ปัญหาหลังรับโอนบ้าน

Post Reply
brid.siriwan
Posts: 3942
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

ปัญหาหลังรับโอนบ้าน

Post by brid.siriwan »

ปัญหาหลังรับโอนบ้าน

ปัญหาการรุกล้ำแนวเขต ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่สร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง เพราะถ้าเป็นบ้านในโครงการ จัดสรร (ผู้ประกอบการจะเป็นผู้ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินทุกแปลงและก่อสร้างบ้านบนที่ดินที่มีการแบ่งแยกชัดเจน)

คนส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญก่อนการซื้อบ้าน เนื่องจากที่ผ่านมาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดกับผู้ซื้อบ้านมักจะเป็น ปัญหาในเรื่องข้อสัญญา การส่งมอบบ้านไม่ตามกำหนด รวมไปจนถึงการสร้างบ้านที่ไม่ได้ตามมาตรฐานหรือการใช้วัสดุ ก่อสร้างที่ไม่ตรงตามสัญญา เป็นต้น แต่ตามความเป็นจริงแล้วปัญหาสำหรับคนซื้อบ้านไม่ได้มีปัญหาเพียงแค่นั้น ปัญหาภายหลังจากที่รับโอนบ้านก็มีความสำคัญและไม่ควรมองข้าม เพราะในเวลานั้นจะมีเพียงตัวของเจ้าของบ้านที่ต้องรับผิดชอบ และอยู่กับปัญหานั้นไปอีกนาน เช่น

ปัญหาการรุกล้ำแนวเขต ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่สร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง เพราะถ้าเป็นบ้านในโครงการ จัดสรร (ผู้ประกอบการจะเป็นผู้ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินทุกแปลงและก่อสร้างบ้านบนที่ดินที่มีการแบ่งแยกชัดเจน) จึงไม่มีปัญหา แต่อาจมีบางกรณีที่เมื่อมีการรับโอนกรรมสิทธิ์แล้วมีการต่อเติมบ้านให้ผิดไปจากเดิมโดยส่วนใหญ่แล้วการต่อเติมบ้านในโครงการจัดสรรมักจะผิดกฎหมาย โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ เนื่องจากในกฎหมายกำหนดให้ที่อยู่อาศัยทั้ง 2 ประเภท ต้องมีระยะห่างของตัวอาคารด้านหน้า 3 เมตร ด้านหลัง 3 เมตร และด้านข้างอีก ด้านละ 2 เมตร เมื่อเจ้าของบ้านต่อเติมระยะห่างก็จะลดลงทันที และถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพื้นที่ที่มีการต่อเติม ล้ำไปยังที่ดินข้างเคียงจะกลายเป็นเรื่องใหญ่

หากเจ้าของบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้านในโครงการจัดสรร หรือบ้านที่ปลูกสร้างบนที่ดินของตนเอง สิ่งที่ต้องระวังคือ อย่าให้ใครปลูกบ้านรุกล้ำที่ดินของท่านนานถึง 10 ปี หากที่ดินของท่านมีกรรมสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดิน เพราะผู้ที่รุกล้ำจะได้สิทธิในการครอบครองปรปักษ์ แต่ถ้าเป็นที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก (ปัจจุบันอนุญาตให้นำมาจัดสรรได้เช่นเดียวกัน) ถ้าปล่อยให้มีการปลูกบ้านรุกล้ำที่ดินเพียง 1 ปีเท่านั้น ก็จะทำให้ต้องเสียสิทธิในที่ดินส่วนนั้นไปทันที

ปัญหาบริการสาธารณูปโภคขาดมาตรฐาน ก็ถือเป็นปัญหาที่พบบ่อย โดยเฉพาะในช่วงก่อนที่จะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ผู้เป็นเจ้าของโครงการดำเนินการจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการส่วนกลางตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกฎหมายจนได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่คนซื้อบ้านไปแล้ว ผู้เป็นเจ้าของโครงการ (ที่ไม่มีคุณภาพ) มักจะดูแลรักษาเฉพาะในส่วนของสาธารณูปโภคที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เจ้าของโครงการเอง เช่น สโมสร สระว่ายน้ำ ศูนย์กีฬา และคลับเฮาส์ เป็นต้น แต่ในส่วนของบริการส่วนกลางอื่น ๆ เช่น ไฟส่องสว่างให้กับถนน การจัดเก็บขยะในโครงการ การบำบัดน้ำเสีย จะไม่ได้รับการดูแลเลย ทั้ง ๆ ที่ตามกฎหมายเดิมการดูแลทรัพย์ส่วนกลาง และสาธารณูปโภคโครงการยังเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของโครงการผู้จัดสรร จนเป็นเหตุให้มีเรื่องร้องเรียนเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ (ไม่รวมถึงรายที่ไม่ดำเนินการจัดสร้างสาธารณูปโภคให้ครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา) ปัจจุบันมีกฎหมายกำหนดเรื่องการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วครับ.

ดินสอพอง


ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 25 ตุลาคม 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”