ครม.ไฟเขียวร่างกฎหมาย 2 ฉบับ

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

ครม.ไฟเขียวร่างกฎหมาย 2 ฉบับ

Post by brid.ladawan »

?ครม.ไฟเขียวร่างกฎหมาย 2 ฉบับ?
เปิดทางเอสเอ็มอีกู้เงินได้ฉลุย โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สิน ทั้งสินค้าคงคลัง ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เอามาใช้ค้ำประกันกู้เงินได้


พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.ได้เห็นชอบร่างกฎหมาย เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เข้าถึงแหล่งเงินทุน และขอกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น 2 ฉบับ คือ ร่างพ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ และร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งผู้ประกอบการ นำสังหาริมทรัพย์ ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ หรือสินค้าคงคลัง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า และทรัพย์สินทางปัญญา มาใช้ค้ำประกันการกู้เงินได้ โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สิน

การออกกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนั้น เป็นการแก้ปัญหาเดิม เพราะปัจจุบันการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน มีข้อจำกัดตามข้อกฎมาย ทั้งเรื่องการจำนองที่จำกัด เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนบางประเภท และเรื่องการจำนำที่กำหนดให้ผู้จำนำต้ องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำให้ผู้รับจำนำด้วย ทำให้ทรัพย์สินหลายประเภทไม่สามารถนำมาเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อได้ โดยร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว จึงเป็นการรองรับการนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ มาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ เพื่อสร้างระบบการบังคับหลักประกันที่รวดเร็ว เป็นประโยชน์ในการประกอบธุรกิจ เข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบธุรกิจ

ขณะเดียวกัน ยังลดความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อของผู้รับหลักประกัน โดยกำหนดมาตรการทางกฎหมาย เพื่อรองรับกระบวนการชำระหนี้ได้รวดเร็วกว่ากระบวนการทางศาล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศด้วย นอกจากนี้ในร่างพ.ร.บ.หลักประกันฯ ยังกำหนดให้ นำสิทธิเรียกร้องมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ โดยได้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 305 เพื่อให้สิทธิตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเหนือสิทธิเรียกร้อง ที่นำมาเป็นหลักประกันตกไปเป็นของผู้รับโอน เมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้อง

ทั้งนี้สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.หลักประกันฯ กำหนดให้นำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ มาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินนั้น และผู้ให้หลักประกันจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้ ส่วนผู้รับหลักประกันต้องเป็นสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นตามที่กำหนดในกฎ กระทรวง อีกทั้งยังกำหนดประเภททรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นหลักประกัน คือ กิจการ สิทธิเรียกร้อง สังหาริมทรัพย์ที่ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า อสังหาริมทรัพย์ ในกรณีผู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และทรัพย์สินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

นอกจากนี้ยังกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจขึ้นในกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า โดยสำนักงานฯ มีหน้าที่รับจดทะเบียน แก้ไขรายการจดทะเบียน ยกเลิกการจดทะเบียน และเพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ พร้อมทั้งกำหนดให้ผู้ให้หลักประกันมีสิทธิครอบครอง ใช้สอย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่าย โอน และจำนองทรัพย์สินที่หลักประกัน แต่จะนำทรัพย์สินนั้นไปจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ต่อไปไม่ได้ และกำหนดให้ผู้รับหลักประกันมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็น หลักประกันก่อนเจ้าหนี้สามัญไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปยังบุคคลภาย นอกแล้วหรือไม่

ขณะที่การบังคับหลักประกันกรณีหลักประกันเป็นทรัพย์สิน ผู้รับหลักประกันสามารถบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน หลุดเป็นสิทธิหรือโดยจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนำเงินมาชำระ หนี้ ส่วนการบังคับหลักประกันกรณีหลักประกันเป็นกิจการ ผู้บังคับหลักประกันต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานทะเบียน และต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานทะเบียน

ส่วนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ ได้กำหนดให้สิทธิตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเหนือสิทธิเรียกร้องที่จะนำมา เป็นหลักประกันตกไปเป็นของผู้รับโอนเมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องเช่นเดียว กับสิทธิจำนอง จำนำ หรือค้ำประกัน


ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 10 ก.พ 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”