เก็บตกงาน SEC FinTech Day 2017 และบรรยายพิเศษ The Rise of
Posted: 14 Feb 2017, 13:42
เก็บตกงาน SEC FinTech Day 2017 และบรรยายพิเศษ The Rise of FinTech in Thailand
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้จัดงาน SEC FinTech Day 2017 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการประกาศจุดยืนการสนับสนุน FinTech ในประเทศไทย รวมถึงส่งสัญญาณให้ภาคส่วนต่างๆ เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้านธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วย
นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. ได้เดินทางมาเปิดงาน พร้อมแสดงวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของ ก.ล.ต. ไว้ด้วยว่า หนึ่งในเป้าหมายของ ก.ล.ต. คือการผลักดันให้เกิดเสรีภาพของบริการด้านการเงิน (democratization of financial services) พูดอีกอย่างคือ ประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการและตลาดทุนได้หลากหลายยิ่งขึ้น โดยต้นทุนนั้นต่ำลงกว่าเดิม ขณะที่บริการทางการเงินต่างๆ นั้นก็จะสามารถปรับแต่ง (customize) ให้เหมาะสมกับความต้องการชองผู้ใช้บริการแต่ละคน
ซึ่งการจะไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว ก.ล.ต. จึงนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก เพื่อทำให้บริการทางการเงินหรือตลาดทุน สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง ขณะที่ผู้ลงทุนเองก็จะมีข้อมูลและอำนาจต่อรองมากขึ้น
นอกจากนี้ทาง ก.ล.ต. กำลังเร่งสร้าง Regulatory Sandbox เพื่อเปิดให้ธุรกิจต่างๆ สามารถทดสอบแนวคิดและโมเดลธุรกิจกับลูกค้าจริง ในขอบเขตจำกัด โดยยังไม่มีข้อจำกัดด้านกฎหมาย (Regulatory Requirement) ที่สูงจนเกินไป ซึ่งจะทำให้ทาง ก.ล.ต. สามารถทำความเข้าใจรูปแบบธุรกินใหม่ๆ เพื่อที่จะกำกับดูแลได้อย่างเหมาะสมมากขึ้นด้วย
ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ภายในงานยังมีนิทรรศการ FinTech, กิจกรรมการแข่งขัน FinTech Challenge และ การบรรยายพิเศษและการเสวนา ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจจากการบรรยายนี้คือหัวข้อ The Rise of FinTech in Thailand โดยนายเจษฏา สุขทิศ ประธานองค์กร Thai FinTech ผมเลยเก็บมาฝากกันครับ
The Rise of FinTech in Thailand
ปัจจุบันสตาร์ทอัพ FinTech เติบโตขึ้นมาเร็วและเยอะขึ้นมาก จาก 42 บริษัทในปี 2015 มาเป็นราว 80 บริษัทในปีที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่มีใครรู้ว่าปลายทางจะเป็นอย่างไร แต่คุณเจษฎาบอกว่าจากสถิติแล้ว ในจำนวน 80 บริษัทนี้ จะมีผู้อยู่รอดแค่ราว 10% หรือ 8 บริษัทเท่านั้น
ไม่เพียงเท่านั้น ข้อมูลจาก Google Trend ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ปี 2016 ที่ผ่านมา คำว่า FinTech ในภาษาไทยถูกค้นหาบน Google เพิ่มขึ้นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นกระแสขึ้นมาอย่างชัดเจนและกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
คุณเจษฎาได้บรรยายถึงแนวโน้มของเทรนด์ FinTech ในประเทศไทยว่าจะมีทั้งหมด 3 เทรนด์หลักๆ
The Rise of Social Banking, Social E-Commerce
ในระยะเริ่มต้นช่วงนี้ เป็นช่วง Product Discovery หรือการสร้างบริษัทสร้างผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม FinTech แต่ในระยะกลาง FinTech จะมาบรรจบที่คำว่า Social Banking และ Social E-commerce อยู่ที่การใช้เวลาบนแพลตฟอร์มเหล่านี้ อย่างเช่นแอพ E-Wallet, E-Payment ต่างๆ
ขณะที่ Social Banking คุณเจษฎาระบุว่าในต่างประเทศ เริ่มมีกระแสการเข้าใช้บริการ Internet Banking แต่ไม่ได้เข้ากับเว็บของธนาคารโดยตรงมากขึ้น ซึ่งผลสำรวจชี้ว่า ที่คนทั่วไปเข้าไปใช้บริการผ่านเว็บของธนาคารน้อยลง เนื่องจากความกลัว ซึ่งหนึ่งใน Social Banking ที่กำลังจะเป็นเทรนด์ คือการทำธุรกรรมผ่านทางเฟซบุ๊กและเมสเซนเจอร์
The Rise of Experience-Based Banking
การทำธุรกรรมหรือ FinTech แบบ Experience-Based เป็นขั้วตรงข้ามกับ Social-Media-Based ที่เป็นการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ กล่าวคือ Experience-Based เป็นการทำธุรกรรมในเวลาออฟไลน์ อาทิ ร้าน Starbuck ที่มีคนนำเงินไปเก็บไว้ในบัตรของ Starbucks Card มากกว่าธนาคารบางแห่ง หรืออย่าง PayPal
คุณเจษฎายกตัวอย่างผู้ให้บริการธุรกรรมแบบ Experience-Based แถวหน้าตอนนี้คือ Ant Financial ของ AliPay จากจีน ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ตั้งมาเพียง 4 ปี มีรายได้แล้วกว่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐและกำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง
กระแส Experience-Based Banking ในไทยคุณเจษฎามองว่าก็กำลังจะมา อย่าง 7-11 ที่มีบริการบัตรเก็บเงินสดของตัวเอง, TrueMoney, Ascend Group ที่จับมือกับ Alipay, CenPay จาก Central เป็นต้น
ด้วยกระแสนี้จะเป็นตัวผลักดันให้เกิด Cashless Society อย่างจริงจังในอนาคต
The Rise of Algo และ Robo-Advisor ในรูปแบบ Private Fund
คุณเจษฎาบอกว่า ก.ล.ต. ได้วางระเบียบไว้ค่อนข้างเยอะแล้ว ขณะที่เริ่มเห็นการจับมือพัฒนา Algorithimic Trading มากขึ้นผ่านความร่วมมือ อย่าง FinTech (Thailand) กับบริษัท KTBST หรือ Fotune Robotic Trading ที่จับมือกับ ก.ล.ต.
อ้างอิง : http://www.blognone.com
ณ 14/02/2017
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้จัดงาน SEC FinTech Day 2017 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการประกาศจุดยืนการสนับสนุน FinTech ในประเทศไทย รวมถึงส่งสัญญาณให้ภาคส่วนต่างๆ เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้านธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วย
นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. ได้เดินทางมาเปิดงาน พร้อมแสดงวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของ ก.ล.ต. ไว้ด้วยว่า หนึ่งในเป้าหมายของ ก.ล.ต. คือการผลักดันให้เกิดเสรีภาพของบริการด้านการเงิน (democratization of financial services) พูดอีกอย่างคือ ประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการและตลาดทุนได้หลากหลายยิ่งขึ้น โดยต้นทุนนั้นต่ำลงกว่าเดิม ขณะที่บริการทางการเงินต่างๆ นั้นก็จะสามารถปรับแต่ง (customize) ให้เหมาะสมกับความต้องการชองผู้ใช้บริการแต่ละคน
ซึ่งการจะไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว ก.ล.ต. จึงนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก เพื่อทำให้บริการทางการเงินหรือตลาดทุน สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง ขณะที่ผู้ลงทุนเองก็จะมีข้อมูลและอำนาจต่อรองมากขึ้น
นอกจากนี้ทาง ก.ล.ต. กำลังเร่งสร้าง Regulatory Sandbox เพื่อเปิดให้ธุรกิจต่างๆ สามารถทดสอบแนวคิดและโมเดลธุรกิจกับลูกค้าจริง ในขอบเขตจำกัด โดยยังไม่มีข้อจำกัดด้านกฎหมาย (Regulatory Requirement) ที่สูงจนเกินไป ซึ่งจะทำให้ทาง ก.ล.ต. สามารถทำความเข้าใจรูปแบบธุรกินใหม่ๆ เพื่อที่จะกำกับดูแลได้อย่างเหมาะสมมากขึ้นด้วย
ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ภายในงานยังมีนิทรรศการ FinTech, กิจกรรมการแข่งขัน FinTech Challenge และ การบรรยายพิเศษและการเสวนา ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจจากการบรรยายนี้คือหัวข้อ The Rise of FinTech in Thailand โดยนายเจษฏา สุขทิศ ประธานองค์กร Thai FinTech ผมเลยเก็บมาฝากกันครับ
The Rise of FinTech in Thailand
ปัจจุบันสตาร์ทอัพ FinTech เติบโตขึ้นมาเร็วและเยอะขึ้นมาก จาก 42 บริษัทในปี 2015 มาเป็นราว 80 บริษัทในปีที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่มีใครรู้ว่าปลายทางจะเป็นอย่างไร แต่คุณเจษฎาบอกว่าจากสถิติแล้ว ในจำนวน 80 บริษัทนี้ จะมีผู้อยู่รอดแค่ราว 10% หรือ 8 บริษัทเท่านั้น
ไม่เพียงเท่านั้น ข้อมูลจาก Google Trend ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ปี 2016 ที่ผ่านมา คำว่า FinTech ในภาษาไทยถูกค้นหาบน Google เพิ่มขึ้นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นกระแสขึ้นมาอย่างชัดเจนและกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
คุณเจษฎาได้บรรยายถึงแนวโน้มของเทรนด์ FinTech ในประเทศไทยว่าจะมีทั้งหมด 3 เทรนด์หลักๆ
The Rise of Social Banking, Social E-Commerce
ในระยะเริ่มต้นช่วงนี้ เป็นช่วง Product Discovery หรือการสร้างบริษัทสร้างผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม FinTech แต่ในระยะกลาง FinTech จะมาบรรจบที่คำว่า Social Banking และ Social E-commerce อยู่ที่การใช้เวลาบนแพลตฟอร์มเหล่านี้ อย่างเช่นแอพ E-Wallet, E-Payment ต่างๆ
ขณะที่ Social Banking คุณเจษฎาระบุว่าในต่างประเทศ เริ่มมีกระแสการเข้าใช้บริการ Internet Banking แต่ไม่ได้เข้ากับเว็บของธนาคารโดยตรงมากขึ้น ซึ่งผลสำรวจชี้ว่า ที่คนทั่วไปเข้าไปใช้บริการผ่านเว็บของธนาคารน้อยลง เนื่องจากความกลัว ซึ่งหนึ่งใน Social Banking ที่กำลังจะเป็นเทรนด์ คือการทำธุรกรรมผ่านทางเฟซบุ๊กและเมสเซนเจอร์
The Rise of Experience-Based Banking
การทำธุรกรรมหรือ FinTech แบบ Experience-Based เป็นขั้วตรงข้ามกับ Social-Media-Based ที่เป็นการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ กล่าวคือ Experience-Based เป็นการทำธุรกรรมในเวลาออฟไลน์ อาทิ ร้าน Starbuck ที่มีคนนำเงินไปเก็บไว้ในบัตรของ Starbucks Card มากกว่าธนาคารบางแห่ง หรืออย่าง PayPal
คุณเจษฎายกตัวอย่างผู้ให้บริการธุรกรรมแบบ Experience-Based แถวหน้าตอนนี้คือ Ant Financial ของ AliPay จากจีน ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ตั้งมาเพียง 4 ปี มีรายได้แล้วกว่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐและกำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง
กระแส Experience-Based Banking ในไทยคุณเจษฎามองว่าก็กำลังจะมา อย่าง 7-11 ที่มีบริการบัตรเก็บเงินสดของตัวเอง, TrueMoney, Ascend Group ที่จับมือกับ Alipay, CenPay จาก Central เป็นต้น
ด้วยกระแสนี้จะเป็นตัวผลักดันให้เกิด Cashless Society อย่างจริงจังในอนาคต
The Rise of Algo และ Robo-Advisor ในรูปแบบ Private Fund
คุณเจษฎาบอกว่า ก.ล.ต. ได้วางระเบียบไว้ค่อนข้างเยอะแล้ว ขณะที่เริ่มเห็นการจับมือพัฒนา Algorithimic Trading มากขึ้นผ่านความร่วมมือ อย่าง FinTech (Thailand) กับบริษัท KTBST หรือ Fotune Robotic Trading ที่จับมือกับ ก.ล.ต.
อ้างอิง : http://www.blognone.com
ณ 14/02/2017