Page 1 of 1

'แก้ว'กับการปฏิวัติระบบสำรองข้อมูล

Posted: 08 Apr 2013, 16:18
by brid.ladawan
View Profile Email


'แก้ว'กับการปฏิวัติระบบสำรองข้อมูล
« on: November 30, 2012, 10:27:03 am »

'แก้ว'กับการปฏิวัติระบบสำรองข้อมูล


วัสดุธรรมดาอย่าง "แก้ว" กำลังจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเก็บข้อมูลสำคัญๆ ระดับชาติ และระดับโลก ในอนาคตอันใกล้นี้ ทุกวันนี้โลกถูกขับเคลื่อนด้วยสิ่งที่เรียกว่า "ข้อมูล" ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลตัวเลขประกอบการธุรกิจ ข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ หรือข้อมูลสถิติที่ใช้อ้างอิงในการวิเคราะห์ทิศทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคตรวม ทั้งการตัดสินใจในการลงทุน ซึ่งข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อนักลงทุน นักธุรกิจ และผู้บริหารประเทศ ที่จะใช้นำมาประกอบในการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการใดๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและประเทศ

แต่สื่อเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็นแผ่นบลูเรย์ดิสก์ ดีวีดี หรือซีดี ที่เป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ก็มีอายุการใช้งานที่ไม่ยืนยาวนานเพียงพอสำหรับเก็บข้อมูลบางชนิด เช่น เอกสาร โบราณล้ำค่าที่ถือเป็นมรดกของชาติหรือมรดกโลก เช่นพระไตรปิฎก จารึกโบราณ ภาพยนตร์ หรือเพลงที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติ แม้กระทั่งเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งในชีวิตของคนคนหนึ่ง ที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบดิจิตอล

ยกตัวอย่างเช่น โครงการอนุรักษ์ของหอสมุดแห่งชาติ ที่ได้ถ่ายภาพของหนังสือ หรือจารึกโบราณไว้ในรูปแบบดิจิตอล และเก็บไว้ในสื่อบันทึกประเภท แผ่นดีวีดี ที่มีจำนวนมหาศาล แต่แผ่นดีวีดีที่ผลิตขึ้นจากเทคโนโลยีในปัจจุบันกลับมีอายุการใช้งานไม่เกิน 10 ปี เนื่องจากวัสดุที่ใช้ประกอบเป็นแผ่นดีวีดีได้แก่ พลาสติกประเภทโพลีเมอร์นั้นมีความอ่อนไหวต่อความชื้น ความร้อน และแสง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพได้โดยเร็ว และการจัดเก็บแผ่นดีวีดีที่ดีจะต้องเก็บไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิ และไม่มีแสงสว่าง เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของสื่อเก็บข้อมูลชนิดนี้

ด้วยเหตุนี้เองนักวิจัยในต่างประเทศจึงคิดค้นสื่อเก็บข้อมูลดิจิตอลที่มี อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าศตวรรษ ในรูปแบบของฮาร์ดดิสก์และแผ่นดีวีดี ที่ใช้ "แก้ว" เป็นวัสดุหลักในส่วนเก็บข้อมูล เมื่อเร็วๆนี้บริษัท ฮิตาชิ ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ชั้นนำของญี่ปุ่น ได้คิดค้นวิธีการเก็บข้อมูลดิจิตอลบนแผ่นแก้วใสโดยใช้แสงเลเซอร์ในการ "เจาะ" จุดในเนื้อแผ่นแก้วที่มีอยู่ด้วยกัน 4 เลเยอร์ (ชั้น) โดยมีความจุระดับ 40 เมกะไบต์ต่อตารางนิ้ว หรือมีความจุมากกว่าแผ่นซีดีเล็กน้อย ซึ่งฮิตาชิเชื่อว่าภายใน 3 ปีข้างหน้าจะนำฮาร์ดดิสก์แก้วออกสู่ตลาดได้อย่างแน่นอน

แต่สื่อของฮิตาชิยังมีข้อด้อยคือการ "อ่าน" ข้อมูล นั้นจะต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการอ่านตำแหน่งของ "จุด" ที่เป็นตัวแทนรหัส 0 และ 1 บนแผ่นแก้ว

ขณะที่เทคโนโลยีของดีวีดี "แก้ว" ที่คิดค้นขึ้นมาโดยบริษัท คาวู (Cavuau) และออกจำหน่ายในตลาดเยอรมนี ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์แล้วนั้นมีข้อได้เปรียบมากกว่าคือ แผ่นดีวีดีนี้ สามารถใช้เครื่องเล่นดีวีดีทั่วไป "อ่าน" ข้อมูลออกมาได้

แผ่นดีวีดีแก้วที่คาวูผลิตขึ้นมานั้นมีโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับแผ่น ดีวีดีทั่วไปที่มีชั้นวัสดุโปร่งแสงสองชิ้น ประกบกันอยู่ โดยแทรกชั้นโลหะที่ใช้เก็บข้อมูลอยู่ตรงกลาง แต่ที่แตกต่างไปจากแผ่นดีวีดีทั่วไปคือวัสดุโปร่งแสงนั้น เป็น "แก้ว" และชั้นโลหะตรงกลางนั้นเป็น "ทองคำ" แท้ที่ถือเป็นธาตุที่มีปฏิกิริยาต่อสารชนิดต่างๆ น้อยมาก

ดังนั้นแผ่นดีวีดีของ คาวู จึงสามารถทนความร้อน แสงแดด ความชื้นได้นานนับร้อยปี ข่าวดีคือชาวไทยจะมีโอกาสได้เป็นเจ้าของแผ่นดีวีดีแก้วชนิดนี้โดยบริษัทจะ เปิดตัวดีวีดีแก้ว ในงานลักชัวรี่ เฟสติวัล

แต่ปัญหามีเพียงประการเดียวคือ ราคาของแผ่นดีวีดีชนิดนี้ยังอยู่ในระดับสูง เพราะต้องใช้การผลิตและบันทึกในต่างประเทศ และวัสดุที่ใช้ก็มีราคาแพง แต่เศรษฐีเมืองไทยที่อยากจะเก็บบันทึกความทรงจำครั้งหนึ่งในชีวิตไว้ให้หลาน เหลน โหลน ได้ชมก็คงไม่คิดมากที่จะลงทุนกับดีวีดีแก้วชนิดนี้หรอก

ขอบคุณ แหล่งที่มาหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
post : วันจันทร์ ที่ 1 ตุลาคม 2555 เวลา 9:48:26 น. by www.CreditOnHand.com
tag : ข่าวไอทีอัพเดท 'แก้ว'กับการปฏิวัติระบบสำรองข้อมูล