ซีเอ็มเอ็มไอในมุมมองอาจารย์ ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์

Post Reply
brid.kita
Posts: 359
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

ซีเอ็มเอ็มไอในมุมมองอาจารย์ ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์

Post by brid.kita »

ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


ซีเอ็มเอ็มไอในมุมมองอาจารย์ ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์
« on: November 29, 2012, 03:38:24 pm »

ซีเอ็มเอ็มไอในมุมมองอาจารย์ ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์


จากการที่มีโอกาสได้พูดคุยกับ อาจารย์ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับโมเดลซีเอ็มเอ็มไอ มานานแล้ว ทำให้ทราบว่า เรื่องนี้น่าสนใจสำหรับผู้เกี่ยวข้องในบ้านเรามากทีเดียว ผมจึงแบ่งบทสัมภาษณ์ออกเป็นสองตอน ตอนแรกนี้จะเป็นเรื่องความเป็นมาของซีเอ็มเอ็มไอ และสาเหตุว่าทำไมจึงควรสนับสนุนซีเอ็มเอ็มไอในประเทศไทย

จากการที่อาจารย์เกี่ยวข้องกับโมเดลซีเอ็มเอ็มไอซึ่งทางซอฟต์แวร์พาร์กสนับสนุนอยู่ จึงขอเรียนถามว่าโมเดลนี้คืออะไรครับ

“โมเดลซีเอ็มเอ็มไอ (CMMI) ที่พัฒนาโดยสถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ในสหรัฐอเมริกา ย่อมาจากคำว่า Capability Maturity Model Integration แปลย่อ ๆ ก็คือ การบูรณาการแบบจำลองของกระบวนการที่มีความสามารถและวุฒิภาวะ คำแปลแบบนี้เข้าใจยากครับ คงจะดีกว่าถ้าบอกว่าโมเดลนี้มี 3 รูปแบบ ที่เกี่ยวข้องกับทางซอฟต์แวร์พาร์กก็คือ CMMI for Development เป็นส่วนที่ช่วยให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทำงานได้อย่างมีความสามารถและมีวุฒิภาวะในการทำงานสูงขึ้น โดยซอฟต์แวร์พาร์ก ในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้การสนับสนุนทุนแก่บริษัทซอฟต์แวร์ให้มาใช้โมเดลนี้ มีผู้เคยขอทุนและใช้โมเดลนี้กว่าหกสิบบริษัทแล้ว”

บริษัทของไทยมีความสามารถอยู่แล้ว และหน่วยงานแทบทุกแห่งก็อุดหนุนบริษัทซอฟต์แวร์ไทยมาก เหตุใดจึงต้องให้การสนับสนุนเพิ่มอีกครับ

“ใช่ครับ แต่ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ที่หน่วยงานขนาดใหญ่ใช้อยู่นั้นเป็นของต่างประเทศแทบ ทั้งนั้น บริษัทของไทยจำนวนมากก็มักเกี่ยวข้องกับการติดตั้งซอฟต์แวร์ของนอก ซอฟต์แวร์ที่คนไทยเขียนก็มีน้อย และซอฟต์แวร์ไทยที่ขายต่างประเทศกลับยิ่งมีจำนวนน้อยมาก”

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นครับ

“สาเหตุมีมากครับ โดยพื้นฐานแล้วเป็นเพราะหลักสูตรของไทยเราไม่มีวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่าง เป็นกระบวนการครบถ้วน เราสอนวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ แต่เน้นเนื้อหาเป็นส่วน ๆ ไม่ได้จับมารวมกันและสอนให้เข้าใจจนถึงขั้นรู้ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ครบ วงจร บัณฑิตไทยจำนวนหนึ่งอาจจะเขียนโปรแกรมเก่ง แต่ถ้าเอาโปรแกรมมาขยายเป็นซอฟต์แวร์ออกจำหน่ายมักไม่ประสบความสำเร็จผมชอบ เปรียบเทียบว่าเหมือนช่างตัดเสื้อมีฝีมือที่รับตัดทีละตัว และมีชื่อเสียงมาก แต่เมื่อช่างคนนี้ต้องการขยายกิจการเป็นอุตสาหกรรมตัดเสื้อผ้าแฟชั่นครั้งละ มาก ๆ ก็จะมีปัญหา เพราะการทำอุตสาห

กรรมตัดเย็บเสื้อผ้าคราวละมาก ๆ กับการรับจ้างตัดเสื้อคราวละตัวนั้นมีความแตกต่างกันมาก ตรงนี้คือส่วนที่โมเดลซีเอ็มเอ็มไอมาช่วยได้ ซึ่งโมเดลนี้จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องมีกระบวนการ อะไรบ้าง โดยกำหนดกระบวนการที่จำเป็นไว้ 22 กระบวนการ เป็นส่วนช่วยในการกำหนดและปรับปรุงกระบวนการ 4 กระบวนการ ที่เหลือเป็นส่วนที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ กระบวนการเหล่านี้ คือ ที่เราไม่ได้สอนกันในหลักสูตร ทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ของเราไม่มีคุณภาพที่ดีพอจะแข่งขันกับบริษัท ซอฟต์แวร์ต่างประเทศ”

ในมหาวิทยาลัยเราก็สอนหลายเรื่องนะครับ มีส่วนวัฏจักรการพัฒนาระบบว่ามีขั้นตอนอย่างไรด้วย

“ใช่ครับ แต่รู้แค่นั้นไม่พอครับ เราอาจจะมีคนเก่งด้านเขียนโปรแกรม และออกแบบด้านต่าง ๆ มาร่วมงานกับเรา แต่ถ้าเขาลาออกไปงานก็อาจมีปัญหาได้ เพราะคนที่เหลืออาจทำงานได้ไม่เก่งเท่า ตรงนี้คือส่วนที่ซีเอ็มเอ็มไอเข้ามาบอกให้เราทำงานแบบเป็นกระบวนการ”

อาจารย์มีตัวอย่างสักเล็กน้อยไหมครับ

“ในวัฏจักรระบบงานนั้นเราสอนว่าการพัฒนาระบบมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง แต่ไม่ได้กล่าวถึงการวางแผนงานทั้งโครงการว่าจะต้องทำอย่างไร ซีเอ็มเอ็มไอกำหนดว่าการทำซอฟต์แวร์ต้องมีกระบวนการวางแผนโครงการ และกำหนดไว้ด้วยว่าต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง โมเดลไม่ได้บอกว่าต้องทำอย่างไร แต่บอกว่าต้องย่อยงาน, ต้องประมาณการ, ต้องพิจารณาความเสี่ยง จะต้องได้อะไรเป็นผลงานบ้าง ถ้าใครไม่ทำกิจกรรมที่กำหนดไว้ก็อาจจะทำให้การวางแผนนั้นไม่รอบคอบพอ”

คนสร้างซีเอ็มเอ็มไอ รู้ได้อย่างไรว่า ต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง มีทฤษฎีรองรับหรือเปล่าครับ

“ไม่มีทฤษฎีรองรับครับ รายละเอียดกิจกรรมนั้นมาจากการศึกษาการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จของ บริษัทซอฟต์แวร์ทั่วโลก แล้วนักวิชาการก็กลั่นกรองออกมาเป็นโมเดล แล้วนำไปทดลอง แก้ไขจนแน่ใจว่าดีเยี่ยม หลังจากประกาศใช้โมเดลไปแล้ว เขาก็ยังรับฟังความเห็นแล้วนำไปปรับแต่งโมเดลมาเป็นระยะ ๆ จนขณะนี้ค่อนข้างอยู่ตัวแล้ว”

อาจารย์มีตัวอย่างกระบวนการอื่นอีกที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์แต่เราไม่ได้สอนกันอีกไหมครับ

“มีอีกหลายกระบวนการครับ แต่คงยกตัวอย่างได้ไม่หมด ถ้าสนใจจริงต้องไปเรียนที่ซอฟต์แวร์พาร์กครับ เขาจะเปิดสอนเป็นระยะ ๆ ตัวอย่างกระบวนการที่น่าสนใจก็คือ การกำกับดูแลและควบคุมโครงการ ซึ่งก็คือกระบวนการจัดการโครงการนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีกระบวนการจัดการข้อกำหนดความต้องการ เพื่อดูแลการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดความต้องการซึ่งเป็นตัวปัญหาที่ทำให้การ พัฒนาซอฟต์แวร์ไม่สำเร็จ มีกระบวนการวัดและวิเคราะห์ซึ่งใช้สำหรับกำหนดตัวชี้วัดของกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ และมีกระบวนการจัดการซัพพลายเออร์ซึ่งใช้ในกรณีที่เราต้องว่าจ้างบริษัทหรือ หน่วยงานภายนอกมารับทำงานบางอย่างในโครงการให้เรา”

เรื่องโมเดลซีเอ็มเอ็มไอนี้น่าสนใจมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทผู้ผลิต ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ผมจะเล่าบทสัมภาษณ์ให้ท่านผู้อ่านได้ฟังต่อในสัปดาห์หน้าครับ.



ขอบคุณ แหล่งที่มาหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์
post : วันเสาร์ ที่ 6 ตุลาคม 2555 เวลา 9:52:12 น. by www.CreditOnHand.com
tag : ข่าวไอทีอัพเดท ซีเอ็มเอ็มไอในมุมมองอาจารย์ ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”