นักวิจัยผุดระบบ “อ่านความคิด” เตรียมใช้แทน “รหัสผ่าน”

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

นักวิจัยผุดระบบ “อ่านความคิด” เตรียมใช้แทน “รหัสผ่าน”

Post by brid.ladawan »

นักวิจัยผุดระบบ “อ่านความคิด” เตรียมใช้แทน “รหัสผ่าน”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 เมษายน 2556 15:10 น.

ผู้ใช้จะไม่ต้องพิมพ์รหัสผ่านทางแป้นพิมพ์อีกต่อไป แต่สามารถ"คิด"ถึงสิ่งที่ต้องการให้เป็นรหัสผ่านเพื่อยืนยันบุคคล
การจดจำรหัสผ่านของทุกบริการออนไลน์ให้ได้นั้นเป็นเรื่องน่ารำคาญของหลายคน ทั้งอักษรเล็กใหญ่ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษอีกสารพัด ปัญหานี้ทำให้นักวิจัยอเมริกันสร้างสรรค์วิธีที่ผู้ใช้จะไม่ต้องพิมพ์รหัสผ่านทางแป้นพิมพ์อีกต่อไป แต่สามารถ “คิด” ถึงสิ่งที่ต้องการให้เป็นรหัสผ่านเพื่อยืนยันบุคคล โดยแทนที่จะเป็น password ระบบนี้จะถูกเรียกว่า “passthought” แทน เพื่อสื่อความหมายถึงการใช้ความคิดเป็นรหัสผ่าน

ไอเดียการสร้างสรรค์รหัสผ่านพันธุ์ใหม่นี้เป็นของนักวิจัยสถาบัน UC Berkeley School of Information เคล็ดลับที่ทำให้เราสามารถใช้ความคิดแทนการพิมพ์รหัสผ่านคือการตรวจวัดคลื่นสมองด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ชีวภาพ ด้วยเทคโนโลยีนี้ นักวิจัยพบว่าความคิดจะสามารถเป็นรหัสผ่านในการยืนยันตัวบุคคลดิจิตอลได้ เพียงใช้อุปกรณ์เฮดเซ็ทสวมศรีษะไร้สายราคา 100 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3,000 บาทซึ่งเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านระบบบลูธูท

อุปกรณ์สวมศีรษะนี้จะติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ไว้ที่ส่วนหน้าผาก เพื่อรอรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมองหรือ electroencephalogram (EEG) ที่ส่งจากสมองของผู้ใช้ ซึ่งค่าสัญญาณนี้เองที่สามารถนำไปใช้แทนการยืนยันตัวบุคคลได้

นักวิจัยชี้ว่า ระบบยืนยันตัวบุคคลด้วยข้อมูลชีวภาพ เช่น การสแกนลายนิ้วมือหรือม่านตา นั้นมีความปลอดภัยสูง แต่เทคโนโลยีต้องการอุปกรณ์ราคาแพงและระบบที่มีต้นทุนสูงเช่นกัน ต่างจากระบบ “รหัสผ่านความคิด” ที่ต้องการเครื่องอ่านซึ่งใช้ชื่อว่า NeuroSky Mindset เท่านั้น ซึ่งอุปกรณ์นี้มองแล้วเหมือนชุดอุปกรณ์บลูทูธที่ใช้งานง่าย

จำยากจำเย็น ใช้คลื่นสมองแทนง่ายกว่า?
ขณะเดียวกัน คลื่นไฟฟ้าจากสมองของแต่ละคนนั้นมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร จุดนี้นักวิจัยชี้ว่าแม้ผู้ใช้ 2 คนจินตนาการถึงรหัสผ่านเดียวกัน แต่คลื่นไฟฟ้าสมองที่ได้ก็จะต่างกัน

การทดสอบพบว่าผู้ใช้สามารถจินตนาการถึงวัตถุที่เคลื่อนไหวขึ้นลง หรือการคิดถึงความลับส่วนตัว นอกจากนี้ยังสามารถใช้จังหวะการหายใจก็สามารถยืนยันตัวบุคคลได้ใน 10 วินาที

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยพบว่า คีย์หลักของรหัสผ่านความคิด passthoughts คือการค้นหาความคิดแปลกใหม่ที่ผู้ใช้จะไม่หมั่นนึกถึงอีกในชีวิตประจำวัน จุดนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบว่าการนึกถึงกีฬาที่ชอบเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมักจะเผลอเคลื่อนไหวตามท่าทางการเล่นกีฬานั้น ความคิดที่สามารถนำมาตั้งเป็นรหัสผ่านได้ง่ายคือการนึกถึงวัตถุหลายชิ้นและมีสีเฉพาะ รวมถึงการจิตนาการว่าตัวเองกำลังร้องเพลงที่ชอบอยู่

แน่นอนว่าระบบ passthoughts ยังต้องผ่านการพัฒนาอีกมาก ซึ่งยังไม่มีข้อมูลกำหนดการเชิงพาณิชย์ใดๆ ในขณะนี้
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”