ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์อ้าแขนรับมาตรฐาน ISO ล่าสุด

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์อ้าแขนรับมาตรฐาน ISO ล่าสุด

Post by brid.ladawan »

ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์อ้าแขนรับมาตรฐาน ISO ล่าสุดด้านการออกแบบหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์


Image

องค์กร ISO ได้ประกาศแนวทางล่าสุดด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีการติดตั้งระบบหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานคู่กับมนุษย์ได้ ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการร่างข้อมูลจำเพาะของมาตรฐาน ISO/TS 15066 และต้องการเห็นมาตรฐานฉบับนี้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการทำงานในอนาคตในแวดวงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

วันนี้องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO ได้ประกาศให้มาตรฐาน ISO/TS 15066 ที่รอคอยกันมาแสนนานให้เป็นเอกสารประกอบในการรองรับมาตรฐาน ISO 10218 ‘Safety Requirements for Industrial Robots’ ซึ่งมาตรฐาน ISO/TS 15066 นี้เป็นเอกสารที่มีรายละเอียดครบถ้วนสำหรับเป็นแนวทางให้แก่ผู้รวบรวมโรโบติกเซลล์ (robotic cells) ต่างๆ ให้สามารถดำเนินการประเมินความเสี่ยง (risk assessments) เมื่อต้องติดตั้งหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ (collaborative robots) ได้

นายลาสซี คีย์เฟอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่าย Global Compliance บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในคณะกรรมการมาตรฐาน ISO ผู้พัฒนามาตรฐาน ISO/TS 15066 กล่าวว่า:

“เมื่อปี 2011 ที่ได้มีประกาศมาตรฐาน ISO 10218 ฉบับปรับปรุงออกมานั้น ยังมุ่งเน้นที่หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม ส่วนหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ (collaborative robots) ได้นั้นยังเป็นเพียงเทคโนโลยีใหม่ และยังไม่ได้รับความสนใจในรายละเอียดเท่าใดนัก เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อแวดวงอุตสาหกรรมสำหรับการออกประกาศมาตรฐาน ISO/TS 15066 นี้ ด้วยมีการประกาศเพิ่มเติมในส่วนรายละเอียดจำเพาะต่างๆ ซึ่งเป็นการนำทิศทางการติดตั้งหุ่นยนต์ประเภทนี้ (cobots) ในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยร่วมกับมนุษย์ได้ดี”

มาตรฐาน ISO/TS 15066 อธิบายแนวคิดการปฏิบัติงานร่วมกันในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งรายละเอียดข้อกำหนดเพื่อให้บรรลุความสำเร็จ ซึ่งนอกจากจะมีข้อกำหนดด้านการออกแบบและการประเมินความเสี่ยงแล้ว ยังได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเจ็บปวดทางร่างกาย เปรียบเทียบกับความเร็วของหุ่นยนต์ แรงกดและแรงกระแทกสำหรับอวัยวะบางส่วนในร่างกาย อีกด้วย

“ในฐานะที่เป็นผู้นำด้านการผลิตหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ หุ่นยนต์ของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์มีฟังก์ชั่นการทำงานที่โดดเด่นด้านความปลอดภัยและยังปรับได้เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางเหล่านี้ มาตรฐาน ISO/TS 15066 เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงฉันทามติ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติในการตัดสินใจร่วมกันในหมู่ประเทศสมาชิกเรื่องเทคโนโลยีอุบัติใหม่ เราสนองตอบความจำเป็นของการปฏิบัติงานที่ต้องเน้นย้ำด้านความปลอดภัยของหุ่นยนต์ เรามีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าหลายชิ้นเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์-หุ่นยนต์ รวมไปถึงวิธีการที่จะกำหนดแนวทางที่เหมาะสมเพื่อการปฏิบัติงานที่ด้วยอนาคตที่สดใสของหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ได้ เราสนใจที่จะติดตามดูวิวัฒนาการและทำงานคู่ไปพร้อมกันเลยทีเดียว” เอสเบน ออสเตอการ์ด หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ กล่าว

ระบบความปลอดภัยของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วนั้นมีฟังก์ชั่นเด่นด้านความปลอดภัยที่สามารถปรับได้อยู่ถึงแปดรายการด้วยกัน ดังนี้; ตำแหน่งเชื่อมและความเร็ว (Joint positions and speeds) ตำแหน่ง TCP การวางแนวเครื่องมือ ความเร็วและกำลัง รวมทั้งแรงผลักและสมรรถนะของหุ่นยนต์

เกี่ยวกับมาตรฐาน ISO/TS 15066

สามารถอ่านรายละเอียดจำเพาะด้านเทคนิค (Technical Specification) ได้ตั้งแต่วันนี้ที่เว็บไซต์ http://www.iso.org/iso/home/store.htm คณะกรรมการ ISO ได้ร่างมาตรฐานฉบับนี้พร้อมด้วยสมาชิกจาก 24 ประเทศที่เข้าร่วม พร้อมด้วยตัวแทนจากผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ระดับชั้นนำของวงการ งานเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO/TS 15066 เริ่มต้นย้อนไปในปี 2010 และผลการทำงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผนแพร่นั้นถือเป็นฉันทามติจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความสำเร็จทั้งหมด มาตรฐาน ISO/TS 15066 เป็นรายละเอียดจำเพาะเชิงเทคนิคอลที่ให้ข้อมูลเสริมประกอบและรองรับมาตรฐานความปลอดภัยหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ISO 10218-1 และ ISO 10218-2 ที่ได้ประกาศไปเมื่อปี 2011

เกี่ยวกับยูนิเวอร์แซล โรบอทส์

ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นผู้บุกเบิกด้านหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ (collaborative robotics) รายแรก รวมทั้งเป็นผู้นำตลาดและผู้ผลักดันหลักของเทคโนโลยีด้านนี้เป็นรายแรก ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัทประกอบด้วย หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ UR3 UR5 และ UR10 หุ่นยนต์แขนกลเหล่านี้ตั้งชื่อรุ่นตามน้ำหนักที่รับในหน่วยกิโลกรัม ตั้งแต่ UR ตัวแรกก้าวเข้าสู่ตลาดเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2551 บริษัทก็ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถทำตลาดได้ในประเทศต่างๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกที่ให้ความสนใจในการนำหุ่นยนต์มาใช้งาน ระยะเวลาในการคืนทุนโดยเฉลี่ยสำหรับหุ่นยนต์ UR นี้เพียง 195 วันเท่านั้นถือเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในอุตสาหกรรม บริษัทยูนิเวอร์แซล โรบอทส์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก พร้อมด้วยงานพัฒนาวิจัยและผลิต บริษัทมีสาขาและสำนักงานภูมิภาคในประเทศสหรัฐอเมริกา สเปน เยอรมนี สิงคโปร์ และจีน มีพนักงานมากกว่า 200 คนทั่วโลก สนใจเยี่ยมชมเว็บไซต์ ได้ที่ www.universal-robots.com




ที่มา : http://www.itnews24hrs.com/2016/02/welc ... ot-design/
31/03/2559
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”