แคสเปอร์สกี้ เตือน “เล่น แชท แชร์” ไม่คิด เสี่ยงเป็นเหยื่อ

Post Reply
brid.siriwan
Posts: 3942
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

แคสเปอร์สกี้ เตือน “เล่น แชท แชร์” ไม่คิด เสี่ยงเป็นเหยื่อ

Post by brid.siriwan »

แคสเปอร์สกี้ เตือน “เล่น แชท แชร์” ไม่คิด เสี่ยงเป็นเหยื่อ

แคสเปอร์สกี้ ชี้แฮคเกอร์ยังสนใจโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างต่อเนื่อง เตือน “เล่น แชท แชร์” ไม่คิด เสี่ยงเป็นเหยื่อ


รายงานข่าวจากแคสเปอร์สกี้ แลป แจ้งว่า จากผลการสำรวจเรื่อง “Consumer Security Risks Survey 2014: Multi-Device Threats in a Multi-Device World” ที่ แคสเปอร์สกี้ แลป ทำร่วมกับบริษัท บีทูบี อินเตอร์เนชั่นแนล ชี้ว่ามีกลุ่มคนจำนวนน้อยมากๆ เท่านั้นที่เข้าใจถึงความเสี่ยงที่มากับการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ใช้โมบายดีไวซ์ เพื่อเข้าไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ โดยผู้ตอบการสำรวจ 78% ไม่ได้คาดว่าตนเองจะเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจของอาชญากรไซเบอร์ หรือไม่แม้แต่จะคิดว่ามีอันตรายกับกิจกรรมโซเชียลเน็ตเวิร์กของตน

นอกจากนี้ยังพบว่า อย่างน้อยหนึ่งในทุกๆ สิบคนจะพูดคุยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า ขณะที่ 15% ส่งข้อมูลส่วนตัวที่ไม่ได้เปิดเผยที่ใดผ่านทางโซเชียลมีเดีย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ตอบสำรวจ 12% กรอกข้อมูลออนไลน์แอ็คเคาท์ของตนเวลาใช้เครือข่าย ไวไฟ สาธารณะ มีเพียง18% เท่านั้นที่ฉุกคิดว่าตนเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไปหรือเปล่า

แคสเปอร์สกี้ แลป ระบุ พฤติกรรมของยูสเซอร์ที่ไม่รอบคอบจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ ผู้ร้ายมักจ้องหาช่องทางผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก คอยส่องหาข้อมูลเล็ดรอดออกมาซึ่งอาจเป็นโอกาสให้ก่ออาชญากรรม อาทิ อีเมลแอดเดรสที่ใช้ล่อลวงผู้รับ หรือแกะรอยรหัสผ่าน หรือระบุที่อยู่ที่ตั้งของยูสเซอร์

ทั้งนี้จากสถิติแสดงว่า แฮคเกอร์สนใจโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างต่อเนื่อง โดย ข้อมูลจากแคสเปอร์สกี้ ซีเคียวริตี้ เน็ตเวิร์ก ในปี พ.ศ. 2556 โปรดักส์ของแคสเปอร์สกี้ แลปสามารถสกัดจับการหลงเข้าฟิชชิ่งเพจ (เพจปลอม) ได้มากกว่า 600 ล้านครั้ง และกว่า 35% ของเพจเหล่านี้เลียนแบบโซเชียลเน็ตเวิร์กไซต์ การสำรวจยังพบด้วยว่า 40% ของยูสเซอร์เคยได้รับข้อความน่าสงสัยชักชวนให้คลิกเข้าลิ้งค์ต่างๆ หรือดาวน์โหลดไฟล์ และ 21% ของยูสเซอร์ได้รับอีเมลที่อ้างว่าส่งมาจากโซเชียล เน็ตเวิร์กเพื่อขอข้อมูลส่วนตัว นอกจากนี้ยังพบว่า โมบายยูสเซอร์มักตกอยู่สถานการณ์ล่อแหลม มี 6% ที่โดนแฮคเกอร์ยึดแอ็คเคาท์และอีก 13% เป็นกลุ่มที่ใช้แท็บเล็ตแอนดรอยด์

อย่างไรก็ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อถูกล่อลวงในโซเชียลเน็ตเวิร์ก แคสเปอร์สกี้ แลป แนะนำ ยูสเซอร์ว่า ควรใช้พาสเวิร์ดที่เหมาะสมและเดายากๆ หน่อย และยกเลิกฟังก์ชั่นการเติมเต็มพาสเวิร์ดอัตโนมัติ โดยเฉพาะเวลาที่ใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ระมัดระวังข้อมูลที่แชร์บนเน็ตเวิร์ก แบ่งกลุ่ม “friends" หรือเพื่อนเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลส่วนตัวที่คุณเลือกจะแชร์เฉพาะกับคนที่ไว้วางใจเท่านั้น

อย่าดาวน์โหลดไฟล์ อย่าคลิกลิ้งค์ต่างๆ ที่ไม่แน่ใจในแหล่งที่ส่งมา และก่อนที่จะกรอกข้อมูลส่วนตัว ควรตรวจสอบจนแน่ใจว่าไม่ใช่เพจปลอมเพื่อมาหลอกดักเอายูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ด พยายามเลือกใช้เฉพาะการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ปลอดภัย อย่าใส่ล็อกอินและพาสเวิร์ดเมื่อต่อเชื่อมกับฮอตสปอต และที่สำคัญ ควรแน่ใจว่าดีไวซ์ที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นมีระบบป้องกันที่ดีพอ

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 28 ตุลาคม 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”