เรียนอินเตอร์ คุ้มค่า หรือ แค่ แฟชั่น?

Post Reply
brid.siriwan
Posts: 3942
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

เรียนอินเตอร์ คุ้มค่า หรือ แค่ แฟชั่น?

Post by brid.siriwan »

เรียนอินเตอร์ คุ้มค่า หรือ แค่ แฟชั่น?
ปัจจุบันหลักสูตรอินเตอร์ หรือ ภาคภาษาอังกฤษได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าค่าเทอมต่อปีจะแตะเพดานสูงถึงหลักแสน แต่กระแสความนิยมเรียนอินเตอร์ในระดับมหาวิทยาลัยก็ยังไม่ลดลง กลับเพิ่มความสนใจมากขึ้นด้วยซ้ำ บ้างก็ว่าเหตุผลที่อยากเรียนเป็นเพราะอยากใช้อยากเก่งภาษาอังกฤษ ยิ่งใกล้เปิดประตูต้อนรับประชาคมอาเซียนด้วยแล้ว ยิ่งทำให้มีโอกาสในการเข้าทำงานกับบริษัทต่างชาติมากขึ้น เหมือนกับเป็นใบเบิกทางเข้าทำงานกับที่ดีๆและได้รับเงินเดือนสูงๆ แต่ถ้าหากการลงทุนเสียค่าเทอมเป็นแสนๆเพื่อได้ใช้ภาษาอังกฤษหรือได้บัตรผ่านประตูในการเข้าทำงาน มันจะคุ้มค่าจริงๆหรือ

เกณฑ์ในการเข้าศึกษา ?

การรับเข้าของหลักสูตรนานาเรียนอินเตอร์ คุ้มค่า หรือ แค่ แฟชั่น?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กรกฎาคม 2557 18:17 น.
ชาติมีทั้งการรับตรงที่มหาวิทยาลัยรับเองและรับผ่าน Admissions ถ้าเป็นการรับผ่าน Admissions จะใช้คะแนนGPAX, ONET, GAT และ PAT ในสัดส่วนคะแนนตามกลุ่มคณะ เช่น บริหารธุรกิจ ใช้ GAT 30% PAT1 20% โดยมี GPAX และ O-NET เท่ากันทุกคณะ แต่จะมีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนนภาษาอังกฤษไว้ เช่น ต้องได้คะแนน O-NET วิชาภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 30% เป็นต้น

แต่ส่วนใหญ่แล้วมหาวิทยาลัยจะรับตรงมากกว่า เน้นการจัดสอบเอง ตามวิชาที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด ถ้าดูการรับตรงของแต่ละคณะ ส่วนใหญ่จะวัดความสามารถด้วยกัน 3 ด้าน คือ ความสามารถด้านภาษาอังกฤษความสามารถด้านคณิตศาสตร์ และความสามารถเฉพาะด้านตามคณะที่จะเข้า

แบบทดสอบมาตรฐาน

การเข้าศึกษาในหลักสูตรอินเตอร์นั้นจำเป็นต้องทำแบบทดสอบวัดระดับความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ โดยเฉพาะความสามารถทางด้านภาษาซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลและเป็นสิ่งที่แสดงถึงความสามารถในการสื่อสารระหว่างประเทศของแต่ละคน สถาบันต่างๆ ได้คาดหวังที่จะให้บุคคลในสถาบันมีความสามารถทางการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้นักศึกษาที่จะเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือเมื่อจะสำเร็จการศึกษาจะต้องมีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

การเรียนหลักสูตรอินเตอร์จะต้องสามารถเข้าใจเอกสารวิชาการที่เป็นภาษาอังกฤษ สามารถสืบค้นข้อมูลด้วยเอกสารภาษาอังกฤษ และมีทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน สามารถแสดงความรู้ความเข้าใจออกมาเป็นภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ทางมหาวิทยาลัยจึงต้องให้ที่ผู้อยากเข้าเรียนทำแบบทดสอบมาตรฐาน ซึ่งลักษณะของข้อสอบ วิธีการประเมินความรู้ความสามารถนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปแต่ละมหาวิทยาลัย

การทดสอบแบบสากลทั่วไป

TOEFL มีการทดสอบในส่วน Internet-based Test (iBT) ประเมินความสามารถด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ และ ในส่วนPaper-based Test (PBT) คือการประเมินความสามารถในการอ่าน ฟัง และเขียนภาษาอังกฤษ
IELTS เป็นการทดสอบภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ ได้รับการออกแบบเพื่อใช้ประเมินความสามารถด้านภาษาของผู้สมัครสอบที่ต้องการเรียนหรือทำงานในสถานที่ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร การสอบ IELTS ใช้ประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สมัครสอบอย่างมีประสิทธิภาพใน 4 ทักษะนั้นคือ การฟัง การอ่าน การเขียน และการพูด รวมถึงความรู้ทางด้านไวยากรณ์และคำศัพท์ในการใช้ภาษาด้วย
SAT เป็นการทดสอบมาตรฐาน จะทดสอบทักษะด้านคณิตศาสตร์ สำหรับคนที่ต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ ในอเมริการะดับปริญญาตรี ข้อสอบประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Math sections และ Verbal sections และ Critical Reading คะแนนเต็มมี 3 ส่วน คือ 800, 800 และ 800 คะแนน คะแนนเต็มทั้งหมด 2,400 คะแนน

เรียนอินเตอร์ คุ้มค่า หรือ แค่ แฟชั่น?
โดยปกติแล้วการสอบ IELTS จะเป็นที่นิยมมากกว่าในสหราชอาณาจักรและยุโรป ส่วน TOEFL จะเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา แต่ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เริ่มยอมรับผลการสอบทั้งสองแบบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐอเมริกา หรือสหราชอาณาจักร รวมไปถึงประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ก็ยอมรับผลสอบ TOEFL เพื่อการพิจารณาในการรับสมัครแล้ว ดังนั้น เราจะเลือกสอบอะไรก็ได้

การทดสอบเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย

ทางมหาวิทยาลัยจะมีการกำหนดชื่อของแบบทดสอบ ลักษณะข้อสอบ และเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถของผู้สมัครสอบแตกต่างกันออกไป เช่น การทดสอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมีชื่อเรียกและการวัดผลที่ต่างกัน ดังนี้

CU- TEP เป็นการทดสอบที่ใช้วัดความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาทางทักษะการอ่าน การพูด การฟัง และการเขียน เนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษทั่วไป และภาษาอังกฤษกึ่งวิชาการ ใช้สอบเพื่อเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
CU-AAT เป็นการทดสอบที่ใช้วัดความถนัดโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือด้านMath Section ใช้สำหรับวัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และด้าน Verbal Section ใช้สำหรับวัดความสามารถทางด้านภาษา ใช้สอบเพื่อเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
CU-ATS เป็นการทดสอบที่ใช้วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย วิชาฟิสิกส์ 60 ข้อ เวลา 60 นาที วิชาเคมี 55 ข้อ เวลา 60 นาที ใช้สอบเพื่อเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
TU-GET เป็นข้อสอบที่ใช้วัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับ TU-GET ผลคะแนนที่ต้องการคือ 550 คะแนนขึ้นไป ผลการสอบเก็บไว้ใช้ได้ 2 ปี

จากที่กล่าวมาข้างต้น ผลของคะแนนนั้นจะถูกกำหนดโดยมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่ละคณะจะกำหนดการผ่านเกณฑ์ไม่เหมือนกัน เช่น
-มหาวิทยาลัยมหิดลจะกำหนดการผ่านคะแนน TOEFL (Internet Based) 79 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS 6.0 คะแนนขึ้นไป
-คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลคะแนน CU - TEP หรือ TOEFL ตั้งแต่ 550 คะแนนขึ้นไป ผลคะแนน IELT ตั้งแต่ 6.0 คะแนนขึ้นไป หรือ ผลคะแนน SAT Critical Thinking ตั้งแต่ 500 คะแนนขึ้นไป ผลคะแนน CU - AAT ตั้งแต่ 950 ขึ้นไป
-คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลคะแนนจะต่างกันที่ การสอบ SAT Critical Thinking ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป และการสอบCU - AAT ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ 450 ขึ้นไป ซึ่งแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์ผ่านคะแนนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสาขาวิชานั้นๆ

อินเตอร์กับอนาคตการทำงาน

จากการพูดคุยกับฝ่ายบุคคลถึงโอกาสและแนวโน้มการรับเข้าทำงานระหว่างเด็กที่จบหลักสูตรอินเตอร์กับเด็กที่จบหลักสูตรธรรมดาว่าคุณสมบัติแบบไหนจะเข้าตาฝ่ายบุคคลมากกว่ากัน จึงได้ข้อมูลมาว่า

“การเลือกรับบุคคลเข้าทำงานนั้นจะต้องดูคุณสมบัติหลายอย่าง ไม่เพียงแต่ดูว่าจบอินเตอร์หรือไม่จบอินเตอร์เท่านั้น ความสามารถทางด้านภาษาก็เป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่ผู้สมัครจำเป็นต้องมี ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเด็กที่จบภาคอินเตอร์นั้นมีความได้เปรียบทางด้านภาษาเป็นต้นทุนอยู่แล้ว แต่นั้นก็จะไม่ยุติธรรมสำหรับเด็กที่จบหลักสูตรธรรมดา บางครั้งฝ่ายบุคคลอาจให้ทำแบบทดสอบเฉพาะอาชีพที่เลือกสมัครมา เพื่อวัดความรู้ทางด้านวิชาการและสิ่งที่เรียนมา นอกเหนือจากความสามารถด้านภาษา ซึ่งเด็กจบอินเตอร์บางคนก็สู้เด็กภาคธรรมดาไม่ได้ในเรื่องของวิชาการ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องดูองค์ประกอบหลายอย่าง รวมไปถึงดูตำแหน่งที่เปิดรับสมัครด้วย”

เรียนอินเตอร์ คุ้มค่า หรือ แค่ แฟชั่น?
จะเห็นได้ว่าสำหรับผู้ที่จบหลับสูตรอินเตอร์มานั้น อาจมีความได้เปรียบในด้านภาษามากกว่าผู้ที่จบหลักสูตรธรรมดา แต่อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เลือกสมัครด้วย ถ้าสมัครตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ภาษาในการสื่อสารในการทำงานเป็นหลัก ผู้ที่จบอินเตอร์คงมีแนวโน้มและมีโอกาสในการได้งานมากกว่า หากเป็นตำแหน่งอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้ความสามารถทางด้านภาษามากนัก ก็คงจะต้องวัดกันที่ความสามารถในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และทัศนคติ มุมมองการทำงานเป็นองค์ประกอบในการเข้าทำงานด้วยเช่นกัน

เรียนอินเตอร์ดีจริงหรือค่านิยม?

กระแสการเข้าเรียนหลักสูตรอินเตอร์ถูกพูดถึงกันมากในยุคที่ภาษาอังกฤษมีความสำคัญอย่างสูง เหตุผลส่วนใหญ่ที่เลือกเรียนอินเตอร์คงหนีไม่พ้นอยากเก่งภาษาอังกฤษและอยากเพิ่มทักษะในเรื่องการฟัง พูด อ่าน เขียน ผู้ปกครองบางคนมองว่าการเรียนหลักสูตรอินเตอร์คือการลงทุนด้านการศึกษาให้ลูกในอนาคต ยอมเสียเงินค่าเทอมแพงๆ เพื่อแลกกับโอกาสและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ดังนั้นการเรียนภาคอินเตอร์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการโอกาสมากขึ้นในการทำงานในอนาคต ส่วนในมุมมองของนักศึกษาบางคนก็คิดว่าการเรียนหลักสูตรอินเตอร์นั้นสามารถใช้ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในการสมัครงานหรือเป็นใบผ่านทางได้ โดยที่ไม่ต้องยื่นคะแนนรอบ admissionให้เสียเวลา แค่สอบวัดระดับภาษาอังกฤษให้ผ่านเกณฑ์ก็สามารถมีที่นั่งเรียนได้แล้ว กลายเป็นค่านิยมอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่ทางบ้านมีฐานะด้านการเงินและต้องการเข้าศึกษาเพราะอยากได้ชื่อมหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตามการเรียนหลักสูตรอินเตอร์ได้นั้น ไม่เพียงแต่จะเก่งภาษาอังกฤษอย่างเดียว แต่จะต้องมีทักษะด้านอื่นๆ ประกอบด้วย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคณะและสาขาที่เลือกเรียน ปัญหาที่พบมากที่สุดในการเรียนคือ ความไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน ซึ่งแน่นอนว่าหลักสูตรอินเตอร์จะต้องมีผู้ถ่ายทอดวิชาเป็นอาจารย์ต่างชาติ รวมไปถึงอาจารย์ในแทบเอเชียซึ่งก็จะมีสำเนียงที่ต่างกันออกไป ดังนั้นอุปสรรคทางด้านภาษานี้เองจึงส่งผลต่อความเข้าใจในเรื่องของเนื้อหาวิชาและการตอบสนองต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน

นอกจากปัญหาทางด้านภาษาแล้ว ยังมีปัญหาจากตัวผู้สอนเอง ซึ่งอาจจะเป็นคนถ่ายทอดวิชาไม่เก่ง ส่งความรู้ไปให้นักศึกษาไม่ครบ 100 % รวมไปถึงปัญหาจากตัวผู้เรียนแต่ละคน ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ ความไวในการเรียนรู้ ระดับสติปัญญาย่อมแตกต่างกัน ทำให้ที่กล่าวมาทั้งหมดกลายเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ส่งผลให้นักศึกษาบางคนถึงกลับลาออกหรือโดนรีไทร์เพราะเกรดไม่ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

เรียนอินเตอร์ คุ้มค่า หรือ แค่ แฟชั่น?
แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่านักศึกษาที่ไม่ได้ลาออกหรือโดนรีไทร์จะเก่งภาษาอังกฤษเท่าๆ กันหมด ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในระดับปานกลางถึงดีมาก บางคนยื่นคะแนนสอบตรงผ่านแต่พอเข้าไปเรียนจริงๆ ก็เรียนไม่ไหว เกิดความท้อแท้ใจจึงตัดสินใจลาออก ส่วนบางคนไม่ได้ตั้งใจเข้าแต่แรก แต่ไม่อยากเสี่ยงกับการยื่นคะแนน admission จึงลองยื่นคะแนนสอบตรง ปรากฏว่าติดและก็เรียนได้จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจขวนขวาย ความพยายาม และความสามารถในการปรับตัวของแต่ละคน

...ดังนั้น หากเราจะกล่าวว่าเรียนอินเตอร์คุ้มค่าหรือไม่? คงต้องตอบว่า “คุ้มค่ากับคนบางคน” เพราะในด้านเศรษฐศาสตร์นั้นหมายถึง เด็กอินเตอร์ที่จบมาจะมีการงานอาชีพที่สามารถสร้างรายได้มากกว่าเด็กที่จบหลักสูตรธรรมดาทั่วไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่สมัครด้วย โดยเฉลี่ยจะได้เปรียบเมื่อคำนึงถึงภาษาและสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างทางทัศนคติ ที่เอื้อให้เกิดโอกาสทำงานในบริษัทที่มีความเป็นสากล หรือทำงานต่างประเทศ อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงจำนวนเงินค่าเทอมที่เสียไปรวม 4 ปี ที่เหยียบเกือบหลักล้านว่าคุ้มค่าไหม อาจกล่าวได้ว่า ส่วนใหญ่เด็กเรียนอินเตอร์เมืองไทย บ้านมีฐานะการเงินดีอยู่แล้วในระดับหนึ่ง อาจจะไม่สนว่าคุ้มไหมในเชิงการเงิน เพราะพ่อแม่ก็หวังให้ลูกได้ในสิ่งที่ดีที่สุด

ขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 25 กรกฎาคม 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”