‘สิ่ง’ที่น่าสนใจในแบบบิ๊กดาต้า

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

‘สิ่ง’ที่น่าสนใจในแบบบิ๊กดาต้า

Post by brid.ladawan »

‘สิ่ง’ที่น่าสนใจในแบบบิ๊กดาต้า

เจ้า “สิ่ง” ละอันพันละน้อยที่ผมพูดถึงไป ครอบคลุมความหมายกว้าง เพราะ “สิ่ง” อาจหมายถึง ผลการค้นหาที่ตรงใจผู้ใช้แบบในกูเกิล หนังสือที่น่าสนใจสำหรับลูกค้าเมื่อระบบแอบเก็บข้อมูลการค้นหาทุกครั้งไว้

นัวันศุกร์ 27 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 04:00 น.
กวิทยาศาสตร์และวิศวกรทางด้านคอมพิวเตอร์สนใจและศึกษาการแนะนำ “สิ่ง” ที่น่าสนใจให้กับผู้ใช้มานาน ยิ่งในช่วงหลัง ๆ ยิ่งได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ

เจ้า “สิ่ง” ละอันพันละน้อยที่ผมพูดถึงไป ครอบคลุมความหมายกว้าง เพราะ “สิ่ง” อาจหมายถึง ผลการค้นหาที่ตรงใจผู้ใช้แบบในกูเกิล หนังสือที่น่าสนใจสำหรับลูกค้าเมื่อระบบแอบเก็บข้อมูลการค้นหาทุกครั้งไว้ แอพหรือเกมที่ใกล้เคียงกับเกมที่เราเคยดาวน์โหลดไปใช้

“สิ่ง”นี้เปลี่ยนไปตามกาลเวลา พร้อม ๆ กับการเติบโตขึ้นของข้อมูลเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงที่อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นใหม่ ๆ ในตอนที่อีเมลเกิดแล้ว แต่เวิลด์ไวด์เว็บยังไม่เกิด ก็มีการวิเคราะห์และจำแนกเนื้อหาในกลุ่มข่าว (news group) ว่าจะแบ่งออกเป็นกลุ่มโดยอัตโนมัติได้อย่างไร หรือข่าวไหนควรเป็นข่าวที่ผู้ใช้สนใจ ซึ่งก็มีวิธีการบางอย่างที่ให้ความถูกต้องในระดับ 80-90% มาตั้งแต่ราว 20 ปีที่แล้ว

เมื่ออินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้น การวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ ว่า น่าจะเป็นบางอย่างที่ผู้ใช้สนใจ “สิ่ง” เหล่านี้ก็เปลี่ยนไป ทั้งการแนะนำภาพยนตร์ แนะนำคลิปวิดีโอในยูทูบที่มีคนอัพโหลดคลิปความยาวรวมกันกว่า 300 ชั่วโมงในทุก ๆ นาที ซึ่งในอนาคตผมมั่นใจว่า การแนะนำคลิปในยูทูบ จะเริ่มมีการแนะนำเพียงบางส่วนของวิดีโอ ผู้ใช้ไม่ต้องดูคลิปที่ตัวเองสนใจตั้งแต่วินาทีแรก แต่ระบบอาจเสนอผู้ใช้ว่า เริ่มดูตั้งแต่วินาทีที่ 50 ถึงช่วง 1 นาที 30 วินาที ก็เป็นได้

และเมื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กเฟื่องฟูในปัจจุบัน “สิ่ง” ที่น่าสนใจนี้ก็มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งรูปที่ผู้ใช้คนหนึ่งควรสนใจ สเตตัสของเพื่อนที่น่าสนใจ สเตตัสหรือเรื่องราวใด ๆ ที่แม้ไม่ใช่ของเพื่อนเรา แต่น่าสนใจ แฟนเพจที่เราอาจจะสนใจ คลิปวิดีโอที่ยอดไลค์กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือทวีตอันไหนที่เราอาจจะสนใจ เป็นต้น ซึ่งในโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้มีความเท่ที่ไม่เหมือน “สิ่ง” ต่าง ๆ ที่ผ่านมา ก็ตรงที่มันมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งทำให้การวิเคราะห์ซับซ้อนมากขึ้น และความซับซ้อนนี่แหละครับที่เป็นเสน่ห์ของงานวิจัย และอาจทำให้ค้นพบ “สิ่ง” ที่ผู้ใช้สนใจได้ดีขึ้นก็เป็นได้

เห็นการเปลี่ยนแปลงของ “สิ่ง” ต่าง ๆ เหล่านี้กันหรือยังครับ และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่องราวของการวิเคราะห์โซเชียลเน็ตเวิร์ก ขณะนี้ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังเปิดรับสมัคร นิสิตบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโทและเอก โดยในช่วงปีนี้จะมีเนื้อหาหลายส่วนที่ตอบสนองต่อเทรนด์ บิ๊กดาต้า ด้วย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ grad@cp.eng.chula.ac.th หรือจะส่งเมลหาผมโดยตรงก็ได้ที่อีเมลด้านล่างครับ.

สุกรี สินธุภิญโญ

(sukree.s@chula.ac.th)

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มา เดลินิวส์เวลา 04:00 น.

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”