Page 1 of 1

อพวช.มุ่งสร้างสังคมวิทยาศาสตร์

Posted: 08 Apr 2013, 14:54
by brid.ladawan
ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


อพวช.มุ่งสร้างสังคมวิทยาศาสตร์
« on: November 30, 2012, 09:06:22 am »

อพวช.มุ่งสร้างสังคมวิทยาศาสตร์


อพวช.มุ่งสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล : คอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษ

อพวช.หวัง สังคมไทยเป็นสังคมวิทยาศาสตร์ มีวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบมีเหตุมีผล ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา อย่าใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากเกินไป เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี

ดร.พิชัย แจ้งขำ ผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวถึง บทบาทขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ว่าคนไทย 66 ล้านคน ควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์ เข้าใจถึงกระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ อยากให้คนไทยมีวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบมีเหตุมีผล

"ผมยกตัวอย่างกรณีน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนแก้ปัญหาจากความรู้สึก ไม่ใช่แก้ปัญหาด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เวลาน้ำจะท่วมบ้าน ทุกคนนำกระสอบทรายไปล้อมบ้าน โดยไม่ดูว่า น้ำขึ้นสูงสุดแค่ไหน แล้วผลคือ พอน้ำสูงเกินระดับกระสอบทราย น้ำก็ทะลักเข้าบ้าน เป็นการแก้ปัญหาจากความรู้สึก หรือการปิด-เปิดประตูน้ำ จนเกิดการทะเลาะกัน ปัญหาคือขาดทั้งข้อมูล ขาดทั้งวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้น วิธีการคิดหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีหลักการของความมีเหตุมีผล ต้องเริ่มต้นจากการตีโจทย์ก่อน ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง มีการอภิปรายผลต่างๆ มีการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลออกมาเป็นองค์ความรู้ หากทุกกระบวนการใช้เหตุผลเป็นหลัก ก็มีความเป็นไปได้ นี่คือกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์"ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


อพวช.มุ่งสร้างสังคมวิทยาศาสตร์
« on: November 30, 2012, 09:06:22 am »

อพวช.มุ่งสร้างสังคมวิทยาศาสตร์


อพวช.มุ่งสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล : คอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษ

อพวช.หวัง สังคมไทยเป็นสังคมวิทยาศาสตร์ มีวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบมีเหตุมีผล ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา อย่าใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากเกินไป เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี

ดร.พิชัย แจ้งขำ ผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวถึง บทบาทขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ว่าคนไทย 66 ล้านคน ควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์ เข้าใจถึงกระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ อยากให้คนไทยมีวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบมีเหตุมีผล

"ผมยกตัวอย่างกรณีน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนแก้ปัญหาจากความรู้สึก ไม่ใช่แก้ปัญหาด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เวลาน้ำจะท่วมบ้าน ทุกคนนำกระสอบทรายไปล้อมบ้าน โดยไม่ดูว่า น้ำขึ้นสูงสุดแค่ไหน แล้วผลคือ พอน้ำสูงเกินระดับกระสอบทราย น้ำก็ทะลักเข้าบ้าน เป็นการแก้ปัญหาจากความรู้สึก หรือการปิด-เปิดประตูน้ำ จนเกิดการทะเลาะกัน ปัญหาคือขาดทั้งข้อมูล ขาดทั้งวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้น วิธีการคิดหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีหลักการของความมีเหตุมีผล ต้องเริ่มต้นจากการตีโจทย์ก่อน ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง มีการอภิปรายผลต่างๆ มีการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลออกมาเป็นองค์ความรู้ หากทุกกระบวนการใช้เหตุผลเป็นหลัก ก็มีความเป็นไปได้ นี่คือกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์"

ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฯ เล่าว่า อพวช. มีหลายโครงการที่น่าสนใจ แต่ที่ถือเป็นภารกิจหลัก และเป็นเอกลักษณ์ คือ คาราวานวิทยาศาสตร์ ที่ออกเดินทางไปทั่วประเทศ ไปตามโรงเรียน ชุมชน เพื่อสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ สังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมของการใช้กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ให้แก่ชุมชน ไม่ใช่การนำความรู้ไปให้ฝ่ายเดียว แต่อยากให้ประชาชนได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง และมีการตอบรับในสิ่งที่ อพวช.นำไปมอบให้ด้วย

"มีผู้ใหญ่ถามผมว่า จะไปสอนให้ชาวบ้านทำวิจัย จะทำได้หรือ ผมบอกว่า ถ้าจะให้ดี ชาวบ้านจะต้องทำวิจัยเป็น ผมยกตัวอย่างให้ฟังว่า มีหมู่บ้านหนึ่งเกิดดินถล่ม รัฐบาลบอกว่าปลูกป่า กรมป่าไม้สนับสนุนต้นสักในการปลูกป่า แต่ชาวบ้านไม่ปลูก แถมบอกรัฐบาลอีกว่า ไม่ปลูกเพราะไปดูงานของ อพวช. มาแล้ว เลยไม่ปลูก เพราะที่ดินบริเวณนั้นไม่ใช่พื้นที่ที่ต้นสักจะขึ้น แล้วต้นสักเป็นพื้นเศรษฐกิจ พอปลูกเสร็จก็มีคนมาตัด ชาวบ้านจึงรวบรวมผู้ใหญ่บ้านของกลุ่มตั้งเป็นทีมวิจัย ทำการวิจัยว่า เขาหัวโล้นลูกนั้น เคยมีต้นไม้อะไร พันธุ์ไม้อะไร สัดส่วนเท่าไหร่ แล้วก็หาพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมาปลูก ดูแลกันเอง ตอนนี้เขียวทั้งดอย นั่นคือผลพวงจากงานของ อพวช."

ผอ.อพวช. กล่าวว่า คาราวานวิทยาศาสตร์ที่ทำมาตั้งแต่ปี 2548 มีภารกิจ 3 เรื่อง คือ เผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน ทุกระดับอายุ ทุกระดับการศึกษา สร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์ ให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ การนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และทำวิจัย เน้นเรื่องใหญ่ๆ คือ การสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ (Science Communication) และความหลากหลายทางชีวภาพ กิจกรรมของ อพวช. ทั้งหมด รวมทั้งคาราวาน ทั้ง Outreach Program ไม่ได้มีแค่พิพิธภัณฑ์ ไม่ได้มีแค่นิทรรศการ ในคาราวานวิทยาศาสตร์ ต้องมี 2 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ คือ ดิน กับน้ำ ให้เด็กถือดินที่บ้านติดมือมาด้วยคนละก้อน มาเข้าห้องแล็บ สอนวิธีวิเคราะห์ดินว่า ดินบริเวณนั้นมีองค์ประกอบเป็นอย่างไร นี่คือการเรียนรู้แบบ Two Way Communications

"เรื่องน้ำ ก็เช่นกัน วันหนึ่งผมมีโอกาสตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านทอดพระเนตรคนยกหม้อน้ำตู้เย็นที่กดๆ กัน และรับสั่งว่า ฉันไม่อยากดื่มน้ำจากตู้แบบนี้เลย เพราะเห็นเขาดึงไส้กรองออกมา ดำมาก แล้วก็นำใส่กลับเข้าไปใหม่ ในคาราวานวิทยาศาสตร์จะบอกให้เด็กๆ กลับไปเอาน้ำดื่มเป็นประจำมาวิเคราะห์ จะทำอย่างไรให้เป็นน้ำดื่มที่ได้มาตรฐาน เป็นการทดลองง่ายๆ เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เคลื่อนที่เดินทางไปทั่วประเทศ พร้อมกับคาราวานวิทยาศาสตร์"

โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ก็เป็นอีกโครงการหนึ่ง ที่นำครูศูนย์เด็กเล็กมาอบรมวิทยาศาสตร์ อันนี้เป็นโครงการของมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่ อพวช. เป็นหน่วยงานหลักที่นำคู่มือและวิธีการต่างๆ จากต่างประเทศมาปรับใช้ สอนทักษะวิทยาศาสตร์เบื้องต้นให้กับเด็ก สอนให้เด็กมีกระบวนการคิดที่มีเหตุมีผล ทักษะในการใช้มือ ทักษะในการนับ เป็นทักษะเชิงวิทยาศาสตร์ได้ดีขึ้น

โครงการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็นโครงการที่ อพวช. อยากจะมีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เล็กๆ กระจายไปทั่วประเทศ โดยการสนับสนุนของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2555 ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ที่ภาคเหนือ แต่ อพวช. อยากให้เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ที่มีชุมชนเป็นเจ้าของ ไม่ใช่รัฐบาลเป็นเจ้าของ จะได้ไม่ต้องบริหารโดยงบประมาณของรัฐบาล แต่เป็นการบริหารโดยคนในชุมชน ทุกคนในชุมชนต้องช่วยกันดูแล

ในอนาคต จะมีโครงการพิพิธภัณฑ์ รัชกาลที่ 9 ที่กำลังจะสร้างขึ้น อยู่ติดกับที่ตั้ง อพวช. ในปัจจุบัน เน้นการจัดแสดงเรื่อง ดิน กับ น้ำ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ไขปัญหา บ้านเมือง คาดว่าจะวางศิลาฤกษ์ในปี 2555 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 ปี

ดร.พิชัย กล่าวด้วยว่า อยากเห็นสังคมไทย เป็นสังคมที่แก้ปัญหาด้วยการใช้เหตุใช้ผล ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา อย่าใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากเกินไป คนบางกลุ่มอาจจะรู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยี มักเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะฉะนั้นสิ่งที่ อพวช. จะต้องทำในขณะนี้เป็นอันดับแรกสุด คือ ให้ประชาชนมีพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ อันดับที่สอง ให้ประชาชนมีความรู้เรื่องภูมิสังคม รู้ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเอง รู้เรื่องทรัพยากรที่อยู่รอบๆ ตัว แล้วก็รู้จักการจัดการทรัพยากรที่อยู่รอบตัว ว่าจะจัดการอย่างไร จะใช้อย่างไรให้คุ้มค่าและยั่งยืนที่สุด

"ผมมองว่า เราทำไปพร้อมกันได้ คือ ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่สั่งสมมาจากอดีต และใช้ไฮเทคโนโลยีที่ฝรั่งคิด นำองค์ความรู้ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ไปพัฒนาภูมิปัญญาชาวบ้านให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ฉะนั้น อพวช.อยากจะมีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เล็กๆ ทั่วประเทศ ผมประกาศไปแล้วว่า อยากเห็น 1 ตำบล 1 พิพิธภัณฑ์ สร้างเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน มีเทคโนโลยีอะไรที่เหมาะสมที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านได้ ก็นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน นอกจากนั้น ยังเก็บเกี่ยวความรู้ข้อมูลท้องถิ่น ทรัพยากร การจัดการ ภูมิปัญญา ที่ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน กลับมาด้วย ผมบอกรัฐบาลทุกรัฐบาล ให้สนใจเรื่องพวกนี้บ้าง ผมไม่ได้บอกว่า เป็นความสำคัญของหน่วยงาน แต่เป็นความสำคัญของการสร้างสังคมทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย"

ผอ.อพวช. ฝากข้อคิดส่งท้ายไว้ว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด อยากทำให้คนไทยรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม แล้วจัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้ประโยชน์มากที่สุด คุ้มค่าที่สุด ยั่งยืนที่สุด ถ้าคิดว่าไปซื้อเครื่องมือต่างๆ มาใช้งานโดยไม่ได้คิดล่วงหน้าไว้ก่อนว่าจะทำมาใช้อะไร ก็เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศต้องทำ ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่หน้าที่ขององค์การวิทยาศาสตร์แห่งชาติ แต่เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการ เหล่านี้ แล้วจัดการให้ได้







ขอบคุณ แหล่งที่มาหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
post : วันเสาร์ ที่ 15 กันยายน 2555 เวลา 9:32:33 น. by www.CreditOnHand.com
tag : ข่าวไอทีอัพเดท อพวช.มุ่งสร้างสังคมวิทยาศาสตร์

ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฯ เล่าว่า อพวช. มีหลายโครงการที่น่าสนใจ แต่ที่ถือเป็นภารกิจหลัก และเป็นเอกลักษณ์ คือ คาราวานวิทยาศาสตร์ ที่ออกเดินทางไปทั่วประเทศ ไปตามโรงเรียน ชุมชน เพื่อสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ สังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมของการใช้กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ให้แก่ชุมชน ไม่ใช่การนำความรู้ไปให้ฝ่ายเดียว แต่อยากให้ประชาชนได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง และมีการตอบรับในสิ่งที่ อพวช.นำไปมอบให้ด้วย

"มีผู้ใหญ่ถามผมว่า จะไปสอนให้ชาวบ้านทำวิจัย จะทำได้หรือ ผมบอกว่า ถ้าจะให้ดี ชาวบ้านจะต้องทำวิจัยเป็น ผมยกตัวอย่างให้ฟังว่า มีหมู่บ้านหนึ่งเกิดดินถล่ม รัฐบาลบอกว่าปลูกป่า กรมป่าไม้สนับสนุนต้นสักในการปลูกป่า แต่ชาวบ้านไม่ปลูก แถมบอกรัฐบาลอีกว่า ไม่ปลูกเพราะไปดูงานของ อพวช. มาแล้ว เลยไม่ปลูก เพราะที่ดินบริเวณนั้นไม่ใช่พื้นที่ที่ต้นสักจะขึ้น แล้วต้นสักเป็นพื้นเศรษฐกิจ พอปลูกเสร็จก็มีคนมาตัด ชาวบ้านจึงรวบรวมผู้ใหญ่บ้านของกลุ่มตั้งเป็นทีมวิจัย ทำการวิจัยว่า เขาหัวโล้นลูกนั้น เคยมีต้นไม้อะไร พันธุ์ไม้อะไร สัดส่วนเท่าไหร่ แล้วก็หาพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมาปลูก ดูแลกันเอง ตอนนี้เขียวทั้งดอย นั่นคือผลพวงจากงานของ อพวช."

ผอ.อพวช. กล่าวว่า คาราวานวิทยาศาสตร์ที่ทำมาตั้งแต่ปี 2548 มีภารกิจ 3 เรื่อง คือ เผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน ทุกระดับอายุ ทุกระดับการศึกษา สร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์ ให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ การนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และทำวิจัย เน้นเรื่องใหญ่ๆ คือ การสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ (Science Communication) และความหลากหลายทางชีวภาพ กิจกรรมของ อพวช. ทั้งหมด รวมทั้งคาราวาน ทั้ง Outreach Program ไม่ได้มีแค่พิพิธภัณฑ์ ไม่ได้มีแค่นิทรรศการ ในคาราวานวิทยาศาสตร์ ต้องมี 2 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ คือ ดิน กับน้ำ ให้เด็กถือดินที่บ้านติดมือมาด้วยคนละก้อน มาเข้าห้องแล็บ สอนวิธีวิเคราะห์ดินว่า ดินบริเวณนั้นมีองค์ประกอบเป็นอย่างไร นี่คือการเรียนรู้แบบ Two Way Communications

"เรื่องน้ำ ก็เช่นกัน วันหนึ่งผมมีโอกาสตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านทอดพระเนตรคนยกหม้อน้ำตู้เย็นที่กดๆ กัน และรับสั่งว่า ฉันไม่อยากดื่มน้ำจากตู้แบบนี้เลย เพราะเห็นเขาดึงไส้กรองออกมา ดำมาก แล้วก็นำใส่กลับเข้าไปใหม่ ในคาราวานวิทยาศาสตร์จะบอกให้เด็กๆ กลับไปเอาน้ำดื่มเป็นประจำมาวิเคราะห์ จะทำอย่างไรให้เป็นน้ำดื่มที่ได้มาตรฐาน เป็นการทดลองง่ายๆ เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เคลื่อนที่เดินทางไปทั่วประเทศ พร้อมกับคาราวานวิทยาศาสตร์"

โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ก็เป็นอีกโครงการหนึ่ง ที่นำครูศูนย์เด็กเล็กมาอบรมวิทยาศาสตร์ อันนี้เป็นโครงการของมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่ อพวช. เป็นหน่วยงานหลักที่นำคู่มือและวิธีการต่างๆ จากต่างประเทศมาปรับใช้ สอนทักษะวิทยาศาสตร์เบื้องต้นให้กับเด็ก สอนให้เด็กมีกระบวนการคิดที่มีเหตุมีผล ทักษะในการใช้มือ ทักษะในการนับ เป็นทักษะเชิงวิทยาศาสตร์ได้ดีขึ้น

โครงการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็นโครงการที่ อพวช. อยากจะมีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เล็กๆ กระจายไปทั่วประเทศ โดยการสนับสนุนของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2555 ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ที่ภาคเหนือ แต่ อพวช. อยากให้เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ที่มีชุมชนเป็นเจ้าของ ไม่ใช่รัฐบาลเป็นเจ้าของ จะได้ไม่ต้องบริหารโดยงบประมาณของรัฐบาล แต่เป็นการบริหารโดยคนในชุมชน ทุกคนในชุมชนต้องช่วยกันดูแล

ในอนาคต จะมีโครงการพิพิธภัณฑ์ รัชกาลที่ 9 ที่กำลังจะสร้างขึ้น อยู่ติดกับที่ตั้ง อพวช. ในปัจจุบัน เน้นการจัดแสดงเรื่อง ดิน กับ น้ำ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ไขปัญหา บ้านเมือง คาดว่าจะวางศิลาฤกษ์ในปี 2555 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 ปี

ดร.พิชัย กล่าวด้วยว่า อยากเห็นสังคมไทย เป็นสังคมที่แก้ปัญหาด้วยการใช้เหตุใช้ผล ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา อย่าใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากเกินไป คนบางกลุ่มอาจจะรู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยี มักเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะฉะนั้นสิ่งที่ อพวช. จะต้องทำในขณะนี้เป็นอันดับแรกสุด คือ ให้ประชาชนมีพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ อันดับที่สอง ให้ประชาชนมีความรู้เรื่องภูมิสังคม รู้ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเอง รู้เรื่องทรัพยากรที่อยู่รอบๆ ตัว แล้วก็รู้จักการจัดการทรัพยากรที่อยู่รอบตัว ว่าจะจัดการอย่างไร จะใช้อย่างไรให้คุ้มค่าและยั่งยืนที่สุด

"ผมมองว่า เราทำไปพร้อมกันได้ คือ ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่สั่งสมมาจากอดีต และใช้ไฮเทคโนโลยีที่ฝรั่งคิด นำองค์ความรู้ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ไปพัฒนาภูมิปัญญาชาวบ้านให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ฉะนั้น อพวช.อยากจะมีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เล็กๆ ทั่วประเทศ ผมประกาศไปแล้วว่า อยากเห็น 1 ตำบล 1 พิพิธภัณฑ์ สร้างเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน มีเทคโนโลยีอะไรที่เหมาะสมที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านได้ ก็นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน นอกจากนั้น ยังเก็บเกี่ยวความรู้ข้อมูลท้องถิ่น ทรัพยากร การจัดการ ภูมิปัญญา ที่ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน กลับมาด้วย ผมบอกรัฐบาลทุกรัฐบาล ให้สนใจเรื่องพวกนี้บ้าง ผมไม่ได้บอกว่า เป็นความสำคัญของหน่วยงาน แต่เป็นความสำคัญของการสร้างสังคมทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย"

ผอ.อพวช. ฝากข้อคิดส่งท้ายไว้ว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด อยากทำให้คนไทยรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม แล้วจัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้ประโยชน์มากที่สุด คุ้มค่าที่สุด ยั่งยืนที่สุด ถ้าคิดว่าไปซื้อเครื่องมือต่างๆ มาใช้งานโดยไม่ได้คิดล่วงหน้าไว้ก่อนว่าจะทำมาใช้อะไร ก็เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศต้องทำ ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่หน้าที่ขององค์การวิทยาศาสตร์แห่งชาติ แต่เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการ เหล่านี้ แล้วจัดการให้ได้


ขอบคุณ แหล่งที่มาหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
post : วันเสาร์ ที่ 15 กันยายน 2555 เวลา 9:32:33 น. by www.CreditOnHand.com
tag : ข่าวไอทีอัพเดท อพวช.มุ่งสร้างสังคมวิทยาศาสตร์