หมอจีนชี้ ′ปวดกระเพาะอาหาร′ มีเย็นมีร้อน

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

หมอจีนชี้ ′ปวดกระเพาะอาหาร′ มีเย็นมีร้อน

Post by brid.ladawan »

หมอจีนชี้ ′ปวดกระเพาะอาหาร′ มีเย็นมีร้อน

หมอจีนชี้ ปวดกระเพาะอาหารมีเย็นมีร้อน

คอลัมน์ เรียนรู้แพทย์แผนจีน กับ ม.หัวเฉียว
อาจารย์โสรัจ นิโรธสมาบัติ
แพทย์แผนจีน คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ


http://www.matichon.co.th/online/2015/0 ... 85463l.jpg

ช่วงนี้เจอผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดกระเพาะอาหารอยู่หลายท่านผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะบอกหมอว่า ตนเป็นกระเพาะเย็น ซึ่งก็มีทั้งถูกและผิด วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับอาการปวดกระเพาะอาหารที่แบ่งได้ทั้งเย็นและร้อนว่าเป็นเช่นไร

1.ปวดกระเพาะอาหารชนิดเย็น แบ่งได้ 2กลุ่ม

กลุ่มแรก มีอาการปวดกระเพาะเรื่อยๆตลอดเวลาหรือปวดมาก หรือปวดแน่นท้อง ปวดมากขึ้นเมื่อรับประทานของเย็น เช่นน้ำเย็น ผลไม้ และมักเรอเป็นน้ำลายใสๆ เป็นคนขี้หนาวง่าย ฝ้าลิ้นบางขาว มีน้ำลายมาก กลุ่มนี้มักพบกับผู้ที่อยู่ห้องแอร์ทั้งวัน หรือดื่มน้ำเย็นเป็นประจำ การดูแลตัวเองควรรับประทานขิง ข่า เครื่องเทศต่างๆ งดมะละกอสุก กล้วยหอม แตงทุกอย่าง น้ำเย็น และอาหารหวานจัด

กลุ่มที่2 มีอาการปวดกระเพาะไม่มากแต่ปวดเรื่อยๆ อาการปวดชัดเจนเมื่อหิว อาการปวดทุเลาลงหลังได้รับประทานอาหาร มักมีอาการอาหารไม่ย่อยเมื่อทานมากไป อุจจาระเหลว สีลิ้นซีด ฝ้าขาว และมีอาการเหนื่อยง่ายร่วมด้วย กลุ่มนี้มักพบกับผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง หรือทานข้าวไม่ตรงเวลาเป็นระยะเวลานาน หรือเป็นเรื้อรังมาจากกลุ่มแรก ระบบการทำงานของกระเพาะอ่อนแอ ชี่กระเพาะพร่อง การดูแลร่างกายให้เลือกทานอาหารเหมือนกลุ่มแรก และทานอาหารที่เพิ่มชี่กระเพาะ เช่น พุทราจีน ซานเย่า

2.ปวดกระเพาะอาหารชนิดร้อน แบ่งได้ 2กลุ่มเช่นกัน

กลุ่มแรก มีอาการปวดกระเพาะมาก หิวง่ายย่อยเร็ว กระหายน้ำ อยากดื่มน้ำเย็น อาจมีเรอเปรี้ยว ปากเหม็น ท้องผูก สีลิ้นแดง ฝ้าเหลือง ชีพจรเต้นเร็ว กลุ่มนี้มักพบในหนุ่มสาวที่ชอบทานอาหารปิ้งย่าง ทอด มื้อเย็นทานดึก นอนดึก การดูแลตัวเองทำได้โดยหลีกเลี่ยงอาหารปิ้ง ย่าง ทอด ลดปริมาณเนื้อสัตว์ รับประทานผัก ผลไม้มากขึ้น เช่น ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า แตง ฟัก มะเขือเทศ และควรขับถ่ายทุกวัน

กลุ่มที่2 มีอาการปวดกระเพาะไม่มากแบบแสบร้อนอยู่เรื่อยๆ หิวแต่ทานได้น้อย ท้องอืดง่าย คอแห้งปากแห้ง อุจจาระแห้งแข็ง ลิ้นแดงมีฝ้าน้อยและแห้ง เป็นลักษณะของอินพร่อง อาจเกิดจากสภาพร่างกายที่อินพร่องอยู่แล้ว หรือเป็นกลุ่มกระเพาะมีไฟที่เรื้อรังมานาน การดูแลตัวเองเลือกทานอาหารเหมือนกลุ่มแรก และทานอาหารที่เพิ่มอิน เช่น สาลี่ มังคุด

อาการปวดกระเพาะอาหารในทางการแพทย์แผนจีน แบ่งเป็น เย็น ร้อน แกร่ง พร่อง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการแบ่งกลุ่มก่อนใช้ยาสมุนไพรจีนรักษา หรือเลือกแนวทางในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม.


ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 02 มีนาคม 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”