‘ฟองน้ำห้ามเลือด’ คว้าสุดยอดนวัตกรรมข้าวไทย

Post Reply
brid.siriwan
Posts: 3942
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

‘ฟองน้ำห้ามเลือด’ คว้าสุดยอดนวัตกรรมข้าวไทย

Post by brid.siriwan »

‘ฟองน้ำห้ามเลือด’ คว้าสุดยอดนวัตกรรมข้าวไทย

มูลนิธิฯ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. จัดการประกวด “รางวัลนวัตกรรมข้าวไทย” มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8

ฟองน้ำห้ามเลือดในการผ่าตัด จากแป้งข้าวเจ้าดัดแปร คว้ารางวัลนวัตกรรมข้าวไทยปีนี้ ชี้ช่วยเพิ่มมูลค่าข้าวไทย ลดการนำเข้าวัสดุทางการแพทย์ราคาแพง

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานกรรมการตัดสินรางวัลนวัต กรรมข้าวไทย กล่าวว่า มูลนิธิฯ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. จัดการประกวด “รางวัลนวัตกรรมข้าวไทย” มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมข้าวไทยให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ทั้งระบบด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยปีนี้ ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ระดับอุตสาหกรรม คือ “ฟองข้าวสุรดา” ฟองน้ำห้ามเลือดทางศัลย ศาสตร์จากแป้งข้าวเจ้า

นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บุณยนิตย์วัสดุแพทย์ จำกัด ผู้พัฒนาฟองข้าวสุรดา เปิดเผยว่า ได้รับรางวัลนวัตกรรมข้าวไทยเป็นปีที่สอง โดยปี 2556 ได้รับรางวัลชนะเลิศเช่นกันจากผลงาน แผ่นเจลข้าวกรดห้ามเลือดที่เรียกว่า “ข้าววรางกูร” โดยใช้เป็นวัสดุห้ามเลือดในการผ่าตัด สำหรับปีนี้นำแป้งข้าวเจ้าดัดแปรของไทยมาต่อยอดพัฒนาเป็น “ฟองข้าวสุรดา” ฟองน้ำห้ามเลือดในห้องผ่าตัด ทดแทนวัสดุห้ามเลือดที่ทำจากเจลาติน ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพงฟองน้ำที่พัฒนาขึ้นจะใช้กับแผลผ่าตัดที่บริเวณอวัยวะอ่อนนุ่มเช่น ตับ ปอด สมอง ลำไส้ มดลูก ทวารหนัก ซึ่งมีการตกเลือดแบบความดันต่ำจากหลอดเลือดฝอยหรือหลอดเลือดดำ ราคาถูกกว่านำเข้า 3 เท่า ผ่านการทดสอบใช้งานในโรงพยาบาลต่าง ๆ จดสิทธิบัตรแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดจำหน่าย

อย่างไรก็ดี ปีนี้โครงการรางวัลนวัต กรรมข้าว ได้มอบรางวัลพิเศษ ให้กับผลงาน “นาโนซิลิกอน” สำหรับใช้เป็นขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน ของภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอน แก่น เนื่องจากมีศักยภาพในการเป็นนวัตกรรม โดยเป็นการผลิตนาโนซิลิกอนจากแกลบ วัสดุเหลือใช้จากกระบวนการสีข้าวของไทย ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถนำมาทำเป็นขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไออนในอนาคต ปัจจุบันสามารถผลิตได้ในระดับห้องปฏิบัติการ.


ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 6 ตุลาคม 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”