โรคคีย์บอร์ดแผลงฤทธิ์

Post Reply
brid.kati
Posts: 145
Joined: 05 Apr 2013, 08:48

โรคคีย์บอร์ดแผลงฤทธิ์

Post by brid.kati »

ladawan
Hero Member

Posts: 824




โรคคีย์บอร์ดแผลงฤทธิ์
« on: June 13, 2012, 10:32:18 am »

การตรวจสอบอุปกรณ์ในออฟฟิศซึ่งเป็นที่น่าตกใจ เมื่อคีย์บอร์ดหนึ่งสกปรกเนื่องจากละลเยการทำความสะอาด ทำให้มีแบคทีเรียอันตรายในระดับเกินกว่ามาตรฐานจะยอมรับได้ถึง 150 เท่า

คนส่วนใหญ่คุ้นกับคำว่า “คอมพิวเตอร์ซินโดรม” หรืออาการผิดปกติต่างๆ ทางร่างกาย ซึ่งเกิดหลังการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ไม่ว่าจะเป็น เวียนศีรษะ ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดต้นคอ เจ็บแขน รวมทั้งอาการผิดปกติทางสายตา แต่คนส่วนใหญ่กลับคาดไม่ถึงว่า อาการท้องร่วงหรืออาหารเป็นพิษมีสาเหตุมาจากคอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง...เมื่อนักวิจัยชาวอังกฤษตรวจสอบอุปกรณ์ในออฟฟิศของตนเองในลอนดอน เขาได้พบผลลัพธ์ที่น่าตกใจ คีย์บอร์ดตัวหนึ่งสกปรกถึงขนาดที่นักจุดชีววิทยาต้องยกออกไปทำความสะอาดในบริเวณกักกันโดยพลัน เนื่องจากมีแบคทีเรียอันตรายในระดับเกินกว่ามาตรฐานจะยอมรับได้ถึง 150 เท่า มากกว่าโถซักโครกถึง 5 เท่า โดยจำนวนเชื้อโรคบนคีย์บอร์ดมีเฉลี่ย 3,295 และเม้าส์ 1,676 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางนิ้ว

ต้นเหตุสำคัญคือ ละเลยการทำความสะอาด ผลการศึกษาพบว่า 1 ใน 10 คนไม่เคยทำความสะอาด ผลการศึกษาพบว่า 1 ใน 10 คนไม่เคยทำความสะอาดคีย์บอร์ด และร้อยละ 20 ไม่เคยทำความสะอาดเม้าส์ ขณะที่ร้อยละ 50 ไม่เคยทำความสะอาดคีย์บอร์ดภายในเวลา 1 เดือน นักวิจัยระบุว่า แบคทีเรียบนฝ่ามือคนเรามีเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าคุณจะหยิบจับวัสดุสิ่งใดก็ติดมือมาอย่างง่ายและติดแน่นทนนาน แถมยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 24 ชั่วโมง

คณะวิจัยจากโรงพยาบาลนอร์ทเวสเทิร์นเมโมเรียลแห่งซิคาโก สหรัฐฯ คงสงสัยไม่แพ้กัน จึงทำการทดสอบกับแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ คือ เอนเทอโรคอกคัสฟีเซียม สแตพิโลคอกคัสออเรียส และซูโดโมแนสแอรูจิโนซา โดยใส่แบคทีเรียลงไปบนคีย์บอร์ด เพื่อดูว่าแบคทีเรียจะอาศัยอยู่ได้นานเพียงใด ผลปรากฏว่าเจ้าสองชนิดแรกมีชีวิตและเติบโตได้ต่อไปเป็นเวลานาน 24 ชั่วโมง ส่วนชนิดสุดท้ายอยู่ได้เพียง 1 ชั่วโมง และอยู่ต่อได้ไม่ถึง 5 นาทีก็จบข่าว

แม้จะเป็นแบคทีเรียที่พบได้แพร่หลายทั่วไปในธรรมชาติ แต่ก็เป็นตัวร้ายเพราะเป็นต้นเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ อันเป็นที่มาของโรค Qwerty Tummy หรือโรคท้องร่วง เพราะคีย์บอร์ด Qwerty มาจากตัวอักษรแถวบนสุดจากซ้าย ซึ่งเป็นมาตรฐานของคีย์บอร์ด คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน คริสโตเฟอร์ แลตแฮม โซลส์ เพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ดีดที่เขาสร้างจำหน่ายในเชิงพาณิชย์สำเร็จเป็นเครื่องแรกของโลกเมื่อปี 1827 ซึ่งโชลส์จัดลำดับนี้แทนการเรียงแบบ A-Z เพื่อวางตัวอักษรที่ใช้บ่อย ให้สอดคล้องกับการวางนิ้ว ทำให้พิมพ์คำได้เร็วขึ้นจนเป็นที่นิยมใช้กันมาถึงปัจจุบัน

ส่วน Tummy คือชื่อไม่เป็นทางการของท้องหรือเรียกเล่นๆ ว่า "พุง" นั่นเอง สรุปใจความได้ว่าเป็นอาการท้องร่วงอันเกิดจากความสกปรกของคีย์บอร์ด พิษสงของแบคทีเรียแต่ละชื่อเสียงเรียงนามมีอย่างไรบ้างนั้น...มาดูกัน

"เอนเทอโรคอกคัสฟีเซียม" เป็นสาเหตุของอาการติดเชื้อในช่องท้อง ผิวหนัง อวัยวะขับถ่าย และการติดเชื้อทางกระแสเลือด ขณะที่ "สแตพิโลคอกคัสออเรียส" เป็นสาเหตุของลมพิษ ผิวหนังพุพองและอาการติดเชื้ออื่น ๆ ส่วน "ซูโดโมแนสแอรูจิโนซ่า" ทำให้เกิดโรคปอดบวมการติดเชื้อที่อวัยวะขับถ่าย และการติดเชื้อทางกระแสเลือด

โรคท้องร่วงจากอาหารเป็นพิษมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียคืออยู่ระหว่าง 1 - 6 ชั่วโมง และระยะที่มีอาการจะประมาณ 10 ชั่วโมง โดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดบิดในท้องเป็นพักๆ และถ่ายเป็นน้ำ ส่วนมากจะไม่มีไข้ อาการมักจะหายได้เองภายใน 1 - 2 วัน


การดูแลรักษาไม่ต่างจากท้องเสียทั่วๆ ไป เช่น ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำของร่างกายงดอาการแข็งหรือรสจัด หรืออาหารที่มีกากใยมาก ๆ หลีกเลี่ยงนม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ที่สำคัญคือ ควรปล่อยให้เชื้อถูกขับออกมาจนหายไปเอง แทนการใช้ยาฆ่าเชื้อ ซึ่งจะกระตุ้นให้เชื้อโรคผลิตสารพิษออกมามากขึ้น ส่งผลให้อาการทรุดลง ควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่มสเตียรอยด์และยากลุ่มแอสไพริน เพราะยากลุ่มนี้ส่งผลต่อการทำงานของไต

อาการท้องร่วงส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง เพราะการขับถ่ายเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายที่จะขับของเสียออกมา วิธีที่ง่ายกว่านั้นคือ การดูแลคีย์บอร์ดและเม้าส์ให้สะอาดเป็นนิจ สุดท้ายคือ เลิกนิสัยหม่ำไปทำงานไป...เดี๋ยวคีย์บอร์ดแผลงฤทธิ์ไม่รู้ด้วย!

ขัดสีฉวีวรรณกันหน่อย
ถอดปลั๊กเป็นอันดับแรก จากนั้นกำจัดฝุ่นด้วยการคว่ำหน้าคีย์บอร์ดแล้วเคาะเบาๆ หรือเขย่าไปมาเล็กน้อย
ถ้าให้เครื่องเป่าลมหรือเครื่องดูดฝุ่นขนาดจิ๋ว สำหรับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ คุณจะดูดฝุ่นได้อย่างเอี่ยมอ่องเชียวล่ะ
ใช้พู่กันหรือแปรงปัดฝุ่นปัดเศษผงและคราบสกปรกตามซอกเล็กซอกน้อยของปุ่มต่างๆ
เพิ่มความมั่นใจในความสะอาดอีกชั้น ด้วยการถอดปุ่มออกมาเพื่อทำความสะอาด โดยใช้แปรงอ่อนปัดฝุ่นที่เกาะติดตามซอกต่างๆ หลังจากนั้นใส่ปุ่มกลับเข้าที่เดิม
ทำความสะอาดตบท้ายด้วยผ้าสะอาด เนื้อนุ่มชุบน้ำหรือน้ำยาทำความสะอาด
ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาที่มีสารแอมโมเนีย ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อจะเหมาะกว่า

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Men's Health
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”