พลิกโอกาส ‘Wood Pellet’ เส้นทางพลังงานทดแทนสู่ความร่ำรวย

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

พลิกโอกาส ‘Wood Pellet’ เส้นทางพลังงานทดแทนสู่ความร่ำรวย

Post by brid.ladawan »

พลิกโอกาส ‘Wood Pellet’ เส้นทางพลังงานทดแทนสู่ความร่ำรวย
Biomass Pellet ธุรกิจหมื่นล้านที่เมืองไทยเราได้เปรียบทั้งด้านภูมิศาสตร์ ความสามารถในการผลิตเครื่องจักร และเป็นศูนย์กลาง Logistics ในอาเซียน อีกทั้งยังล้อมรอบไปด้วยกลุ่ม กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม หรือ CLMV ซึ่งทั้ง 4 ประเทศเพื่อนบ้านล้วนมีความหลากหลายทางชีวภาพไม่แพ้คนไวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14.48 น. ทย โอกาสจึงเป็นของผู้ที่มีความพร้อมก่อน ธุรกิจเกษตร-พลังงานอย่าง Biomass Pellet จะเดินหน้าฝ่าวงล้อมทางความคิดของการเมือง สู่เป้าหมายปากท้องและบูรณะธุรกิจที่เสียหายจากผลทางการเมือง

เกษตรพลังงานพันธุ์แท้อย่างชีวมวลอัดแท่ง (Biomass Pellet) ปัจจัยสู่ความสำเร็จมี 3 ประการ คือ 1.ตลาด และราคา 2.ประสิทธิภาพเครื่องจักร และ 3.ชีวมวลที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ตลาดและราคานาทีนี้หมดปัญหา ผู้ซื้อมากรายในราคาตลาดโลก มารอรับซื้อถึงหน้าโรงงานอยู่ที่ตันละ 145-155 เหรียญสหรัฐ เครื่องจักรกลสำหรับนำมาผลิต ก็มีให้เลือกตั้งแต่ของไทยจนถึง นำเข้าจากประเทศจีน และเกรดพรีเมี่ยมจากฟากยุโรป สำหรับบทความฉบับนี้ ขอนำท่านไปคุยกับปรมาจารย์ด้านการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วมาตลอดชีวิตราชการ และเยี่ยมชมโรงงานผลิต Biomass Pellet คุณภาพไทยทำ ที่ผลิตเพื่อส่งออกมานานปีกันดีกว่า

เกษตรพลังงานอย่าง Biomass Pellet อาจเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะต้นๆ และจะชะลอตัวลงเนื่องจากหาวัตถุดิบยากขึ้น ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น หากภาครัฐไม่มีการส่งเสริมการปลูกอย่างเป็นระบบ กำหนด Rood Map การใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม ก็จะส่งผลกระทบกับพืชเศรษฐกิจทั้งระบบ ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกจำกัด และมีที่ของรัฐที่ถูกชาวบ้านบุกรุกใช้ประโยชน์มาก มาย ไทยเราควรเลือกปลูกพืชที่ตลาดต้องการ เราไม่จำเป็นต้องครองอันดับ 1 ในการ ส่งออกพืชใดๆ แต่ส่งออกพืชที่ตลาดต้องการ เท่านั้น จะได้ตัดปัญหาการประกันราคา หรือจำนำออกไปจากภาคเกษตรอย่างยั่งยืน สู่เกษตรอุตสาหกรรม และเกษตรพลังงาน

บรรดาพืชหลักที่รัฐเร่งส่งเสริม อันได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา มีพืชเพียงชนิดเดียวที่อยู่ใกล้ชิดคนไทยมากที่สุดแต่รับประทาน ไม่ได้ เป็นตั้งแต่สิ่งปลูกสร้าง เฟอร์นิเจอร์หรู ยางรถยนต์ ถุงมือยาง และถุงยางอนามัย นั่นก็คือ “ยางพารา” นอกจากนี้ ต้นยางพารายังต้องรับหน้าที่เป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลปลอดสารพิษและเป็น Wood Pellet ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความอบอุ่นในเมืองหนาว

รัฐบาล คสช. ได้มีความพยายามอย่างสูงในการแก้ไขปัญหา 4 พืชหลัก ชาวพลังงานทดแทนก็แอบเชียร์อยู่เงียบๆ อันเนื่องมาจากพืชหลัก 4 ชนิด มีเศษเหลือ ทิ้งเป็นวัตถุดิบมีค่า (Feed stock) สำหรับผลิตพลังงานทดแทน เป็นที่ทราบและยอมรับ กันแล้วว่าพลังงานทดแทนไทยกว่าร้อยละ 80 มาจากพืชพลังงาน “ยางพารา” พืชซึ่งไทยเป็นผู้นำตลาด ราคาในอดีตเริ่มจาก 20 บาทต่อกิโลกรัม ต่อมารัฐบาลสมัยนั้นมีการบริหารจัดการโดยใช้การตลาดนำ ประกอบกับความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้นทำให้ราคายางพาราก้าวกระโดดไปจนแตะที่ราคา 180 บาทต่อกิโลกรัม ล่อใจนักเก็งกำไรทั้งหลายพากันขยายฐานการเกษตรปลูกยางจนเกือบทั่วประเทศ มาวันนี้ราคายางพาราในตลาดโลกลดลง เทคโนโลยียางสังเคราะห์สูงขึ้น ความต้องการยางพาราธรรมชาติลดลงอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนให้ Wood Pellet น่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสม

ตอนนี้ภาคใต้มีการปลูกยางกว่า 11 ล้านไร่ และเป็นต้นยางที่เริ่มหมดอายุกว่าปีละ 5 แสนไร่ ปัจจุบันมีการตัดอยู่ประมาณ 3 แสนไร่เพื่อปลูกต้นใหม่ทดแทน การตัดต้นยางตามอายุมีข้อดี คือ ลดปริมาณน้ำยางส่วนเกินและช่วยรักษาเสถียรภาพราคายาง ทั้งนี้ กรณีที่ตัดต้นยาง 3 แสนไร่ต่อปี ชาวไร่มีรายได้ไร่ละ 30,000 บาท จะเป็นเงิน 9,000 ล้านบาทต่อปี ถ้าตัด 5 แสนไร่ต่อปีชาวไร่มีรายได้ 15,000 ล้านบาทต่อปี

เศษเหลือทิ้งจากไม้ยางพารา อาทิ ราคากิ่งไม้ทำฟืนราคา 700 บาท/ตัน ปีกไม้ราคา 500 บาท/ตัน ไม้แปรรูปราคา 2,300 บาท/ตัน ขี้เลื่อยราคา 700 บาท/ตัน และรากไม้ตันละ 400 บาท/ตัน ถ้าหาก ตัดต้นยางพารา 5 แสนไร่ต่อปี จะทำให้เกิดมูลค่าตามมามหาศาล

จากการประเมินมีผลผลิต 59 ตันต่อไร่ หากตัดต้นยางพารา 5 แสนไร่ต่อปี ผลผลิตรวมก็คือ 29.5 ล้านตันต่อปี คาดว่ามีการนำไม้ยางแปรรูปไปใช้ในงานก่อสร้างและผลิตเฟอร์นิเจอร์เพียง 50% ส่วนที่เหลือก็จะไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล และผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งส่งออก ซึ่งคาดว่าจะมีเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าอีกปีละกว่า 10 ล้านตันต่อปี สำหรับโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์ จะใช้เชื้อเพลิงชีวมวลประมาณหนึ่งหมื่นตันต่อปี ดังนั้นชีวมวลภาคใต้คงจะเหลือพอสำหรับโรงไฟฟ้ากว่า 1,000 เมกะวัตต์ สำหรับภาคอื่นๆ ต้นยางส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ครบอายุที่จะต้องตัดได้

“นายพิชัย ถิ่นสันติสุข” ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมมีความพยายามในการนำเศษเหลือทิ้งจากยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบมีค่าสำหรับผลิตพลังงานทดแทน โดยนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล และผลิต เชื้อเพลิงอัดแท่งส่งออก คาดว่าจะมีเชื้อเพลิง สำหรับโรงไฟฟ้าอีกปีละกว่า 10 ล้านตันต่อปี

ถึงเวลาแล้วที่จะสนับสนุนและ ส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวลอย่างจริงจัง เพิ่มความมั่นคงด้านไฟฟ้า และดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินของไม้ยางพาราที่มีการตัดอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี ที่สำคัญได้เวลาแล้วที่ภาคเกษตรต้องหันมามองเกษตรพลังงานเพื่อทำให้เกิดมูลค่า เพราะ ประเทศไท เวลา 14.48 น. ยเรามีทรัพยากรมากเพียงพออยู่แล้ว



ที่มา สยามธุรกิจ
วันที่ 6 มีนาคม 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”