เปิดตัวสายรัดข้อมือที่สแกนได้ลึกถึง “เส้นเลือด”

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

เปิดตัวสายรัดข้อมือที่สแกนได้ลึกถึง “เส้นเลือด”

Post by brid.ladawan »

เปิดตัวสายรัดข้อมือที่สแกนได้ลึกถึง “เส้นเลือด”

เปิดตัวสายรัดข้อมือที่สแกนได้ลึกถึง “เส้นเลือด”
เป็นผลงานการพัฒนาของ Echo Labs สตาร์ทอัปขนาดจิ๋ว แต่ความสามารถไม่จิ๋ว เมื่อพวกเขาสามารถพัฒนาสายรัดข้อมือที่สามารถสแกนลงไปได้ถึงใต้ผิวหนัง และสามารถวัดระดับค่าออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ค่า PH รวมถึงความดันโลหิตขึ้นมาโชว์ได้เป็นผลสำเร็จ

ชื่อของ Echo Labs ดังขึ้นมาอีกครั้ง กับการพัฒนาสายรัดข้อมือสุดไฮเทค แม้จะยังอยู่ในภาคของอุปกรณ์โปรโตไทป์ที่มีขนาดใหญ่เทอะทะ และเต็มไปด้วยเซ็นเซอร์มากมายก็ตาม ซึ่งทีมงานเผยว่า ใช้เวลาในการพัฒนานาน 2 ปีเลยทีเดียว

การพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวส่งผลให้วงการ Wearable Tech ร้อนแรงขึ้นมาอีกครั้ง เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า การเจาะลึกลงไปถึงใต้ผิวหนัง และดึงข้อมูลเหล่านั้นขึ้นมาแสดงโดยที่ผู้สวมไม่เจ็บตัวเป็นสิ่งที่บริษัทเทคโนโลยีหลายค่าย เช่น Fitbit, Jawbone หรือกระทั่งแอปเปิล (Apple) พยายามทำอยู่ในขณะนี้ แต่ Echo Labs สามารถทำได้สำเร็จก่อนคนอื่นนั่นเอง

ผู้ก่อตั้งอย่าง Pierre-Jean cobut วัย 32 ปี และ Elad Ferber วัย 29 ปี เผยว่า ได้แนวคิดในการพัฒนามาจากความต้องการของบริษัทยา บริษัทด้านไบโอเทค และบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องการอุปกรณ์ที่สามารถมอนิเตอร์ผลเลือดได้อย่างต่อเนื่อง

เปิดตัวสายรัดข้อมือที่สแกนได้ลึกถึง “เส้นเลือด”
โฉมหน้าผู้ก่อตั้ง Pierre-Jean cobut และ Elad Ferber
โดยสายรัดข้อมือดังกล่าวสามารถวัดค่าส่วนประกอบต่างๆ ในเลือดได้จาก “แสง” และ “อัลกอริธึม” ของ Echo Labs ซึ่งการทำงานของมันคือ การส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปผ่านเนื้อเยื่อของร่างกายมนุษย์ จากนั้นจะแปลงค่าของคลื่นที่ส่งกลับมาเป็นค่าความหนาแน่นของโมเลกุลในเลือด

“โมเลกุลทุกตัวจะมี Light Signature ของตัวเอง หากเราทราบว่าความถี่ของมันคืออะไร เราก็สามารถตรวจจับโมเลกุลนั้นได้” Ferber กล่าว

อย่างไรก็ดี ในการทำงานของระบบดังกล่าวยังมีความท้าทายจุดหนึ่งนั่นก็คือ การเกิด Noise หรือสัญญาณรบกวนจากแสงภายนอก เช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย ขน หรือสีของผิวหนังที่จะส่งผลกระทบต่อข้อมูลที่ส่งกลับออกมา ซึ่งในประเด็นของสัญญาณรบกวนนี้ แม้กระทั่งแอปเปิลที่เคยว่าจ้างนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรจำนวนมากจาก C8 Medisensors ซึ่งทำการพัฒนาอุปกรณ์วัดระดับกลูโคสโดยไม่ต้องเจาะเลือดในชื่อ HG1-C เมื่อปี ค.ศ.2013 เพื่อผนวกเทคโนโลยีดังกล่าวลงในแอปเปิลวอตช์ก็ยังไม่สามารถทำได้สำเร็จ และทำให้แอปเปิลวอตช์ไม่สามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ในที่สุด

สองผู้ก่อตั้งอย่าง Cobut และ Ferber พบกันที่ Stanford Business School และพวกเขาเชื่อว่า อุปกรณ์ดิจิตอลสำหรับสวมเหล่านี้สามารถทำได้มากกว่าการเป็นแค่เครื่องนับการก้าวเดิน หากแต่สามารถดึงข้อมูลจากภายในขึ้นมาแสดงได้ และนั่นถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายพวกเขาตลอดมา


ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 28 พฤษภาคม 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”