เงินบาท กับเศรษฐกิจ ไม่ใช่ อ่อนไหม แต่อ่อน เท่าไหร่

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

เงินบาท กับเศรษฐกิจ ไม่ใช่ อ่อนไหม แต่อ่อน เท่าไหร่

Post by brid.ladawan »

เงินบาท กับเศรษฐกิจ ไม่ใช่ อ่อนไหม แต่อ่อน เท่าไหร่


หากมองการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทที่อ่านตัวลงอย่างชัดเจนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เทียบกับสถิติทางเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ

จะพบเบื้องหลังความนัยที่น่าสนใจยิ่ง

ลองไล่เรียง



6 พฤษภาคม

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในขณะนี้ยังคงอ่อนค่าน้อยกว่าประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง แต่อยากให้เงินบาทอ่อนค่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ

"ที่คุยกันเบื้องต้นบาทควรอ่อน 3-5% เมื่อเทียบกับสกุลเงินภูมิภาค เพื่อให้มีโอกาสแข่งขันมากขึ้น ส่งออกยังเหนื่อยอยู่ แม้ว่าบาทจะอ่อนลงบ้างแล้ว"

แต่คาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะต้องลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก หากภาวะ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2558 ยังไม่ฟื้นตัว แต่คิดว่าเศรษฐกิจน่าจะผ่านภาวะต่ำสุดแล้ว

ในช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ เงินบาทอ่อนค่าไปมากสุดที่ 33.32 บาทต่อดอลลาร์

ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 5 ปี



ก่อนหน้านี้ 30 เมษายน

นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ธปท.ได้ประกาศแนวทางผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศเพิ่มเติม เชื่อว่าจะมีผลทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง

อาทิ สนับสนุนให้นักลงทุนในประเทศที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ถือครองทรัพย์สินที่เป็นตราต่างประเทศได้คล่องตัวและมากขึ้น จากเดิมปีละไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐเป็น 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขยายวงเงินให้กู้ยืมเงินของผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศไทย (นอนเรสซิเด้นท์) โดยไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศไทยรองรับจากเดิมไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อกลุ่ม เป็นไม่เกิน 600 ล้านบาท

รวมทั้งยังอนุมัติให้สถาบันการเงินปล่อยกู้เงินบาทโดยตรงให้แก่นอนเรสซิเด้นท์เพื่อประโยชน์ทางการค้า การลงทุนในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ยกเว้นเพื่ออสังหาริมทรัพย์

นอกจากนี้ ยังให้ผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้านกู้ยืมเงินบาทโดยตรง



ทำไมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่

ย่อมน่าจะเกี่ยวเนื่องกับการแถลงข่าว 28 เมษายน

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขส่งออกเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีมูลค่าการค้า 18,886 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบร้อยละ 4.45

ส่งผลให้ไตรมาสแรก เดือนมกราคม-มีนาคม มีมูลค่าการส่งออก 53,365 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบร้อยละ 4.69 ขณะที่การนำเข้าในเดือนมีนาคม มีมูลค่า 17,391 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.89 ด้านดุลการค้ายังคงเกินดุลอยู่ที่ 1,495 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกลดลงจากหมวดสินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรม ที่ยังประสบปัญหา

อาทิ ยางพารา น้ำมันสำเร็จรูป ข้าว กุ้งแช่แข็ง เม็ดพลาสติก

รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนของไทยแข็งค่ากว่าประเทศคู่ค้า และประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน

กระทรวงพาณิชย์จึงทบทวนตัวเลขการส่งออกปีนี้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้ร้อยละ 1.2 คิดเป็นมูลค่า 230,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้สมมติฐานน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาสินค้าเกษตรใกล้เคียงกับปีที่ที่ผ่านมา

และค่าเงินบาท 32.6-33.4 บาทต่อเหรียญสหรัฐ



ทำไมบาทต้องอ่อน

ก็ต้องย้อนถามว่าแล้วทำไมเงินบาทถึงจะต้องแข็งค่ากับดอลลาร์สหรัฐ ที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวและเป็นหัวรถจักรของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

แม้แต่ญี่ปุ่น ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจลำดับ 3 ของโลก ค่าเงินเยนยังอ่อนตัวลงจากระดับ 76 เยน/ดอลลาร์สหรัฐในปี 2555 มาเป็น 120 เยน/ดอลลาร์สหรัฐในปี 2558

เยนอ่อนและสกุลอื่นๆ อ่อน แต่บาทแข็ง

ไม่ใช่แต่จะส่งออกไม่ได้ แต่ยังทำให้การลงทุนจากต่างประเทศลดลง

คำถามจึงไม่ใช่อยู่ที่ค่าเงินบาทควรอ่อนตัวหรือไม่

แต่อยู่ที่ควรจะอ่อนตัวลงไปถึงระดับเท่าไหร่


ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 07 พฤษภาคม 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”