Page 1 of 1

จีนมาแรง สร้างหน่วยเก็บข้อมูลแบบใหม่ เก็บข้อมูลขนาด DVD 200 แผ่น ลงในพื้นที่เท่าแสตมป์

Posted: 11 Apr 2018, 16:03
by brid.samanan
Image

90% ของปริมาณข้อมูลรวมในระบบคอมพิวเตอร์ทั้งโลกนั้นได้ถูกสร้างขึ้นใน 2 ปีที่ผ่านมา สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าประชากรโลกมีการสร้างไฟล์ข้อมูลขึ้นมาปริมาณมหาศาลในแต่ละปี โดยในแต่ละวันมีข้อมูลถูกสร้างขึ้้นมามาถึง 2.5 Quintillion byte (โดยที่ 1 Quintillion byte มีค่าเท่ากับ หนึ่ง 1,000,000,000,000,000,000 ไบต์) การพัฒนาหน่วยเก็บข้อมูลให้มีความจุสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นความท้าทายสำหรับโลกยุคใหม่ และถ้าไม่มีเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลที่มีความจุสูงเพียงพอ เราอาจต้องลงเอยด้วยการเปลี่ยนทุกพื้นที่ว่างบนโลกใบนี้ให้กลายเป็น Data center เพื่อเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล แต่ก็โชคดีที่ทีมนักวิจัยจากจีนมีทางออกสำหรับหน่วยเก็บข้อมูลความจูสูงแบบใหม่

พวกเขาประสบความสำเร็จในการพัฒนาหน่วยเก็บข้อมูลใหม่ในรูปแบบ นาโนฟิล์ม ที่มีความบางน้อยกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 80 เท่า มันสามารถเก็บข้อมูลได้ด้วยเทคโนโลยีทางด้านแสง โดยนาโนฟิล์มทีมีขนาดเพียง 10x10 ซม. ก็สามารถเก็บข้อมูลได้เทียบเท่าแผ่น DVD จำนวน 1,000 แผ่น และจากการคำนวณ มันก็น่าจะเก็บข้อมูลได้ราวๆ 8.5TB และการอ่านข้อมูลสามารถทำได้อย่างรวดเร็วที่ความเร็ว 1GB/s (กิกะไบต์ต่อวินาที) ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่าเป็น 20 เท่าเมื่อเทียบกับหน่วยความจำแบบ Flash

โดยรายละเอียดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Optical Materials Express ทีมวิจัยได้อธิบายถึงวิธีการทำงานของแผ่นฟิล์มรูปแบบใหม่นี้ มันใช้ลำแสงเลเซอร์เพื่อเขียนข้อมูลลงบนชั้นอนุภาคนาโนของโลหะเงินที่ฉาบอยู่บนวัสดุ Titanium dioxide ซึ่งเป็นแผ่นฟิล์มที่มีลักษณะของความเป็นสารกึ่งตัวนำ การเก็บข้อมูลทำในรูปแบบโฮโลแกรมสามมิติ ทำให้สามารถบีบอัดพื้นที่เก็บข้อมูลให้มีขนาดเล็กลงกว่าเทคโลโลยีการเก็บข้อมูลด้วยแสงรูปแบบอื่นๆ

มันเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นมาก แต่ความท้าทายคือการทำให้การเก็บข้อมูลรูปแบบนี้มีความเสถียร ซึ่งความพยายามครั้งก่อนๆ ในการพัฒนาหน่วยเก็บข้อมูลในรูปแบบคล้ายๆ กันนี้ พบว่ามันมีความเสถียรน้อยกว่าการเก็บข้อมูลรูปแบบอื่นๆ เพราะว่าข้อมูลจะถูกล้างออกถ้ามันโดนแสงรังสีอัลตร้าไวโอเลต ทำให้ไม่เหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลในระยะยาว แต่ทีมงานวิจัยในครั้งนี้ยืนยันว่า เทคโนโลยีของพวกเขานั้นทนทานต่อการโดนแสง นั่นหมายความว่าสามารถใช้งานภายนอกอาคารได้ หรือสามารถใช้งานได้ในสภาพที่รังสีรุนแรงกว่า อย่างเช่นในห้วงอวกาศได้เลย

ที่มา : www.digitaltrends.com
11/04/2018 By Thaiware.com