Page 1 of 1

เทคปีลิง (5) มุมมองใหม่ไอที | เดลินิวส์ „เทคปีลิง (5) มุมมอง

Posted: 31 Mar 2016, 14:34
by brid.ladawan
เทคปีลิง (5) มุมมองใหม่ไอที | เดลินิวส์
„คำทำนายทายทักของบริษัทการ์ดเนอร์ (Gartner) ที่ปรึกษาระดับโลก หน่อสุดท้ายของสามสหายไฮเทคของเทคปีลิง คือมุมมองใหม่ไอที (New IT Reality)“

เทคปีลิง (5) มุมมองใหม่ไอที | เดลินิวส์
„ย่อยมาถึงตอนสุดท้ายแล้ว สำหรับคำทำนายทายทักของบริษัทการ์ดเนอร์ (Gartner) ที่ปรึกษาระดับโลก หน่อสุดท้ายของสามสหายไฮเทคของเทคปีลิง คือมุมมองใหม่ไอที (New IT Reality) ดังรูป ซึ่งมีสี่ด้านคือ ป้องภัยใส่ใจ (Adaptive Security Architecture) ระบบขั้นเทพ (Advanced Systems Architecture) แหแห่งบริการ (Mesh App & Service Architecture) และเน็ตสิ่งของ (IoT Architecture & Platforms) ป้องภัยใส่ใจ การป้องภัยให้กับระบบไอทีนั้นต้องใส่ใจอย่างมาก ไม่ใช่ลงโปรแกรมตรวจจับไวรัสแล้วก็เป็นอันเสร็จ ในระบบใหญ่ ๆ นั้นตอนนี้ต้องหันพึ่งวิธีป้องกันที่ปรับตัวได้ตามสภาพ โดยเริ่มจาก เดาใจผู้ร้าย สกัดปิดป้อง ตรวจจับการบุกรุก ตอบโต้ทันควัน ในการนี้ต้องอา ศัยระบบอัตโน มัติคอยตรวจสอบพฤติกรรมของผู้คนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่าทำอะไรผิดวิสัยหรือไม่ เช่น ผู้จัดการต่อเน็ตเข้ามาตอนตีสามจากรัสเซีย แบบนี้ใช้คนทำไม่ทันกินครับ ต้องระบบอัตโนมัติเป็นหมาเฝ้าบ้านลูกเดียว นอกจากนั้นต้องรู้จักเขียนแอพที่ป้องกันตัวเองได้ในระดับหนึ่งด้วย เช่น ตรวจสอบว่าไม่น่าจะมีการใช้งานหลังเที่ยงคืน หากมีใครมาใช้ก็ให้เตือนไปที่ผู้ดูแลระบบ เพราะใครจะมารู้ใจดีกว่าคนเขียนแอพจริงไหมครับ ระบบขั้นเทพ คอมพิวเตอร์ปัจจุบันยังคงใช้โครงสร้าง (หรือที่เรียกว่าสถาปัตยกรรม) แบบโบราณดั้งเดิมที่ คุณจอห์น วอน นอยแมน (John von Neumann) เขาออกแบบไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2488 คือ ตั้งแต่เรา ๆ ท่าน ๆ ยังไม่เกิดกันเลย มีปรับปรุงเพิ่มเสริมบ้าง เช่นเป็นควอดคอร์ คือ มีหลายหัว ตอนนี้ก็ถึงยุคที่ต้องออกแบบขั้นพื้นฐานกันใหม่ เช่น เป็นระบบที่เลียนแบบเซลล์ประสาทของคน หรือใช้ระบบ ควอนตัมแบบหลุดโลกไปเลย แหแห่งบริการ พัฒนาการด้านไอทีทำให้ระบบอุปกรณ์สิ่ง ของรอบตัวเริ่มฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้เลยมีแนวคิดว่าการให้บริการในเน็ตจะทำโดยบรรดาสิ่งของกระจุกกระจิกเหล่านี้มาช่วย ๆ กันประกอบร่างเป็นบริการใหญ่โต โดยไม่ต้องง้อระบบใหญ่ ๆ ราคาแพง ๆ แบบเดียวกับตัวต่อเลโก้ที่เอาชิ้นส่วนเล็ก ๆ แต่ต่อกันได้ มาต่อเป็นปราสาทราชวัง ยานอวกาศ นครใหญ่โตได้ องค์ประกอบหนึ่งของระบบคือการที่แอพสามารถจะย้ายถิ่นฐานจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งได้โดยสะดวก ซึ่งมีแนวทางแบบเดียวกับระบบตู้ส่งสินค้าคอน เทเนอร์ คือ เอาสินค้า (โปรแกรม) ใส่ในตู้ แล้วจะขนไปทางไหนอย่างไรก็ทำได้สะดวก ไม่ว่าจะทางเรือ ทางเครื่องบิน หรือรถบรรทุกรถไฟ เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมดทั้งโลก ตัวจักรสำคัญของแหแห่งบริการตัวหนึ่งคือ ที่เรียกว่าการให้บริการแบบคลาวด์ หรือหมู่เมฆ (cloud service) ซึ่งหลายตัวก็เป็นที่รู้จักกันดี เช่น Hotmail Line Facebook Dropbox เหล่านี้เป็นบริการแบบเมฆทั้งสิ้น คืออาศัยเน็ตไปใช้บริการที่ฝังตัวอยู่ในเน็ตนั่นเอง โปรแกรมบนเครื่องของเราเป็นเพียงตัวแทนหรือนายหน้าเล็ก ๆ แต่ข้อมูลต่าง ๆ นั้นไปอยู่ที่คลาวด์ทั้งสิ้น เน็ตสิ่งของ เมื่อเอาสิ่งของอุปกรณ์ต่าง ๆ มาต่อเชื่อมกันมากเข้า ก็จะพบปัญหาสำคัญคือคุยกันไม่ค่อยได้ ตัวอย่างที่ชัดมากคือการปีนเกลียวระหว่างค่ายหน้าต่าง (Microsoft) ค่ายผลไม้ (Apple) และค่ายอากู๋ (Google) จะคุยกันก็ต้องผ่านแอพที่เป็นกลาง ๆ อย่างไลน์ ที่พยายามเจรจาประสานสิบทิศกับค่ายต่าง ๆ ดังนั้นหลักสำคัญที่นักไอทีต้องตระหนักไว้ให้ดีคือที่เรียกว่า architectural debt หรือหนี้สินทางสถาปัตยกรรม หมายความว่า หากพัฒนาหรือจัดซื้อระบบที่มีแนวทางประหลาดไม่มาตรฐานเข้ากับชาวบ้านเขาไม่ค่อยจะได้ ยิ่งอนาคตนานไปก็จะติดแหง่กอยู่กับเจ้าประจำนั้น จะปรับเปลี่ยนเป็นยี่ห้ออื่น แบบอื่น หรือสถาปัตยกรรมอื่น ก็ต้องลงทุนกันมโหฬาร หลาย ๆ เจ้าถึงกับร่อแร่และล้มละลายไปเลยทีเดียว เพราะตามเทคโนโลยีไม่ทัน ส่วนมากที่พบเห็นกันคือ บริษัทต่าง ๆ จะพัฒนาให้สินค้าของตนมีลูกเล่นเด่นเหนือคู่แข่ง แบบนี้เรียกว่าสินค้าเฉพาะเจ้าหรือ proprietary product ซึ่งทำให้ผูกโยงกับเจ้าอื่นได้ไม่ดี เมื่อเน็ตสิ่งของนี้กระจายแพร่หลายออกไปมาก ๆ เข้า ความโดดเด่นของลูกเล่นเหล่านั้นจะย้อนกลับมากัดผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริษัทผู้ผลิตเกิดหงายท้องไป ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนความ ห้าตอนแห่งเทคโนโลยีปีวานรครับ หากสนใจก็ลองถามนักไอทีใกล้ตัว หากเขาตอบไม่ได้ก็ไล่ให้ไปทำการบ้าน จะได้ตามเทคได้ทันนะครับ “

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/387541





ที่มา : http://www.dailynews.co.th/it/387541
31/03/2559