Page 1 of 1

เมื่อมนุษย์พยายาม ควบคุม"ดินฟ้าอากาศ"

Posted: 12 Apr 2013, 14:10
by brid.ladawan
เมื่อมนุษย์พยายาม ควบคุม"ดินฟ้าอากาศ"
« on: November 30, 2012, 02:20:39 pm »

เมื่อมนุษย์พยายาม ควบคุม"ดินฟ้าอากาศ"


ความพยายามของคนเราในการควบคุมสภาวะ ธรรมชาตินั้นไม่มีที่สิ้นสุดอย่างแท้จริง มีความพยายามกันมาเนิ่นนานแล้วในอันที่จะควบคุมการตกของฝน หรือหิมะ ยิ่งภาวะโลกร้อนรุนแรงมากขึ้น ดูเหมือนเทคโนโลยีเพื่อควบคุมดินฟ้าอากาศก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ในยุคโบราณมีความคิดเรื่องการควบคุมฝนเกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ ตั้งแต่ประเทศจีนเรื่อยไปจนถึงหลายประเทศในย่านตะวันออกกลาง ก่อนที่จะกลายเป็นจริงขึ้นมาได้ในเวลานี้ อย่างที่เราคุ้นเคยกันดีว่า "การทำฝนเทียม"

การทำฝนเทียมนั้นเริ่มมีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1940 ด้วยการใช้สารเคมี "ซิลเวอร์ ไอโอไดด์" (หรือสารเคมีอื่นๆ ที่ให้ผลในลักษณะเดียวกัน) เพื่อจำลองการเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำขึ้นให้มากพอที่จะตกลงมาเป็นฝน เครื่องมือที่ใช้เพื่อการส่งสารเคมีขึ้นสู่อากาศมีตั้งแต่การใช้ปืนใหญ่ จรวด เรื่อยไปจนถึงการใช้เครื่องบินโปรยสารเคมี นอกจากในเมืองไทยแล้วยังมีใช้กันอยู่ในหลายประเทศ อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย, ยูทาห์, โคโลราโด, และเนวาดา) หรือในรัสเซียเองก็มีฝูงบินเพื่อปฏิบัติการลักษณะนี้ แต่ด้วยวัตถุประสงค์แตกต่างออกไป เพราะใช้เพื่อการป้องกันไม่ให้หิมะตกหนักในกรุงมอสโก ในขณะที่จีนเคยสร้างความฮือฮาไว้เมื่อ 4 ปีก่อน ด้วยการใช้จรวดต่อต้านอากาศยานและปืนใหญ่ เพื่อให้เกิดฝนรอบนอก แต่ไม่ให้ตกในกรุงปักกิ่งระหว่างการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์

เทคโนโลยีในการทำฝนเทียมอีกแบบนั้นใช้แสงเลเซอร์ยิงขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อก่อให้เกิดการจับตัวกันเป็นหยดน้ำและเป็นฝนในที่สุด ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งเจนีวา ในสวิตเซอร์แลนด์ นำโดย เจอโรม คาสปาเรียน นักฟิสิกส์ ใช้เทคโนโลยีนี้ทดสอบการทำฝนเทียมเหนือลำน้ำโรน ด้วยการใช้อินฟราเรด เลเซอร์ ในการสร้างปฏิกิริยาทางเคมีที่ก่อให้เกิดหยดน้ำและตกลงมาเป็นฝน ผลปรากฏว่ามันก่อให้เกิดหยดน้ำได้จริง แต่ขนาดเล็กกว่าที่จะทำให้เกิดฝนได้ระหว่าง 10-100 เท่า

ในสหรัฐอเมริกา พืชผลที่เพาะปลูกมาทั้งปีอาจเสียหายไปภายในพริบตา เพราะพายุน้ำแข็งที่ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็งได้ภายในไม่กี่ นาทีที่พายุมาถึง ทำให้มีนักประดิษฐ์คิดค้น "ปืนใหญ่ต่อต้านพายุน้ำแข็ง" ขึ้นมา จดทะเบียนสิทธิบัตรเอาไว้ โดยใช้อุปกรณ์คล้ายปืนใหญ่ที่มีห้องสันดาปอยู่ภายใน ยิงคลื่นที่เกิดจากการระเบิดของก๊าซผสมกับอากาศเข้าใส่พายุก่อนที่มันจะ เดินทางมาถึงแหล่งเพาะปลูก

เทคโนโลยีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วเช่นกัน แต่มีปัญหาคล้ายๆ กับความพยายามอื่นๆ กล่าวคือ ได้ผลในพื้นจำกัดมากเสียจนไม่คุ้มค่า

ที่สหรัฐอเมริกาเช่นกันมีความพยายามคิดค้นหาวิธีการต่อสู้กับพายุ ทอร์นาโด ที่สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยอาศัยหลักการที่ว่า ทอร์นาโดนั้นหมุนวนเป็นเกลียวได้เพราะเกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิและ ความชื้นที่เกิดขึ้นในระดับความสูงที่แตกต่างกัน วิธีการที่มีการคิดค้นกันขึ้นและจดทะเบียนสิทธิบัตรเอาไว้แล้วก็คือ การส่งเครื่องบินไร้นักบิน บินฝ่าเข้าไปในระดับล่างของพายุหมุน เมื่อเครื่องบินถูกแรงลมกระแทกทำลาย มันจะปล่อยสารทำความเย็นที่ก่อให้เกิดความเย็นจัดออกมาเพื่อทำลายสมดุลของ ทอร์นาโด

แนวความคิดนี้ยังคงเป็นเพียงทฤษฎี ยังไม่มีการทดลองปฏิบัติจริงแต่อย่างใด

แม้แต่ บิล เกตส์ มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์เองก็ยังให้ความสนใจการควบคุมภาวะอากาศ เขาคิดค้นและจดสิทธิบัตรร่วมกับนักวิทยาศาสตร์หลายคนว่าด้วยแนวความคิดในการ ทำให้พายุเฮอริเคน (หรือไต้ฝุ่น) อ่อนกำลัง หรือกระทั่งยับยั้งมันเสียก่อนที่จะก่อตัวเป็นพายุรุนแรง แนวความคิดเรื่องนี้ ใช้การจู่โจมเข้าไปทำลายแหล่งที่มาของพายุโดยตรง นั่นคือ ความร้อนที่เกิดขึ้นในบรรยากาศระดับสูง ซึ่งเกิดจากการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของไอน้ำที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะไอน้ำดังกล่าวมาจากผิวน้ำหรือพื้นผิวมหาสมุทร แนวความคิดของเกตส์และพวกก็คือให้ใช้กองเรือจำนวนหนึ่งผสมอากาศอุ่นบริเวณ พื้นผิวน้ำ ด้วยน้ำเย็นที่ได้จากก้นทะเล หรือมหาสมุทร เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการระเหยกลายเป็นไอแล้วไปก่อตัวเป็นพายุเฮอริเคน ขึ้นมา

เช่นกัน ดูเหมือน บิล เกตส์ ยังไม่มีเวลามากพอที่จะทดลองใช้แนวความคิดนี้ แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาเอง

ขอบคุณ แหล่งที่มาหนังสือพิมพ์ มติชน
post : วันเสาร์ ที่ 11 สิงหาคม 2555 เวลา 9:45:02 น. by www.CreditOnHand.com
tag : ข่าวไอทีอัพเดท เมื่อมนุษย์พยายาม ควบคุม"ดินฟ้าอากาศ"