เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้

Post by brid.ladawan »

เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้าสู่ระบบดิจิตอล



เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้าสู่ระบบดิจิตอล



คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้าสู่ระบบดิจิตอล

เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้าสู่ระบบดิจิตอล

เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้าสู่ระบบดิจิตอล

เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้าสู่ระบบดิจิตอล

เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้าสู่ระบบดิจิตอล

เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้าสู่ระบบดิจิตอล

เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้าสู่ระบบดิจิตอล

เอปสันตั้ง F-Academy เสริมคมเอสเอ็มอี พร้อมดันตลาดการพิมพ์ผ้าสู่ระบบดิจิตอล


เอปสัน จับมือพันธมิตรเปิดโครงการ Epson F-Academy ศูนย์การเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อเตรียมความพร้อมเอสเอ็มอีรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี พร้อมเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันใน ตลาดการพิมพ์เสื้อผ้า และสิ่งทอด้วยระบบดิจิตอล

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เอปสันเริ่มรุกเข้าสู่ตลาดการพิมพ์ผ้าระบบดิจิตอลมาตั้งแต่กลางปี 2556 เพราะมองเห็นถึงโอกาสที่เปิดกว้างและแนวโน้มการเติบโตที่ดี ในขณะที่เทคโนโลยีการพิมพ์แบบซิลค์สกรีนกำลังถูกแทนที่ด้วยระบบดิจิตอลมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะขั้นตอนการผลิตทำได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องใช้เงินลงทุน และจ้างพนักงานมากเท่ากับระบบเดิม เอสเอ็มอีเกิดใหม่ก็เลือกใช้ระบบดิจิตอลมากขึ้น เพื่อรองรับงานแบบ on-demand ของลูกค้าที่ต้องการสั่งพิมพ์งานที่มีลวดลายเฉพาะตัวในจำนวนไม่มากในแต่ละออเดอร์ หรือต้องการงานเร่งด่วน ส่วนร้านที่ยังใช้ระบบซิลค์สกรีนก็เริ่มลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านการผลิต หรือแม้แต่เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า และอีเวนต์ ออแกไนเซอร์ ก็หันมาซื้อเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอล เพื่อจัดตั้งแผนกการพิมพ์ของตัวเอง

“บวกกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในอีกไม่ถึงปีจะเพิ่มปริมาณการนำเข้าสินค้าราคาถูก รวมถึงเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจากประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ประกอบการไทยจึงต้องปรับตัวเพื่อหาความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน ซึ่งการใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอลจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าได้เป็นอย่างดี”

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาไม่มีเครื่องพิมพ์หมึกพิมพ์แท้ที่ถูกทำขึ้นมาสำหรับพิมพ์ผ้าโดยเฉพาะจากผู้ผลิตเดียวกัน และมีบริษัทอยู่ในประเทศไทย ส่งผลให้ต้องมีการดัดแปลงเครื่อง หรือมีการนำเข้าสินค้ามาเอง โดยไม่ได้ผ่านบริษัทผู้ผลิตโดยตรง หรือจำเป็นต้องทดสอบหมึกพิมพ์ยี่ห้อต่างๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาในเรื่องของคุณภาพ และการบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเอปสันได้ออกแบบเครื่องพิมพ์ และหมึกพิมพ์แท้ที่ถูกทำขึ้นมาสำหรับการพิมพ์ผ้าโดยเฉพาะ และมาจากเอปสันทั้งหมด จะช่วยให้ผู้ประกอบการเกิดความมั่นใจ ไม่ต้องลองผิด ลองถูก อีกทั้งนักออกแบบหรือเจ้าของแบรนด์สามารถทำการผลิตตามความต้องการ หรือจำนวนที่ต้องการได้ด้วยตนเอง ลดปัญหาจำนวนสินค้าคงคลัง ข้อจำกัดของลวดลาย การทำแบบเฉพาะบุคคล (Personal Design) และการลอกเลียนแบบได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีบริการหลังการขาย และการรับประกัน ทำให้มียอดขายที่น่าพอใจในวันนี้

นายยรรยง กล่าวว่าเนื่องจากในตลาดนี้มีผู้ประกอบการจำนวนมาก และหลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงคุ้นชินกับระบบซิลค์สกรีน หรือจ้างผลิต การให้ความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีระบบดิจิตอล การแนะนำและใช้งานเครื่องพิมพ์ของเอปสันมาปรับใช้ เพื่อให้ได้งานตามที่ต้องการต่อธุรกิจของลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ เอปสันจึงได้ริเริ่มโครงการ Epson F-Academy เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลทั้งด้านเทคโนโลยีจากผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริการในวงการ Digital Textile & Garment โดยผู้ประกอบการสามารถมาศึกษา เรียนรู้ ตลอดจนลงทุนได้อย่างครบวงจร ทั้งทางด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์ ขั้นตอนการทำงาน ตลอดรวมถึงการออกแบบดีไซน์ ผ่านทางการจัดสัมมนา วิดีโอ Roadshow และเครือข่ายพันธมิตรต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมในโครงการ

“โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตแบบยั่งยืนในตลาดการพิมพ์ผ้าอีกด้วย โครงการนี้ไม่เพียงแต่จะกระตุ้นความสนใจ และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการเก่าและใหม่ แต่ยังช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้งานจากระบบซิลค์สกรีนมาเป็นระบบดิจิตอลมากขึ้น ทั้งยังคาดว่าจะช่วยผลักดันยอดขายของเครื่องพิมพ์เอปสันให้เติบโตขึ้นกว่า 3 เท่าในอีก 2 ปีข้างหน้า”

ทั้งนี้ โครงการ Epson F-Academy มีการดำเนินโครงการแบ่งเป็น 3 เฟส ครอบคลุมระยะเวลาตลอดปี 2015 โดยเฟสแรกได้จับมือกับบริษัท เน็กซ์เทค สกรีน ซัพพลาย จำกัด (NTS) ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าเครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิตอลของเอปสัน โดยทาง NTS จะเป็นผู้แนะนำ จัดหา ดูแลการขายและการบริการในส่วนของโซลูชั่นอย่างครบถ้วน ทั้งในส่วนของเครื่องมือ วัสดุสิ้นเปลือง และการอบรมสัมมนาการใช้งานเครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในตลาดเสื้อผ้าและสิ่งทอ

สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ (CIDI Chanapatana) เป็นสถาบันสอนออกแบบที่ใช้หลักสูตรจากอิตาลี สอนโดยคณาจารย์ชาวตะวันตก และเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคคลทั่วไปให้เป็นแฟชั่นดีไซเนอร์ ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ในโครงการนี้ CIDI Chanapatana จะเป็นศูนย์ Epson F-Academy ที่มีอุปกรณ์โซลูชั่น องค์ความรู้ และสร้างคอร์สระยะสั้นเพิ่มเติม ให้แก่กลุ่มเป้าหมายและผู้สนใจทั่วไป

นายปลวัชร นาคะโยธิน ผู้จัดการแผนกเครื่องพิมพ์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โครงการ Epson F-Academy จะเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ชั้นดีในการสร้างการรับรู้ และความเข้าใจว่าการพิมพ์ผ้าด้วยระบบดิจิตอลไม่ยุ่งยาก สร้างมูลค่าสินค้า และสามารถสร้างโอกาสอื่นๆ ทางธุรกิจได้อีกมากมาย ซึ่งโครงการฯ จะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 เฟส ตลอดปี

โดยในเฟสที่ 1 นี้ จะเน้นที่ผู้ประกอบการที่ยังใช้ระบบซิลค์สกรีน หรือจ้างผู้อื่นผลิต รวมถึงผู้ที่ต้องการเปิดธุรกิจ หรือเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า รวมไปถึงแฟชั่นดีไซเนอร์ และอีเวนต์ ออแกไนเซอร์ ให้ได้รู้จักวิธีการใช้เครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอลอย่างสมบูรณ์ และสามารถนำไปใช้กับธุรกิจได้ในทันที และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจทั่วไปได้เข้าถึง และรับรู้เกี่ยวกับโครงการ จึงได้สร้างกิจกรรม “นักล่าฝันแฟชั่นไทย” โดยได้คัดเลือกผู้ประกอบการตัวอย่างมาทำเวิร์กชอป เรียนรู้ตั้งแต่เรื่องเนื้อผ้า แนวคิดและเทคนิคการออกแบบ วิธีการทำการตลาดออนไลน์ ทั้งยังได้ทำความรู้จักกับเครื่องพิมพ์ของเอปสัน รุ่น SC-F2000 ทั้งวิธีการใช้เครื่องและเทคนิคการพิมพ์ และยังได้ผลิตผลงานเพื่อทดลองวางขายที่แพลตตินั่ม เซ็นเตอร์ และโบ๊เบ๊ เซ็นเตอร์ ในเดือนมีนาคม 2558 ก่อนที่จะเปิดให้ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมในเฟส 2 และในเฟสสุดท้ายจะเชิญมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานและสมาคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอที่สนใจเข้าร่วมต่อไป

สำหรับเครื่องพิมพ์รุ่น SC-F2000 ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่องานพิมพ์เชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรม และสำนักงาน โดยใช้หัวพิมพ์เอปสัน PrecisionCore TFP สามารถพิมพ์เสื้อยืด 1 ตัว ในเวลาเพียง 27 วินาที ทั้งยังพิมพ์งานติดต่อกันได้ตลอดเวลาโดยไม่ติดขัด และไม่ต้องบำรุงรักษามาก เนื่องจากเครื่องมีฟังก์ชันทำความสะอาดหัวพิมพ์ได้โดยอัตโนมัติ ป้องกันหัวพิมพ์ไม่ให้เกิดการอุดตัน สำหรับหมึกพิมพ์ที่ใช้คือ Epson UltraChrome DG เป็นหมึก water-based pigment ให้สีที่สวยงามสมจริงบนเนื้อผ้า นอกจากนี้ยังมี Garment Creator Software โปรแกรมช่วยการออกแบบ แก้ไข ปรับแต่ง และผลิตงานเองได้อย่างง่ายดาย
Company Related Link :


ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”