านมาว่าถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากโดย กรมฯ ได้ประสานงานกับสหกรณ์ผู้ผลิต 9 แห่งใน 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน และ พะเยา ทำหน้าที่รวบรวมลิ้นจี่ของสมาชิกสหกรณ์ ปริมาณ 2,100 ตัน โดยแยกออกเป็น การกระจายลิ้นจี่ตามกลไกตลาดปกติจำนวน 1,000 ตัน และจะเพิ่มปริการแก้ปัญหาลิ้นจี่ของสหกรณ์ ถือเป็นโมเดลแห่งความสำเร็จ - นานาสารพัน

กรมฯ ได้ประสานงานกับสหกรณ์ผู้ผลิต 9 แห่งใน 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน และ พะเยา ทำหน้าที่รวบรวมลิ้นจี่ของสมาชิกสหกรณ์ ปริมาณ 2,100 ตัน
วันอังคาร 24 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.

กรมส่งเสริมสหกรณ์นับเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทในการแก้ปัญหาตลาดของลิ้นจี่และปัญหาของผลไม้ตามฤดูกาลอย่างต่อเนื่อง แต่เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนกรมส่งเสริมสหกรณ์จะเน้นส่งเสริมสมาชิกสหกรณ์ให้ปรับปรุงและพัฒนาการผลิตผลไม้ให้มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด ตลอดจนสนับสนุนให้สหกรณ์ดำเนินการรวบรวมผลไม้จากเกษตรกรสมาชิก เพื่อกระจายไปยังตลาด ต่าง ๆ ภายใต้กลไกธุรกิจปกติ พร้อมทั้งประสานช่องทางการตลาดต่าง ๆ มารองรับผลผลิตที่สหกรณ์ได้ดำเนินการรวบรวม เพื่อจำหน่ายไปสู่ผู้บริโภค เพื่อขยายช่องทางในการจำหน่ายให้สมาชิก ภายใต้ความเชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวจะช่วยยกระดับราคาผลผลิตให้เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

นายวินัย กสิรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวถึงแนวทางของกรมส่งเสริมสหกรณ์ในการแก้ปัญหาตลาดของลิ้นจี่ที่ผ่านมาว่าถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากโดย กรมฯ ได้ประสานงานกับสหกรณ์ผู้ผลิต 9 แห่งใน 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน และ พะเยา ทำหน้าที่รวบรวมลิ้นจี่ของสมาชิกสหกรณ์ ปริมาณ 2,100 ตัน โดยแยกออกเป็น การกระจายลิ้นจี่ตามกลไกตลาดปกติจำนวน 1,000 ตัน และจะเพิ่มปริมาณการรวบรวมเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผลผลิตออกจำนวนมาก (Peak) กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอีกจำนวน 1,000 ตัน และให้สหกรณ์ดำเนินโครงการนำร่องการขนส่งลิ้นจี่โดยใช้กล่องโฟม เพื่อรักษาคุณภาพผลผลิต โดยเน้นส่งจำหน่ายให้กับตลาดที่มีระยะทางไกล เช่น จังหวัดทางภาคใต้ อีกจำนวน 100 ตัน

ขณะเดียวกัน กรมส่งเสริมสหกรณ์ยังได้สนับสนุนให้สหกรณ์จัดตั้งในจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งกระจายสินค้าสู่สมาชิกสหกรณ์ภายในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเป็นการเชื่อมโยงธุรกิจของสหกรณ์ในจังหวัดต่าง ๆ และเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดลิ้นจี่ของสหกรณ์ ซึ่งขณะนี้มีศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์ตอบรับที่จะช่วยเหลือในการกระจายลิ้นจี่จากสหกรณ์ในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 10 แห่ง ใน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี สิงห์บุรี ชัยนาท ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด สกลนคร บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ และระยอง โดยสหกรณ์ที่มีศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์จะรับซื้อผลผลิตลิ้นจี่จากสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่านและพะเยา

ด้าน นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ กล่าวว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ใช้ช่องทางเครือข่ายสหกรณ์ระหว่างสหกรณ์ผู้ผลิตกับสหกรณ์ผู้ซื้อมาเป็นช่องทางในการระบาย เพื่อรวบรวมผลผลิต และจัดส่งให้ศูนย์กระจายสินค้า 9 สหกรณ์ เพื่อนำไปกระจายให้กับเครือข่ายในจังหวัดที่ ผลิต และพื้นที่ใกล้เคียงโดยข้อตกลงร่วมกันระหว่างสหกรณ์ผู้ขายและผู้ซื้อ เห็นชอบให้การกำหนดราคาซื้อขายเป็นไปตามคุณภาพและสถานการณ์ตลาดในขณะนั้น โดยสหกรณ์ผู้ขายจะกำหนดราคาที่เสนอขาย เป็นราคาที่รับซื้อผลผลิตจากสมาชิกและบวกค่าบริหารจัดการกิโลกรัมละ 2 บาท และการส่งมอบสินค้าแต่ละครั้ง สหกรณ์ผู้ซื้อต้องการให้ส่งสินค้าภายในเช้าวันจันทร์หรือวันอังคาร เพื่อที่จะสามารถกระจายผลผลิตได้ในวันทำการ เพื่อจะได้ไปกระจายสู่ตลาดในวันพุธ พฤหัสบดี และศุกร์ เพื่อสหกรณ์ต้นทาง จะดำเนินการรวบรวมผลผลิต คัดคุณภาพแพ็กกิ้งภายในวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อจะจัดส่งสินค้าถึงปลายทางได้ทันตามกำหนด

ทั้งนี้ ความสำเร็จในการแก้ปัญหาตลาดในลิ้นจี่ ถือเป็นโมเดลแห่งความสำเร็จที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางการตลาดให้กับผลไม้ตามฤดูกาล ภายใต้การเชื่อมโยงตลาดของสหกรณ์ไปยังผลไม้ชนิดอื่น ๆ ต่อไป. มาณการรวบรวมเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผลผลิตออกจำนวนมาก (Peak) กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอีกจำนวน 1,000 ตัน และให้สหกรณ์ดำเนินโครงการนำร่องการขนส่งลิ้นจี่โดยใช้กล่องโฟม เพื่อรักษาคุณภาพผลผลิต โดยเน้นส่งจำหน่ายให้กับตลาดที่มีระยะทางไกล เช่น จังหวัดทางภาคใต้ อีกจำนวน 100 ตัน

ขณะเดียวกัน กรมส่งเสริมสหกรณ์ยังได้สนับสนุนให้สหกรณ์จัดตั้งในจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งกระจายสินค้าสู่สมาชิกสหกรณ์ภายในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเป็นการเชื่อมโยงธุรกิจของสหกรณ์ในจังหวัดต่าง ๆ และเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดลิ้นจี่ของสหกรณ์ ซึ่งขณะนี้มีศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์ตอบรับที่จะช่วยเหลือในการกระจายลิ้นจี่จากสหกรณ์ในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 10 แห่ง ใน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี สิงห์บุรี ชัยนาท ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด สกลนคร บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ และระยอง โดยสหกรณ์ที่มีศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์จะรับซื้อผลผลิตลิ้นจี่จากสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่านและพะเยา

ด้าน นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ กล่าวว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ใช้ช่องทางเครือข่ายสหกรณ์ระหว่างสหกรณ์ผู้ผลิตกับสหกรณ์ผู้ซื้อมาเป็นช่องทางในการระบาย เพื่อรวบรวมผลผลิต และจัดส่งให้ศูนย์กระจายสินค้า 9 สหกรณ์ เพื่อนำไปกระจายให้กับเครือข่ายในจังหวัดที่ ผลิต และพื้นที่ใกล้เคียงโดยข้อตกลงร่วมกันระหว่างสหกรณ์ผู้ขายและผู้ซื้อ เห็นชอบให้การกำหนดราคาซื้อขายเป็นไปตามคุณภาพและสถานการณ์ตลาดในขณะนั้น โดยสหกรณ์ผู้ขายจะกำหนดราคาที่เสนอขาย เป็นราคาที่รับซื้อผลผลิตจากสมาชิกและบวกค่าบริหารจัดการกิโลกรัมละ 2 บาท และการส่งมอบสินค้าแต่ละครั้ง สหกรณ์ผู้ซื้อต้องการให้ส่งสินค้าภายในเช้าวันจันทร์หรือวันอังคาร เพื่อที่จะสามารถกระจายผลผลิตได้ในวันทำการ เพื่อจะได้ไปกระจายสู่ตลาดในวันพุธ พฤหัสบดี และศุกร์ เพื่อสหกรณ์ต้นทาง จะดำเนินการรวบรวมผลผลิต คัดคุณภาพแพ็กกิ้งภายในวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อจะจัดส่งสินค้าถึงปลายทางได้ทันตามกำหนด

ทั้งนี้ ความสำเร็จในการแก้ปัญหาตลาดในลิ้นจี่ ถือเป็นโมเดลแห่งความสำเร็จที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางการตลาดให้กับผลไม้ตามฤดูกาล ภายใต้การเชื่อมโยงตลาดของสหกรณ์ไปยังผลไม้ชนิดอื่น ๆ ต่อไป.

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 24 มิถุนายน 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”