ม.เกษตรร่วมกับชุมชน สร้างอนาคตทะเลไทยด้วยหญ้าทะเล - เกษตรทั่

Post Reply
brid.siriwan
Posts: 3942
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

ม.เกษตรร่วมกับชุมชน สร้างอนาคตทะเลไทยด้วยหญ้าทะเล - เกษตรทั่

Post by brid.siriwan »

ม.เกษตรร่วมกับชุมชน สร้างอนาคตทะเลไทยด้วยหญ้าทะเล - เกษตรทั่วไทย

โครงการศึกษาวิจัยการปลูกหญ้าทะเล ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กระบี่ ด้วยการสนับสนุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

โครงการศึกษาวิจัยการปลูกหญ้าทะเล ของ มหาวันเสาร์ 28 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กระบี่ ด้วยการสนับสนุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยโรงไฟฟ้ากระบี่ มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงหญ้าทะเลในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศวิทยาของพื้นที่ เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนหลายชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารของพันธุ์สัตว์น้ำหายากเช่น พะยูน และเต่าทะเล

การดำเนินการนอกจากมีการเพาะขยายพันธ์หญ้าทะเลแล้วก็ยังมีการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนชายฝั่งทะเลนับตั้งแต่การณรรงค์เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของหญ้าทะเล และเพิ่มพื้นที่หญ้าทะเลบริเวณชายฝั่งแบบบูรณาการและต่อเนื่องโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศวิทยาทะเลอันดามัน เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ของพันธุ์สัตว์น้ำหายากหลายชนิด

โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 โดยใช้วิธีการฟื้นฟูหญ้าทะเล 2 แบบ คือ แบบแยกกอ และแบบเพาะเมล็ด จากหญ้าทะเลท้องถิ่น จำนวน 3 ชนิด คือ หญ้าใบมะกรูด หญ้าชะเงาเต่า และหญ้าคาทะเล ที่ผ่านมาทางโครงการฯ และชุมชนได้ร่วมกันปลูกบริเวณชายฝั่งทะเล 3 ครั้งด้วยกัน คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 26 เมษายน 2556 ครั้งที่ 2 วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 และครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ในพื้นที่บริเวณหาดบ้านเกาะปูต.เกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

ซึ่งการปลูกแต่ละครั้งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดถึงชุมชนในพื้นที่ โครงการฯ นี้นอกจากจะเป็นการฟื้นฟู และอนุรักษ์แหล่งอาหารของสัตว์น้ำทะเลแล้ว ยังเป็นโครงการฯ สำคัญในการสร้างการรับรู้อย่างมีส่วนร่วม โดยการนำผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในพื้นที่ ทั้งผู้ปฏิบัติงานจากหลายงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ชุมชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชนมาร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน

หญ้าทะเลที่ปลูกในช่วงที่ผ่านมาแน่นอนว่าจะเจริญเติบโตจนเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งชองฝั่งทะเลอันดามันต่อไปในอนาคต โดยชุมชนในพื้นที่จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลเพราะสิ่งนี้คือปัจจัยพื้นฐานในความสมบูรณ์ของแหล่งทำมาหากินในอนาคต โดยเฉพาะเกษตรกรประมงชายฝั่ง

หญ้าทะเลถือเป็นทรัพยากรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญมาก ในปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเล เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำทะเลและสัตว์เศรษฐกิจ อันได้แก่ กุ้ง หอย ปู และปลา และยังเป็นอาหารสำคัญของพะยูนและเต่าทะเล เป็นแหล่งวางไข่ แหล่งอนุบาลตัวอ่อน และที่อยู่อาศัยของปลา กุ้ง หมึก ปูม้า หอยชนิดต่างๆ ไส้เดือนทะเล ตลอดจนสัตว์เล็กๆ นานาชนิดและเป็นแหล่งอาหารแหล่งทำมาหากินที่สำคัญของชุมชนชายฝั่งทะเล สำหรับแหล่งหญ้าทะเลของกระบี่ ปัจจุบันนี้พบว่ามีอยู่ประมาณ 1 หมื่นไร่ ในพื้นที่ อ.เหนือคลอง และคลองท่อม ซึ่งจากการตรวจสอบของนักวิจัยประมงชายฝั่งทะเลในช่วงที่ผ่านมา พบว่ามีพะยูนอยู่ประมาณ 15-16 ตัวที่ขึ้นมากินหญ้างทะเลบริเวณนี้ และเมื่อแหล่งอาหารมีความสมบูรณ์พะยูนก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน

ที่สำคัญในระหว่างการกินหญ้าทะเลของพะยูนและเต่าทะเลนั้นจะเอื้อประโยชน์อย่างเป็นนัยสำคัญกับสัตว์น้ำวัยอ่อนในทะเล ด้วยพะยูนและเต่าจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการเปิดหญ้าดินตามแหล่งหญ้าที่มีอาหารสำหรับสัตว์น้ำวัยอ่อนได้กิน และเจริญเติบโตเป็นสัตว์น้ำทะเลในวัยสมบูรณ์ออกสู่ทะเลลึกเป็นแหล่งอาหารหลักทางทะเลของสังคมคนกันต่อไป
คตทะเลไทยด้วยหญ้าทะเล - เกษตรทั่วไทย?

ม.เกษตรร่วมกับชุมชน สร้างอนาคตทะเลไทยด้วยหญ้าทะเล - เกษตรทั่วไทย

โครงการศึกษาวิจัยการปลูกหญ้าทะเล ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กระบี่ ด้วยการสนับสนุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

โครงการศึกษาวิจัยการปลูกหญ้าทะเล ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กระบี่ ด้วยการสนับสนุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยโรงไฟฟ้ากระบี่ มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงหญ้าทะเลในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศวิทยาของพื้นที่ เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนหลายชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารของพันธุ์สัตว์น้ำหายากเช่น พะยูน และเต่าทะเล

การดำเนินการนอกจากมีการเพาะขยายพันธ์หญ้าทะเลแล้วก็ยังมีการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนชายฝั่งทะเลนับตั้งแต่การณรรงค์เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของหญ้าทะเล และเพิ่มพื้นที่หญ้าทะเลบริเวณชายฝั่งแบบบูรณาการและต่อเนื่องโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศวิทยาทะเลอันดามัน เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ของพันธุ์สัตว์น้ำหายากหลายชนิด

โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 โดยใช้วิธีการฟื้นฟูหญ้าทะเล 2 แบบ คือ แบบแยกกอ และแบบเพาะเมล็ด จากหญ้าทะเลท้องถิ่น จำนวน 3 ชนิด คือ หญ้าใบมะกรูด หญ้าชะเงาเต่า และหญ้าคาทะเล ที่ผ่านมาทางโครงการฯ และชุมชนได้ร่วมกันปลูกบริเวณชายฝั่งทะเล 3 ครั้งด้วยกัน คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 26 เมษายน 2556 ครั้งที่ 2 วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 และครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ในพื้นที่บริเวณหาดบ้านเกาะปูต.เกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

ซึ่งการปลูกแต่ละครั้งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดถึงชุมชนในพื้นที่ โครงการฯ นี้นอกจากจะเป็นการฟื้นฟู และอนุรักษ์แหล่งอาหารของสัตว์น้ำทะเลแล้ว ยังเป็นโครงการฯ สำคัญในการสร้างการรับรู้อย่างมีส่วนร่วม โดยการนำผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในพื้นที่ ทั้งผู้ปฏิบัติงานจากหลายงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ชุมชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชนมาร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน

หญ้าทะเลที่ปลูกในช่วงที่ผ่านมาแน่นอนว่าจะเจริญเติบโตจนเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งชองฝั่งทะเลอันดามันต่อไปในอนาคต โดยชุมชนในพื้นที่จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลเพราะสิ่งนี้คือปัจจัยพื้นฐานในความสมบูรณ์ของแหล่งทำมาหากินในอนาคต โดยเฉพาะเกษตรกรประมงชายฝั่ง

หญ้าทะเลถือเป็นทรัพยากรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญมาก ในปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเล เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำทะเลและสัตว์เศรษฐกิจ อันได้แก่ กุ้ง หอย ปู และปลา และยังเป็นอาหารสำคัญของพะยูนและเต่าทะเล เป็นแหล่งวางไข่ แหล่งอนุบาลตัวอ่อน และที่อยู่อาศัยของปลา กุ้ง หมึก ปูม้า หอยชนิดต่างๆ ไส้เดือนทะเล ตลอดจนสัตว์เล็กๆ นานาชนิดและเป็นแหล่งอาหารแหล่งทำมาหากินที่สำคัญของชุมชนชายฝั่งทะเล สำหรับแหล่งหญ้าทะเลของกระบี่ ปัจจุบันนี้พบว่ามีอยู่ประมาณ 1 หมื่นไร่ ในพื้นที่ อ.เหนือคลอง และคลองท่อม ซึ่งจากการตรวจสอบของนักวิจัยประมงชายฝั่งทะเลในช่วงที่ผ่านมา พบว่ามีพะยูนอยู่ประมาณ 15-16 ตัวที่ขึ้นมากินหญ้างทะเลบริเวณนี้ และเมื่อแหล่งอาหารมีความสมบูรณ์พะยูนก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน

ที่สำคัญในระหว่างการกินหญ้าทะเลของพะยูนและเต่าทะเลนั้นจะเอื้อประโยชน์อย่างเป็นนัยสำคัญกับสัตว์น้ำวัยอ่อนในทะเล ด้วยพะยูนและเต่าจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการเปิดหญ้าดินตามแหล่งหญ้าที่มีอาหารสำหรับสัตว์น้ำวัยอ่อนได้กิน และเจริญเติบโตเป็นสัตว์น้ำทะเลในวัยสมบูรณ์ออกสู่ทะเลลึกเป็นแหล่งอาหารหลักทางทะเลของสังคมคนกันต่อไป

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 28 มิถุนายน 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”