“ทีดีอาร์ไอ” ยันการฟ้อง “ดีแทค” เป็นต่างด้าวไม่ใช่เหตุล้ม 3จ

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

“ทีดีอาร์ไอ” ยันการฟ้อง “ดีแทค” เป็นต่างด้าวไม่ใช่เหตุล้ม 3จ

Post by brid.ladawan »

ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


“ทีดีอาร์ไอ” ยันการฟ้อง “ดีแทค” เป็นต่างด้าวไม่ใช่เหตุล้ม 3จี
« on: November 29, 2012, 01:40:30 pm »

“ทีดีอาร์ไอ” ยันการฟ้อง “ดีแทค” เป็นต่างด้าวไม่ใช่เหตุล้ม 3จี


นักวิชาการชี้ “ดีแทค” ไม่ขาดคุณสมบัติประมูล 3จี "ทีดีอาร์ไอ" ระบุข้ออ้างนี้คงล้มประมูล 3จีไม่ได้ ส่วน 15 ต.ค.55 ลุ้นเครือข่ายภาคประชาชนฟ้องระงับประมูล 3จี

นายประหยัด เสนวิรัช นายกสมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค เดินทางมายื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อขอให้มีคำสั่งให้คณะกรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ 1.ขอให้เพิกถอนประกาศกสทช.เรื่องรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้ คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ที่แถลงเมื่อวันที่ 9 ต.ค.55 และ 2. ขอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนฉุกเฉินและกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราว โดยมีคำสั่งห้ามเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี ในวันที่ 16 ต.ค.55 เนื่องจากเห็นว่า บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่พบว่ามีนายจอน ทราวิส เอ็ดดี้ หรือ จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ มีอำนาจเป็นกรรมการลงนามผูกพันบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม และยังกำหนดทิศทางการบริหาร ซึ่งส่งผลต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ของชาติตกไปอยู่ในการควบคุมหรืออิทธิพล ของคนต่างด้าว

นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายมหาชน เปิดเผยว่า การคัดค้านบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ว่าขาดคุณสมบัติในการเข้ายื่นประมูล 3จี เป็นประเด็นที่มีการพูดกันมากว่าสองเดือนแล้ว แต่ก็ไม่มีใครสนใจให้มีการตรวจสอบ

“ปัญหาอยู่ที่ข้อความที่กำกวมของกฎหมายกสทช. เรื่องความเป็นคนต่างด้าว คิดว่าจะต้องถูกแก้ไข เพราะถ้าไม่แก้ ด้วยคำพูดที่กว้างมากก็จะมีคนมาอ้างว่าคนโน้น คนนี้เป็นคนต่างด้าว ความเป็นจริงสถานะการถือหุ้นของดีแทคก็เป็นที่เปิดเผย ถ้ามีความเป็นห่วงเรื่องนี้จริงๆ ก็สามารถเรียกร้องให้ กสทช.ตรวจสอบหรืออธิบาย ชี้แจงได้ตั้งแต่ก่อนวันที่มีการตรวจสอบคุณสมบัติ ไม่ใช่มาร้องตอนที่กำลังจะประมูล มาร้องตอนนี้จะดูเหมือนมีเจตนาอื่นแอบแฝง”นายวีรพัฒน์ กล่าว

นายวีรพัฒน์ กล่าวต่อว่า ประกาศ กสทช. เรื่อง การกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. 2555 ไม่ได้ดูเรื่องกรรมการเป็นคนต่างชาติ แต่ดูเงื่อนไขสำคัญ 3 ข้อด้วยกัน คือ 1.คนต่างด้าวถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวน สิทธิออกเสียงทั้งหมด 2.คนต่างด้าวมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 3.คนต่างด้าวมีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการ ทั้งหมด

“ถึงแม้จะอ้างว่าเข้าลักษณะข้อห้าม กฎหมายนี้ก็ออกแบบให้ กสทช.แจ้งไปยังบริษัท ให้ไปทำการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด แต่ไม่ได้ให้อำนาจไปฟ้องศาลเพื่อล้มการประมูล”นายวีรพัฒน์ กล่าว

นายวีรพัฒน์ กล่าวอีกว่า คลื่นความถี่เป็นของประชาชน เป็นทรัพยากรของชาติ ดังนั้นหากยิ่งให้มีการแข่งขันเพื่อให้ได้ราคา หรือจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบการเพิ่ม ประเทศก็จะได้ประโยชน์ แต่หากอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร หรือให้มีการผูกขาดประเทศก็ไม่ได้ประโยชน์ อย่างทีโอทีได้คลื่นไปแล้วไม่ทำอะไร ขณะที่เอกชนวิ่งแข่งขันเพื่อให้ได้คลื่น 15 เมกกะเฮิร์ตมา ถ้าลงมาแข่งด้วยกันเป็น 4 ราย ไม่ดีกว่าหรือ ใครเป็นลูกค้าทีโอทีอยากใช้ก็ใช้ไป มีฐานลูกค้าทั่วประเทศถือว่ามีความได้เปรียบ แต่การแข่งก็ต้องลงทุนมาก ต้องขยัน ไม่สามารถบริหารแบบเดิมๆได้ เหมือนที่เป็นอยู่

นายวีรพัฒน์ กล่าวว่า การทำให้เกิด การผูกขาดจะเกิดช่องว่างในการทุจริตง่ายและเป็นการทำลายเศรษฐกิจเสรีนิยม แต่เข้าใจได้ว่าธุรกิจโทรคมนาคมเป็นเค้กก้อนโต ผลประโยชน์มหาศาล ใครก็อยากได้เปรียบเหนือคู่แข่ง จึงพยายามจะเล่นนอกเกมและแอบชกใต้เข็มขัดกัน

ด้าน ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า กรณีนี้คงล้มการประมูล 3จีไม่ได้ แต่หลังจากนี้จะมีสิทธิตรวจสอบ ต้องดูจากพฤติกรรม อาจเป็นเรื่องเงินกู้ลงทุนมาจากไหน เป็นปัญหาภายหลังจากประกอบธุรกิจแล้ว ถามว่าจะเป็นบรรทัดฐานหรือเป็นปัญหาในอนาคตอย่างไร ถ้าเป็นปัญหาคงเป็นตั้งแต่ระดับ องค์การการค้าโลก(WTO)แล้ว ไม่ต้องรอถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะมีข้อถกเถียง ขัดแย้งพอสมควร

“การ ใช้ดุลยพินิจตีความและการดูแต่ละเรื่องที่ลงรายละเอียดจุกจิกไปหมดเป็นสิ่ง ที่แปลกมากที่ทำกันเขาไม่ได้ใช้ดุลยพินิจ แต่ดูเรื่องหุ้นส่วนทางตรง ทางอ้อม และไม่ใช่อยู่ที่คนใช้กฎหมายว่าจะพิจารณาเอง ซึ่งอาจจะถูกหยิบมาใช้เฉพาะกรณีๆไปได้ ขึ้นอยู่กับคนใช้ว่าจะตีความอย่างไร”ดร.เดือนเด่น กล่าว

ดร.เดือนเด่น กล่าวอีกว่า เอา แค่เรื่องกู้เงินจากต่างประเทศถึงจุดไหนจึงจะถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติ ทั้งที่บริษัทไทยกู้จากต่างประเทศ การที่ธุรกิจโทรคมนาคมมีผลประโยชน์สูง การแข่งขันสูง เป็นไปได้ว่าคู่แข่งบางรายไม่อยากให้ต่างชาติมาแข่งกับไทย เป็นเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบ

“อาจมองว่าทุนต่างชาติมีมากกว่า สายป่านยาวกว่าจะสู้ไม่ไหว ความจริงควรมองผล ประโยชน์ประเทศชาติในภาพรวม ไม่ใช่แค่ผลประกอบการเอกชนรายใดรายหนึ่งในตลาดนั้นๆ ถ้าหลุดจากกรอบได้อะไรที่ดีต่อชาติ จะมองทะลุในเรื่องฉันเป็นไทยเธอเป็นเทศไปได้ ความรักชาติบางทีคุณอาจถูกหลอกให้ไปเชียร์อีกฝ่าย และต้องระวังเงินในกระเป๋าตัวเองให้ดีด้วย เขาไม่อยากให้คนอื่นมาแข่ง แต่อยากจะไถเงินคุณต่อไป ผู้ประกอบการเหมือนกันหมดทุกรายนั่นแหล่ะ ถ้ามีอำนาจผูกขาด เขาก็เอาเปรียบ” ดร.เดือนเด่น กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการยื่นฟ้องเพื่อระงับการประมูลใบอนุญาต 3จี ของกสทช. นอกจากกรณีนายประหยัด เสนวิรัช นายกสมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค แล้วยังมี ดร.อนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ที่ได้ยื่นคำฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินเพื่อบรรเทาทุกข์ ชั่วคราว เพื่อให้ กสทช. ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเงื่อนไขในการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการ โทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ที่ให้บริการ 3จีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ซึ่งคาดว่าศาลจะมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวภายในวันที่ 15 ต.ค.55

และในวันที่ 15 ต.ค. นายสุริยะใส กตะศิลา พร้อมด้วยองค์กรภาคประชาชนกว่า 10 องค์กร อดีตสหภาพ บริษัท ทีโอที และ ตัวแทนภาคประชาชน จะไปยื่นฟ้องศาลปกครองกลางเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวกรณีการเปิดประมูล ใบอนุญาตให้บริการ 3 จี 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ของ กสทช. เป็นไปโดยไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประชาชน


ขอบคุณ แหล่งที่มาหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์
post : วันจันทร์ ที่ 15 ตุลาคม 2555 เวลา 14:29:21 น. by www.CreditOnHand.com
tag : ข่าวไอทีอัพเดท “ทีดีอาร์ไอ” ยันการฟ้อง “ดีแทค” เป็นต่างด้าวไม่ใช่เหตุล้ม 3จี
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”