สรุปความปลอดภัย Android ปี 2016 - อัตราการติดมัลแวร์ลดลง

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

สรุปความปลอดภัย Android ปี 2016 - อัตราการติดมัลแวร์ลดลง

Post by brid.ladawan »

สรุปความปลอดภัย Android ปี 2016 - อัตราการติดมัลแวร์ลดลง, การอัพเดตแพตช์ยังแย่ แต่ดีขึ้นเรื่อยๆ

Image

กูเกิลออกรายงาน Android Security 2016 Year in Review สรุปสถานการณ์ความปลอดภัยของ Android ตลอดทั้งปี 2016 ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ในภาพรวม มาตรการต่างๆ ที่กูเกิลนำมาช่วยกรองไม่ให้ผู้ใช้ติดมัลแวร์ได้ผลดี อัตราการติดมัลแวร์ลดจำนวนลงจากในปี 2015 แต่อัตราการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆ ยังไม่ดีนัก กูเกิลก็พยายามเลี่ยงข้อมูลนี้โดยไม่เผยข้อมูลอุปกรณ์ที่ได้แพตช์ "ล่าสุด" (บอกอ้อมๆ ว่า "เคยได้แพตช์อย่างน้อยหนึ่งครั้งในปี 2016") แต่ในภาพรวมก็ถือว่าดีขึ้นจากปี 2015

Image

สถานการณ์เรื่องมัลแวร์

กูเกิลมีบริการด้านความปลอดภัยหลายชั้น (ทั้งในระดับเครื่องและระดับคลาวด์ ตามภาพ) ที่คอยช่วยปกป้องอุปกรณ์ Android จากมัลแวร์ (หรือที่กูเกิลเรียกว่า Potentially Harmful Applications หรือ PHA)

Image

ตัวเลขจากกูเกิลระบุว่าในไตรมาส 4/2016 อุปกรณ์ Android ทั้งหมดที่เก็บสถิติมี PHA มีสัดส่วน 0.71%, ถ้านับเฉพาะอุปกรณ์ Android ที่ดาวน์โหลดแอพเฉพาะจาก Google Play เท่านั้น สัดส่วนคือ 0.05%
อัตราการติดมัลแวร์ในปี 2016 ลดลงจากปี 2015 อย่างชัดเจน (ตัวเลขของประเทศไทยลดจาก 0.17% เหลือ 0.09% สำหรับกลุ่ม Google Play และลดจาก 10.03% เหลือ 5.60% สำหรับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ Google Play)

Image
Image
Image

สถิติอื่นที่น่าสนใจมีดังนี้
ระบบ SafetyNet เก็บข้อมูลจากอุปกรณ์กว่า 1.4 พันล้านเครื่อง เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมของโลก Android ทั้งหมด (รวมถึงกลุ่มที่อยู่นอก Google Play)
ปี 2016 เฉลี่ยแล้วมีคนใช้บริการ Android Device Manager (ADM) ค้นหาอุปกรณ์ของตัวเองวันละ 380,000 ราย
ฟีเจอร์ Smart Lock ช่วยลดจำนวนการปลดล็อคหน้าจอได้ 90%, จำนวนผู้ใช้งานฟีเจอร์นี้เติบโตขึ้น 175% ในปี 2016 (ไม่ระบุจำนวนเป็นตัวเลข)
อุปกรณ์จำนวนเกือบครึ่ง (48.9%) เปิดใช้งานล็อคสกรีนแบบปลอดภัย (ไม่ว่าจะเป็นรหัสผ่าน, PIN, สแกนนิ้ว หรือวิธีอื่นๆ)
สัดส่วนการติดตั้งแอพโดยผ่านสิทธิ root อยู่ที่ 0.3461% ของจำนวนการติดตั้งแอพทั้งหมด
กูเกิลยังเผยข้อมูลของผู้ใช้ในแต่ละประเทศว่า Android ของประเทศนั้นๆ เป็นเวอร์ชันที่ผ่านการรับรองจากกูเกิล (CTS) เป็นสัดส่วนเท่าไร และผ่านการตรวจเช็คความปลอดภัยขั้นต้น (basic integrity check) เท่าไร ตัวเลขของประเทศไทยคือใช้เวอร์ชันตรงกับ CTS ที่ 65% (ถือว่าค่อนข้างน้อย แปลว่ามี Android สายดัดแปลงเองเยอะ) แต่ผ่าน integrity ที่ 95% ถือว่าค่อนข้างดี (ตัวเลขเฉลี่ยของทั้งโลกคือ 94.4%)

Image

สถานการณ์อัพเดตความปลอดภัย

กูเกิลเริ่มนำระบบ Android security patch level หรือการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยประจำเดือน มาใช้ตั้งแต่ปี 2015 สถิติที่กูเกิลนำมาเปิดเผยมีดังนี้
สัดส่วนเวอร์ชัน Android ที่มีโอกาสได้รับแพตช์ (4.4 ขึ้นไป) เพิ่มจาก 70.8% ช่วงต้นปี 2016 มาเป็น 86.3% ในช่วงสิ้นปี 2016
ถ้านับเฉพาะอุปกรณ์ยอดนิยม 50 รุ่นแรก มีประมาณครึ่งหนึ่งที่ได้อัพเดตแพตช์อย่างน้อยหนึ่งครั้งในไตรมาส 4/2016
ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายราย "มัก" อัพเดตแพตช์ความปลอดภัยให้อุปกรณ์รุ่นเรือธงในวันเดียวกับ Nexus/Pixel ตัวอย่างผู้ผลิตที่ระบุชื่อคือ Samsung, LG, OnePlus
ในสหรัฐอเมริกา มือถือกลุ่ม flagship มีโอกาสได้รับแพตช์ชุดล่าสุด (นับไม่เก่าเกิน 3 เดือน) ที่ประมาณ 78%, ตัวเลขในยุโรปคือ 73%
ตัวเลขในเดือนธันวาคม 2016 อุปกรณ์ที่เคยได้รับแพตช์อย่างน้อย 1 ครั้งในปี 2016 มีจำนวนทั้งหมด 735 ล้านเครื่อง นับเป็นกว่า 2,000 รุ่นจากผู้ผลิตกว่า 200 ยี่ห้อ
กูเกิลร่วมมือกับผู้ผลิตชิปเซ็ต (SoC) ทั้ง Qualcomm, Broadcomm, MediaTek, NVIDIA เพื่อให้กระบวนการอัพเดตความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์เร็วขึ้น
กระบวนการตรวจสอบแพตช์ความปลอดภัยว่าเข้ากันได้กับเครือข่าย (sign-off process) เร็วขึ้น จากเดิมใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ลดลงมาเหลือ 1 สัปดาห์
จากการตรวจสอบของกูเกิลในเดือนธันวาคม 2016 ว่ามี Android รุ่นใดบ้างได้อัพเดตแพตช์รอบเดือนตุลาคม 2016 เป็นสัดส่วนตามจำนวนเครื่องในรุ่นเดียวกันเยอะที่สุด รายชื่อมือถือกลุ่มนี้ได้แก่ Google Pixel, Google Pixel XL, Motorola Moto Z Droid, Oppo A33W, Nexus 6P, Nexus 5X, Nexus 6, OnePlus OnePlus3, Samsung Galaxy S7, Asus Zenfone 3, bq Aquarius M5, Nexus 5, Vivo V3Max, LGE V20, Sony Xperia X Compact (ไม่เรียงตามลำดับสัดส่วน)

Image

หลังจากกูเกิลเปิดฟีเจอร์ File-based Encryption เป็นดีฟอลต์ใน Android 7.0 Nougat คราวนี้กูเกิลก็เผยสถิติว่ามีอุปกรณ์มากแค่ไหน สำหรับ Android 7.0 ตัวเลขอยู่ที่ราว 80%

Image

รายงานฉบับเต็มสามารถอ่านได้จาก Android Security 2016 Year In Review
ที่มา - Google Blog

https://youtu.be/kNRS6FAsagg

อ้างอิง : http://www.blognone.com
ณ วันที่ : 27/03/2017
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”