เฝ้าระวังความปลอดภัย ‘ตู้น้ำเย็น...ไร้สารตะกั่ว’ - ไขปัญหาผู

Post Reply
brid.siriwan
Posts: 3942
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

เฝ้าระวังความปลอดภัย ‘ตู้น้ำเย็น...ไร้สารตะกั่ว’ - ไขปัญหาผู

Post by brid.siriwan »

เฝ้าระวังความปลอดภัย ‘ตู้น้ำเย็น...ไร้สารตะกั่ว’ - ไขปัญหาผู้บริโภค

“น้ำ” เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยเฉพาะ “น้ำดื่ม” ต้องเป็นน้ำที่สะอาดและมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ส่วนใหญ่น้ำที่ใช้ดื่มในครัวเรือน

“น้ำ” เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยเฉพาะ “น้ำดื่ม” ต้องเป็นน้ำที่สะอาดและมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ส่วนใหญ่น้ำที่ใช้ดื่มในครัวเรือนจะมีการดูแลและระมัดระวังในเรื่องความสะอาดอยู่แล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วง คือน้ำดื่ม

ที่ใช้บริโภคในชุมชน เช่น โรงเรียนจะพบปัญหาน้ำดื่มไม่มีคุณภาพ อันเนื่องมาจากเครื่องทำน้ำเย็นที่มีสภาพชำรุดบกพร่อง ขาดการดูแลรักษาระบบการกรองน้ำดื่ม หรือมีการใช้ “ตะกั่ว” เป็นตัวเชื่อมต่อท่อน้ำแทนการใช้ “อาร์กอน” ในการซ่อมบำรุงเครื่องทำน้ำเย็น ซึ่งอาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของนักเรียนอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า สื่อมวล ชนมีการนำเสนอข่าวการเตือน “พิษตะกั่วสะสม ในตู้น้ำดื่มโรงเรียน” สะท้อนให้เห็นถึงการขาดความระมัดระวังในการดูแลเอาใจใส่การบริโภคน้ำดื่มที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนที่หลายคนคาดไม่ถึง ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังคงมีให้เห็นเรื่อยมา เพราะตู้ทำน้ำเย็นจากโลหะ ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างเฉียบพลันจากพิษของสารตะกั่วที่เจือปนออกมา

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) ได้มีการออกคำสั่งห้ามขายเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่ว เป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ำหรือท่อส่งน้ำ แต่จากการตรวจสอบเครื่องทำน้ำเย็นของโรงเรียนในจังหวัดต่าง ๆ โดยกรมอนามัย ยังพบว่ามีการปนเปื้อนของสารตะกั่วในน้ำดื่มเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำบริวันเสาร์ 28 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.
โภค พ.ศ. 2553 คือ 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร และจากการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเครื่องทำน้ำเย็น พบว่ามีการใช้ตะกั่วเป็นตัวเชื่อมตะเข็บ

รอยต่อทั้งเครื่องทำน้ำเย็นที่ติดตั้งใหม่และเครื่องเก่าที่ผ่านการซ่อมมาแล้ว โดยมีการเชื่อมตะเข็บทั้งบริเวณมุมภายในของช่องท่อต่อน้ำเข้าและช่องท่อส่งน้ำออก บริเวณพื้นตัวถังไปสู่ก๊อกน้ำ ทำให้น้ำที่ไหลผ่านรอยเชื่อมดังกล่าวมีตะกั่วปนเปื้อน หากเด็กนักเรียนดื่มน้ำจากเครื่องทำน้ำเย็นดังกล่าวไป ก็จะทำให้ได้รับสารพิษจากตะกั่วและหากได้รับอย่างต่อเนื่องจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง

ทั้งนี้เมื่อร่างกายรับสารพิษดังกล่าวสะสมในปริมาณมาก จะทำให้ระบบประสาทส่วนปลายเป็นอัมพาต นิ้วเท้าและมืออ่อนแรง ร่างกายเหนื่อยง่าย และอ่อนเพลียได้ อีกทั้งความสะอาดของถังเก็บน้ำก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากหากมีความสกปรก ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ทั้งอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค

ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันอันตรายสารตะกั่วจากตู้น้ำดื่ม จึงควรเริ่มตั้งแต่พิจารณาเลือกซื้อเครื่องทำน้ำเย็นที่ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิมที่มีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ไม่มีตะกั่วเป็นส่วนผสม เชื่อมตะเข็บรอยต่อด้วยก๊าซอาร์กอน หรือก๊าซสำหรับเชื่อมอื่นที่ไม่มีสารพิษปนเปื้อนและไม่มีสารพิษตกค้างในเครื่องทำน้ำเย็น รวมถึงต้องหมั่นดูแลรักษาและคอยหมั่นตรวจสอบเครื่องทำน้ำเย็นอย่างสม่ำ เสมอ เพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถดื่มน้ำได้อย่างปลอดภัย.

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 28 มิถุนายน 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”