ไอเดียโปรแกรมภาษาเบรลล์

Post Reply
brid.siriwan
Posts: 3942
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

ไอเดียโปรแกรมภาษาเบรลล์

Post by brid.siriwan »

ไอเดียโปรแกรมภาษาเบรลล์

ซึ่งอุปกรณ์แบบนี้ในต่างประเทศมีราคาสูงมาก แต่ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นเอง ซึ่งมีระบบการทำงาน 1. รีเรย์ ทำหน้าที่ปล่อยให้ปุ่ม (เข็ม) ดีดยืดหด 2. LN2003A (ทรานซีสเตอร์)

ผู้พิการทางสายตา ในสังคมไทยขาดการสื่อสาร รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศต่าง ๆ และในทุกวันนี้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยผู้พิการทางสายตาได้รับโอกาสทางการศึกษา และเป็นที่ยอม รับจากสังคมมากขึ้น “การอ่านและเขียนอักษรเบรลล์ได้” ทำให้สามารถประกอบอาชีพเพื่อการดำรงชีวิตเหมือนบุคคลทั่วไป ในการเรียนการสอนเด็กพิการทางสายตาระยะเริ่มเรียน หรือผู้พิการทางสายตาที่ไม่เคยเข้าเรียนมาก่อน ต้องการเรียนรู้อักษรเบรลล์ ได้ฝึกหัดและทบทวนสะกดคำในรูปแบบอักษรเบรลล์มากขึ้น

ดังนั้น สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงได้มีการวิจัยและคิดค้นโปรแกรมและกลไกยืดหดต้นแบบ สำหรับเบรลล์ภาษาไทย อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น ขึ้นมา เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในภาษาได้หลากหลายนายยศรินทร์ อัญชลีพัชระ นศ.ชั้นปี 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อธิบายว่า โปรแกรมและกลไกยืดหด เป็นเครื่องช่วยเรียนรู้อ่านและเขียนอักษรเบรลล์เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถทบทวนฝึกอ่านและเขียนอักษรเบรลล์ได้ด้วยตนเอง โดยมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ การสะกดคำ จะมีการอ่านออกเสียงอักษรเบรลล์ทั้งพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมาย สามารถประสมเป็นคำได้ทั้ง 4 ภาษา และแบบฝึกหัดให้ฝึกปฏิบัติ เป็นการลงโปรแกรมกลไกยืดหด ที่ซับซ้อนยากขึ้น เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถรู้ว่าตัวเบรลล์ที่กดลงไปแล้วทบทวนได้ว่ากดจุดเบรลล์อะไรลงไปบ้าง

ซึ่งอุปกรณ์แบบนี้ในต่างประเทศมีราคาสูงมาก แต่ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นเอง ซึ่งมีระบบการทำงาน 1. รีเรย์ ทำหน้าที่ปล่อยให้ปุ่ม (เข็ม) ดีดยืดหด 2. LN2003A (ทรานซีสเตอร์) ทำงานสอดคล้องกับบอร์ดควบคุม Arduino ที่ทำให้เกิดการยืดหดของตัวรีเรย์ 3. เข็มหมุด เป็นส่วนยืดหดให้ผู้ใช้สัมผัสได้ 4. บอร์ดไข่ปลา วางเป็นชั้นจำนวน 4 แผ่น และ 5. Adruino Board เป็นตัวควบคุมเมื่อต้องการให้เข็มยืดขึ้นมาเพื่อสัมผัสกับมือผู้ใช้ ซึ่งต้องทำงานสอดคล้องกับโปรแกรมออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และคำที่สามารถขึ้นจากปุ่มภาษาเบรลล์ ซึ่งโปรแกรมที่เขียนคำสั่ง คือ ภาษา C ใน Arduino Board เพื่อรับคำสั่งที่ต้องการให้เข็มปุ่มสัมผัสยืดหด และมีเสียงออกมาสอดไอเดียโปรแกรมภาษาเบรลล์

ซึ่งอุปกรณ์แบบนี้ในต่างประเทศมีราคาสูงมาก แต่ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นเอง ซึ่งมีระบบการทำงาน 1. รีเรย์ ทำหน้าที่ปล่อยให้ปุ่ม (เข็ม) ดีดยืดหด 2. LN2003A (ทรานซีสเตอร์)
วันพุธ 18 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.

ผู้พิการทางสายตา ในสังคมไทยขาดการสื่อสาร รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศต่าง ๆ และในทุกวันนี้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยผู้พิการทางสายตาได้รับโอกาสทางการศึกษา และเป็นที่ยอม รับจากสังคมมากขึ้น “การอ่านและเขียนอักษรเบรลล์ได้” ทำให้สามารถประกอบอาชีพเพื่อการดำรงชีวิตเหมือนบุคคลทั่วไป ในการเรียนการสอนเด็กพิการทางสายตาระยะเริ่มเรียน หรือผู้พิการทางสายตาที่ไม่เคยเข้าเรียนมาก่อน ต้องการเรียนรู้อักษรเบรลล์ ได้ฝึกหัดและทบทวนสะกดคำในรูปแบบอักษรเบรลล์มากขึ้น

ดังนั้น สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงได้มีการวิจัยและคิดค้นโปรแกรมและกลไกยืดหดต้นแบบ สำหรับเบรลล์ภาษาไทย อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น ขึ้นมา เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในภาษาได้หลากหลายนายยศรินทร์ อัญชลีพัชระ นศ.ชั้นปี 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อธิบายว่า โปรแกรมและกลไกยืดหด เป็นเครื่องช่วยเรียนรู้อ่านและเขียนอักษรเบรลล์เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถทบทวนฝึกอ่านและเขียนอักษรเบรลล์ได้ด้วยตนเอง โดยมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ การสะกดคำ จะมีการอ่านออกเสียงอักษรเบรลล์ทั้งพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมาย สามารถประสมเป็นคำได้ทั้ง 4 ภาษา และแบบฝึกหัดให้ฝึกปฏิบัติ เป็นการลงโปรแกรมกลไกยืดหด ที่ซับซ้อนยากขึ้น เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถรู้ว่าตัวเบรลล์ที่กดลงไปแล้วทบทวนได้ว่ากดจุดเบรลล์อะไรลงไปบ้าง

ซึ่งอุปกรณ์แบบนี้ในต่างประเทศมีราคาสูงมาก แต่ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นเอง ซึ่งมีระบบการทำงาน 1. รีเรย์ ทำหน้าที่ปล่อยให้ปุ่ม (เข็ม) ดีดยืดหด 2. LN2003A (ทรานซีสเตอร์) ทำงานสอดคล้องกับบอร์ดควบคุม Arduino ที่ทำให้เกิดการยืดหดของตัวรีเรย์ 3. เข็มหมุด เป็นส่วนยืดหดให้ผู้ใช้สัมผัสได้ 4. บอร์ดไข่ปลา วางเป็นชั้นจำนวน 4 แผ่น และ 5. Adruino Board เป็นตัวควบคุมเมื่อต้องการให้เข็มยืดขึ้นมาเพื่อสัมผัสกับมือผู้ใช้ ซึ่งต้องทำงานสอดคล้องกับโปรแกรมออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และคำที่สามารถขึ้นจากปุ่มภาษาเบรลล์ ซึ่งโปรแกรมที่เขียนคำสั่ง คือ ภาษา C ใน Arduino Board เพื่อรับคำสั่งที่ต้องการให้เข็มปุ่มสัมผัสยืดหด และมีเสียงออกมาสอดคล้องกับภาษาเบรลล์

“การทำงานของตัวควบคุมเมื่อมีคำสั่งจากผู้ใช้งานที่ต้องการทบทวน เช่น เมื่อกดตัวอักษรเบรลล์ ก ที่จุด 1, 2, 4 และ 5 ใน 6 เซลล์ และมีเสียง ก ออกมาแล้ว ผู้ใช้งานก็จะไปสัมผัสที่เข็มทำให้รู้ว่าเป็นจุด 1, 2, 4 และ 5 ที่เด้งขึ้นมาสัมผัสมือ ผู้ใช้งานจึงสัมผัสได้ว่าปุ่มที่ตนเองกดนั้น คือหมายเลขอะไรและอยู่ในตำแหน่งอะไร โดยในส่วนของโปรแกรมที่บอกจุดอักษรเบรลล์ว่าเป็นเสียงอะไรจะส่งข้อมูลซึ่งเป็นค่าบิต 0 และ 1 ที่สอดคล้องกับจุดอักษรเบรลล์ผ่านบอร์ดควบคุม Arduino เพื่อสั่งให้ Relay ทำงาน

โดยการปล่อยเข็มที่ติดอยู่กับตัว Reray ออกมาให้สัมผัสนิ้วของผู้ใช้งานได้ ส่วนของโปรแกรมออกเสียงชื่อ SVOX ที่เป็น Text to Speech อยู่บนระบบปฏิบัติการ Android ระบบจะออกเสียงเป็นภาษาไทย อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น ซึ่งภาษาจีนและญี่ปุ่นต้องใช้ Java ในการเขียนโปรแกรมที่ออกเสียงโดยใช้ Google Translate ในการช่วยพิมพ์แปลอักษรไทยเป็นอักษรจีนและญี่ปุ่นจากนั้นจะได้เสียง Phonetic แล้วจึงนำเสียงมาใช้สร้างจุดเบรลล์ที่สอดคล้องกับอักษรจีนและญี่ปุ่นนั้น” นายยศรินทร์ กล่าว

ต้องยอมรับในฝีมือของนักศึกษากลุ่มนี้ที่ได้คิดค้นโปรแกรมดังกล่าวขึ้น เพราะจะเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการเรียนรู้อ่านและเขียนอักษรเบรลล์ภาษาไทย อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น ที่ใช้เทคโนโลยีโปรแกรมประยุกต์สำหรับผู้พิการทางสายตา.

อุทิตา รัตนภักดี คล้องกับภาษาเบรลล์

“การทำงานของตัวควบคุมเมื่อมีคำสั่งจากผู้ใช้งานที่ต้องการทบทวน เช่น เมื่อกดตัวอักษรเบรลล์ ก ที่จุด 1, 2, 4 และ 5 ใน 6 เซลล์ และมีเสียง ก ออกมาแล้ว ผู้ใช้งานก็จะไปสัมผัสที่เข็มทำให้รู้ว่าเป็นจุด 1, 2, 4 และ 5 ที่เด้งขึ้นมาสัมผัสมือ ผู้ใช้งานจึงสัมผัสได้ว่าปุ่มที่ตนเองกดนั้น คือหมายเลขอะไรและอยู่ในตำแหน่งอะไร โดยในส่วนของโปรแกรมที่บอกจุดอักษรเบรลล์ว่าเป็นเสียงอะไรจะส่งข้อมูลซึ่งเป็นค่าบิต 0 และ 1 ที่สอดคล้องกับจุดอักษรเบรลล์ผ่านบอร์ดควบคุม Arduino เพื่อสั่งให้ Relay ทำงาน

โดยการปล่อยเข็มที่ติดอยู่กับตัว Reray ออกมาให้สัมผัสนิ้วของผู้ใช้งานได้ ส่วนของโปรแกรมออกเสียงชื่อ SVOX ที่เป็น Text to Speech อยู่บนระบบปฏิบัติการ Android ระบบจะออกเสียงเป็นภาษาไทย อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น ซึ่งภาษาจีนและญี่ปุ่นต้องใช้ Java ในการเขียนโปรแกรมที่ออกเสียงโดยใช้ Google Translate ในการช่วยพิมพ์แปลอักษรไทยเป็นอักษรจีนและญี่ปุ่นจากนั้นจะได้เสียง Phonetic แล้วจึงนำเสียงมาใช้สร้างจุดเบรลล์ที่สอดคล้องกับอักษรจีนและญี่ปุ่นนั้น” นายยศรินทร์ กล่าว

ต้องยอมรับในฝีมือของนักศึกษากลุ่มนี้ที่ได้คิดค้นโปรแกรมดังกล่าวขึ้น เพราะจะเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการเรียนรู้อ่านและเขียนอักษรเบรลล์ภาษาไทย อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น ที่ใช้เทคโนโลยีโปรแกรมประยุกต์สำหรับผู้พิการทางสายตา.

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 18 มิถุนายน 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”