ภัยเงียบ 4 อย่างที่พ่อแม่ผู้หวังดีทำร้ายลูก/​ดร.สุพาพร เทพยส

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

ภัยเงียบ 4 อย่างที่พ่อแม่ผู้หวังดีทำร้ายลูก/​ดร.สุพาพร เทพยส

Post by brid.ladawan »

ภัยเงียบ 4 อย่างที่พ่อแม่ผู้หวังดีทำร้ายลูก/​ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

จะมีผลอะไรเกิดขึ้นหากคุณพ่อคุณแม่พยายามทุกวิธีทางที่จะทำให้ลูกประสบความสำเร็จ แต่กลับเป็นสิ่งที่ทำร้ายลูก จะมีอะไรเกิดขึ้นหากให้สิ่งที่ดีแก่ลูกมากจนเกินไป มีของเล่นที่มากเกินไป หรือมีตัวเลือกให้ลูกมากเกินไป สิ่งเหล่านั้นจะส่งผลให้ลูกในทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราคิดไว้หรือไม่ และจะมีโดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

2 มีนาคม 2558 05:31 น. (แก้ไขล่าสุด 2 มีนาคม 2558 09:14 น.)ผลกระทบอะไรตามมา

จากการศึกษาจากสถาบันครอบครัวและการมีคู่ครองของประเทศแคนาดา โดยคิม จอห์น เพนนี พบว่าการให้ลูกมากเกินไป มักจะเกิดขึ้นกับครอบครัวในปัจจุบัน ซึ่งมีผลกระทบกับเด็กเป็นอย่างมากเด็กจะเกิดปํญหาความวิตกกังวล สมาธิสั้น รวมไปถึงการถูกทำร้าย การที่ผู้ปกครองให้สิ่งต่างๆ ลูกมากเกินไป จะทำให้ลูกตกอยู่ในบ่วงของการถูกยัดเยียดให้รับมากเกินไป ซึ่งตรงข้ามกับสมัยก่อนที่ผู้ปกครองไม่ได้ให้อย่างเพียงพอ


ภัยเงียบ 4 อย่างที่พ่อแม่ผู้หวังดีทำร้ายลูก/​ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
แฟ้มภาพ
ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความคาดหวังที่จะให้ลูกได้รับการส่งเสริมศักยภาพอย่างเต็มที่ โดยจะซื้อของเล่นมากมาย หนังสือมากมาย มากกว่าตำราในห้องเรียน และมีการกระตุ้นพัฒนาการต่างๆเพราะกลัวว่าลูกจะพัฒนาล้าหลังกว่าเด็กอื่น แต่สิ่งเหล่านั้นกลับทำให้พัฒนาการของเด็กช้าลง สมาธิสั้น สกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กไม่สดใส และขาดความรู้สึกปลอดภัย

การให้ที่มากเกินไปกับเด็กที่เล็กเกินไป มีผลเสียมากกว่าผลดี สิ่งเหล่านี้คือ

1. มีของเล่นมากเกินไป

2. มีตัวเลือกมากเกินไป

3. มีข้อมูลมากเกินไป

4. พูดมากเกินไป

เราอาจจะมีความคิดที่ถูกฝังไว้ว่าหากเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพ ยิ่งมีมากยิ่งดี แต่ คิม จอห์น เพนนี ชี้ให้เห็นว่าปริมาณต้องมาพร้อมกับคุณภาพ และการให้ที่มากเกินไปไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป เปรียบเทียบได้กับการให้เด็กทานอาหารมากเกินไป แทนที่จะเป็นอาหารที่มีคุณค่า และให้พลังงานแก่เด็กในตลอดทั้งวัน จะส่งผลเสียต่อเด็กมากกว่าผลดี การให้ที่มากเกินไป ยัดแน่นในกิจกรรมต่างๆ จะส่งผลเสียกับเด็กเล็กๆ เพราะจะทำให้เด็กอยู่ในสภาพถูกกดดัน และจะมีพฤติกรรมแปรปรวน จากเด็กที่กระปรี้กระเปร่ากลายเป็นเด็กที่อยู่ไม่สุขเป็นเด็กขาดสมาธิ กลายเป็นเด็กดื้อ และเอาแต่ใจตัวเอง

สงครามที่น่ากลัวในเด็กเล็ก คิม จอห์น เพนนี ได้เดินทางไปไปช่วยเด็กในศูนย์อพยพ ในขณะที่ฝึกงานอยู่ในประเทศอังกฤษในเวลาเดียวกัน สิ่งที่เขาค้นพบค่อนข้างเป็นที่ตกใจคือเด็กที่อยู่ในฐานะที่ดีในสังคมของคนอังกฤษ มีบ้านที่ปลอดภัย มีอาหารกินครบทุกมื้อ กับเด็กที่อยู่ในศูนย์อพยพใกล้สงคราม พบว่ามีพฤติกรรมที่ไม่แตกต่างกัน

เด็กในสงครามต้องเผชิญกับความเครียดจากสงครามที่ควบคุมไม่ได้ แต่เด็กที่อยู่ในฐานะดีในครอบครัวที่อบอุ่นต้องเผชิญกับปัญหาความเครียดในสภาพที่แตกต่างกันไป ความกลัวของพ่อแม่ที่กลัวว่าลูกจะเรียนไม่ทันและมีพัฒนาการที่ล้าช้า กลับส่งผลทำให้เกิดการยัดเยียด และให้มากกว่าความต้องการ เด็กจะเกิดความเครียดและแสดงออกโดยการพยายามควบคุมสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาสามารถควบคุมได้ โดยการทำร้ายคนอื่นหรือยอมให้คนอื่นมาทำร้าย เพราะหาทางออกไม่ได้ ขาดความปลอดภัยในชีวิต เด็กต้องรับมากขึ้นและมากขึ้น และไม่สามารถหาทางออกในชีวิตได้

ข้อแนะนำที่ทำได้ คือ ควรให้เด็กได้มีธรรมชาติของเด็ก ได้เล่นได้เรียนอย่างสร้างสรรค์อย่างอิสระ อย่าจำกัดอยู่แค่การเรียนพิเศษทางด้านวิชาการ ให้อย่างพอเพียงไม่มากไปหรือน้อยไป เพื่อลูกจะมีความสุข และเป็นผู้สร้างโลกที่สร้างสรรค์ในอนาคตได้ เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.mercatornet.com/articles/vie ... e_children


ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 2 มีนาคม 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”