Page 1 of 1

3 องค์การมหาชนใต้ปีกไอซีที "เป้าหมาย-อุปสรรค-คลื่นแทรกการเมื

Posted: 20 Apr 2013, 13:51
by brid.ladawan
3 องค์การมหาชนใต้ปีกไอซีที "เป้าหมาย-อุปสรรค-คลื่นแทรกการเมือง"

องค์การมหาชน เป็นหน่วยงานรัฐที่ตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นองค์กรที่ต้องการให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ สลัดการทำงานสไตล์ "ราชการ" ออกไป ซึ่งใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มีองค์การมหาชน 3 แห่ง พี่ใหญ่สุดคือ "ซิป้า" หรือสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ตั้งปี 2546) อีก 2 แห่งเพิ่งเกิด คือ "สรอ." หรือสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และ "สพธอ." สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ "ประชาชาติธุรกิจ" พาคุยกับหัวเรือใหญ่ทั้ง 3 แห่ง ดังนี้

ไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว
ผู้อำนวยการ ซิป้า

องค์การมหาชนต้องมีความคล่องตัว นำผู้บริหารมืออาชีพมาทำงาน 8 เดือนที่มารับตำแหน่งพบว่าซิป้าเป็นองค์การมหาชนที่ติดขัดกฎระเบียบเยอะมาก เป็นกฎที่คนใน

ซิป้าเขียนขึ้นเอง พยายามแก้อยู่ ต้องค่อย ๆ ไล่ไป ผมมาจากภาคเอกชนต้องค่อย ๆ เรียนรู้แนวทางนี้ อย่างเรื่องการผลักดันงบประมาณเป็นเรื่องที่ไม่ได้ดั่งใจมาก

ปีนี้ได้มา 305 ล้านบาท กลายเป็นว่างบฯมีตั้งไว้แต่ไม่ได้ใช้ บางส่วนติดขัดด้วยระบบราชการ ขณะที่ยุทธศาสตร์เดิมที่ทำไว้ไม่ครอบคลุมไปถึงนโยบายภาครัฐ

และนโยบายอาเซียน ทำให้งบฯที่ตั้งไว้เดิมไม่สอดคล้องจึงต้องปรับใหม่

กลายเป็นส่งผลกระทบใหญ่ที่ต้องทำให้เป็นรูปธรรมให้ได้ คือ ระบบสารบรรณทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐไปช่วยซัพพอร์ตให้ สกร.

ขณะที่แพลตฟอร์มกลางของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โลจิสติกส์ การแพทย์ การเกษตรต้องมี เป็นมาตรฐานกลางระบบไอทีที่จะนำมาใชให้ทุกคนเชื่อมโยงกันได้

อย่างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะเป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับจองโรงแรม ร้านอาหาร แพ็กเกจท่องเที่ยว ที่ Enduser จะเข้าไปใช้ได้ ซิป้าจะเข้าไปซัพพอร์ตให้ ททท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนั้น ส่วนไอเดียศูนย์กลางคอนเทนต์

เพื่อการศึกษาที่จะนำมาใช้บนแท็บเลตก็กำลังจะเปิดตัวเป้าหมายมูลค่าตลาดที่เคยตั้งเป้าไว้ รวมถึงจำนวนการจดสิทธิบัตร เท่าที่ดู

ขณะนี้เป็นไปได้ การส่งออกซอฟต์แวร์จะเพิ่มเป็น 5,000 ล้านบาท จากเดิม 3,000 ล้าน การจดสิทธิบัตรตั้งเป้าไว้ 2 ใบ อยู่ในกระบวนการแล้ว 1 ถ้าเป็นการจดลิขสิทธิ์น่าจะเพิ่มได้ 20 สิทธิ์

ขณะที่ประมาณการตลาด เดิมแยกเป็นส่วน คือ เอ็นเตอร์ไพรส์ 26,000 ล้านบาท โมบาย 1,400 ล้านบาท ไอทีเซอร์วิส 3,000 ล้านบาท เกม 8,000 ล้านบาท แอนิเมชั่น 2,000 กว่าล้านบาท อีเลิร์นนิ่ง 1,000 กว่าล้านบาท ปีนี้ทุกมิติต้องโตขึ้นหมด ซิป้าเคย

ติดอยู่ในรายชื่อองค์การมหาชนที่ควรยุบ เชื่อว่าจะหลุดจากลิสต์นี้ได้ และกลายเป็นองค์กรที่อยู่แถวหน้า ภายในช่วงที่ผมเป็น ผอ. ต้องเป็น 1 ใน 5 ขององค์การมหาชนแถวหน้าให้ได้ แต่สุดท้ายต้องดูผลงาน ถ้างานไม่ออกก็ควรออกไป

ที่บอกกันว่า การเมืองเข้ามาล้วงลูกเยอะ ตลอดเวลาที่ทำงานมาไม่มีเลย รัฐมนตรีไม่เคยล้วงลูก บอร์ดก็ยังเป็นชุดเก่าตั้งแต่สมัย รมต.จุติ ไกรฤกษ์ ปัญหาบอร์ด

เข้ามาล้วงลูกน้อยลง แต่จะบอกว่าล้วงลูกคงไม่ได้ เขามีสิทธิ์ในฐานะบอร์ดบริหาร หลายคนบอกว่า อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ซบเซาลง มีส่วนจากปัญหาซิป้า เพราะซิป้ามีปัญหาภายในมาตลอด เอกชนหลายรายมองว่า ซิป้าเอาตัวเองให้รอดก่อน แต่จุดนี้ ผมมองว่าซิป้าน่าจะรอด

ผลงานเด่นปีนี้คือ การจัดซอฟต์แวร์เอเชียเอ็กซ์โป 2013 (26-28 ก.ย.) เป็นงานซอฟต์แวร์เอ็กซ์โปตั้งเป้าให้เป็นงานประจำปี รวม TAM แต่ต้องเป็น Software Only หนนี้เป็นการจัดระดับเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมกับสมาคมต่าง ๆ งบฯซิป้า 30 ล้านบาท ในงานมีทั้งโชว์นวัตกรรมและงานสัมมนางาน TAM รวมถึงงานเกี่ยวกับดิจิทัลคอนเทนต์ที่ผ่านมา มีปัญหาต้องหยุดไปเพราะ สตง.สอบ แต่งานนี้จะจัดหลังจากทุกอย่างโปร่งใส ไม่ว่าจะเป็นงบฯ อีเวนต์หรือโรดโชว์ต่างประเทศ แต่ละปีไม่เกิน 60 ล้านบาท แชร์กันระหว่างซิป้ากับธุรกิจ ไม่ใช่สนับสนุนคนเดิมซ้ำ ๆ เน้นไปที่ใช้งบฯอุดหนุนนักศึกษาที่มีฝีมือ

สุรางคณา วายุภาพ
ผู้อำนวยการ สพธอ.

สพธอ. เป็นองค์การมหาชน แต่การทำงานไม่คล่องตัวอย่างแท้จริงด้วยข้อจำกัดของกลไกภาครัฐ ปัญหาสำคัญคือ เมื่อผลักดันงานแต่ละเรื่องหลุดจากเราไปแล้วยังต้องเข้าสู่กระบวนการอีกเยอะแยะ ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

ดังนั้นโดยตัว สพธอ.เอง ความเป็นองค์การมหาชนอาจทำให้คล่องตัวภายใน แต่การผลักดันเพื่อเสนอข้อมูลหรือไอเดียขึ้นสู่ระดับบนยังมีขั้นตอนอีกเยอะแยะ

ส่วนเรื่องงบฯเป็นปัญหาเบอร์ 1 เสนอไป 5 โปรเจ็กต์ ด้านไอทีซิเคียวริตี้ได้หมด แต่ด้านโครงสร้างพื้นฐานโดนตัดเกลี้ยง ไม่ให้เลย ทำให้ขาดกลไกหรือเครื่องมือในการทำงาน โปรเจ็กต์ที่โดนตัดส่วนใหญ่คือ อีทรานแซ็กชั่น และอีคอมเมิร์ซ สิ่งที่ สพธอ.จะทำคือ มองเป็นภาพใหญ่เพื่อให้แก้ปัญหาให้ได้ว่า ต้องทำเป็น ไม่ใช่แค่ทำได้ แต่ต้องทำอีคอมเมิร์ซได้ และเก่ง

ปัญหาใหญ่ที่เจอคือ ต้องให้ความสำคัญกับซิเคียวริตี้ และออนไลน์คอมซูเมอร์โปรเท็กชั่น ถ้ามีคนถูกโกงแต่ไม่มีใครแก้ปัญหา ใครจะกล้าซื้อขายผ่านอีคอมเมิร์ซ อีทรานแซ็กชั่นก็ไม่เกิด หรือการโปรโมตอินฟรา สตรักเจอร์ คนอื่นอาจทำเรื่องการทำเว็บเพื่อขาย แต่ สพธอ.มองการทำมาตรฐานภาษา คนไทยอยากขายของ แต่มีต่างชาติอยากมาซื้อจะสื่อสารอย่างไร เราอยากทำมาตรฐานการแปลภาษาผ่านแบบฟอร์มของการสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือให้เขาเปิดตลาดได้ แต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุน

กำลังคนก็มีปัญหา สพธอ.เป็นหน่วยงานตั้งใหม่ โดนฟรีซแล้ว ต้องการ 200 ได้ 96 คน จึงขาดทุกด้าน ทั้งคนที่มียังอยู่

ไม่ทน คนรุ่นใหม่ไม่ยอมทนอะไรนาน ๆ เท่าที่สำรวจพบว่า แรงจูงใจเรื่องค่าตอบแทนเป็นปัญหาท้าย ๆ แปลว่าคนพอใจสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นรัฐจ๋า

1 ปี 11 เดือน ที่ตั้งมาวัตถุประสงค์คือโปรโมตธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ แต่งานส่วนนี้เราไม่ค่อยได้ทำ โดนตัดงบประมาณไปหมด แต่เน้นงานหลังบ้านที่จะเข้าไปช่วยให้ทุกหน่วยงานขายของออนไลน์โดยมีความมั่นคงปลอดภัย เพราะมองว่า ถ้ากระทรวงอุตสาหกรรมหรือพาณิชย์โปรโมตไปแล้วมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อ ใครจะทำต่อ

อย่างโครงการพรินต์เอาต์ (ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการรับรองสิ่งพิมพ์ออก) ของกระทรวงพาณิชย์ เราก็ไปซัพพอร์ต หรือของแบงก์ชาติ

เรื่องมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล e-payment ก็ทำให้ ปีแรกเน้นสร้างบ้านให้เป็นระบบ แก้ปัญหาคนขาด งบฯไม่มี เชื่อว่า ผลงานที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน MPMS เรื่อง Payment มาตรฐานซิเคียวริตี้ กฎหมายเกี่ยวกับการพรินต์เอาต์ การผลักดันแก้ปัญหาฟิชชิ่ง ถือว่าน่าพอใจเป็นงานหลังบ้านที่สำคัญ ต้องปลั๊กอินกับโครงสร้างพื้นฐาน แต่คนไม่ค่อยพูดถึงเป้าปีนี้ แม้ฟิชชิ่งไม่ลดแต่จะทำให้หลุดจาก 10 อันดับแรกของโลกได้ จากอันดับ 4 สิ้นปีน่าจะลดลงได้ 2 อันดับ เท่าที่ประเมินปีที่แล้ว

ลดมูลค่าความเสียหายได้หลายพันล้านบาท สิ่งที่ต้องเร่งคือ โปรโมตการทำธุรกรรมผ่านเน็ตอย่างรู้เท่าทัน สร้างความ

น่าเชื่อถือ และเน้นที่หน่วยงานและผู้ประกอบการให้มีระบบซิเคียวริตี้มั่นคงปลอดภัย มีการกำกับดูแลเข้มขึ้น ตอนนี้มีกฎหมายใหม่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย เป็นกฎหมายลูก พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ ที่หน่วย งานอินฟราสตรักเจอร์ เช่น น้ำ ไฟ ต้องดูแลความมั่นคงของระบบ

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด
ผู้อำนวยการ สรอ.

การบริหารงานภายใน สรอ.ค่อนข้างลงตัวแล้ว ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ แต่งานและบุคลากรส่วนใหญ่โอนมาจาก
สบทร. (สำนักงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ) ซึ่งดำเนินงานมา 15 ปีแล้ว รูปแบบการเป็นองค์กรมหาชนตอบโจทย์ได้กว้างกว่าตอนเป็น สบทร. ซึ่งเราเพิ่มส่วนงานที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น การมองไปในอนาคตว่า ทิศทางการพัฒนา e-government ของประเทศควรเป็นอย่างไร ทิศทางการพัฒนาของโลกเป็นอย่างไร

จะได้ปรับตัวถูก โดยเราเตรียมเสนอแนะกับกระทรวงไอซีทีให้เสนอรัฐบาลว่า อีก 5 ปีข้างหน้าต้องเตรียมตัวเรื่องอะไรบ้าง

ในแง่กำลังคนและงบประมาณ ถือว่าน่าพอใจ สรอ.ไม่สามารถทำเองทั้งหมด ต้องอาศัยพาร์ตเนอร์ ประเด็นคือต้องจัดการพาร์ตเนอร์ที่ต้องทำงานร่วมกันอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น กสท โทรคมนาคม ทีโอที หรือเอกชน ร่วมถึงอีก 2 องค์กรมหาชนใต้สังกัดที่ต้องช่วยกันผลักดันทั้งทางกฎหมายและการประสานกับเอกชน ที่จะมามีส่วนเยอะในการเปิด Software as a Service เปิด เม.ย.-พ.ค. แอปสโตร์เปิด มิ.ย.

พนักงานมีอยู่ราว 200 คน ที่หลายองค์การมหาชนมีปัญหาเรื่องการบริหารไม่คล่องตัว เพราะเริ่มจากศูนย์ แต่ สรอ.ใช้แพตเทิร์นการบริหารของ สบทร.เดิมและย้ายจากกระทรวงวิทย์มาอยู่ใต้ไอซีที ตั้งมาตอนรัฐบาลประชาธิปัตย์ถึงวันนี้

ไม่ได้มีปัญหา เพราะ สรอ.เอางานเป็นตัวตั้ง รัฐบาลพรรคไหนมา ขอบเขตงานชัดเจนเหมือนเดิม อย่างแผน ICT2020 แผนแม่บทไอซีทีฉบับที่ 2 เป็นกรอบให้ทำงาน จึงไม่ได้ห่วงว่าฝ่ายการเมืองจะเข้ามายุ่ง เพราะทำแผนชาติ ทุกรัฐบาลต้องทำตามแผนชาติ

ซึ่งด้านไอซีทีมีกรอบไปในแนวทางเดียวกันอยู่แล้ว ถ้าแผนชาติไม่โดนรื้อทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐบาลก็ไม่มีปัญหา แต่ละรัฐบาลอาจชูโครงการที่จะทำก่อนทำหลังต่างกันก็ไม่เป็นไร

1 ปีที่ผ่านมา ภารกิจ สรอ.คือบริการงานไอทีภาครัฐ ในภาพรวมได้ผลตอบรับดีมาก มีหน่วยงานรัฐมาใช้บริการโครงข่ายหรือคลาวด์ที่เป็นระบบกลางเป็นจำนวนมาก ถ้าเทียบ KPI ได้ตามเป้าทุกเรื่อง โครงข่ายภาครัฐ (GIN) ที่ระบุว่า ต้องต่อได้ 1,000 Link สรอ.ก็เชื่อมต่อ 1,195 Link

อุปสรรคสำคัญอยู่ที่กฎระเบียบ กฎหมายเฉพาะของแต่ละหน่วยงานที่ต้องการนำไอทีไปใช้ พูดง่าย ๆ ว่า เทคนิคพร้อม แต่กฎระเบียบไม่รองรับ เช่น ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผลักดันให้หน่วยงานใช้แต่กฎระเบียบกำหนดให้ต้องมีเอกสารกระดาษควบคู่ไปด้วยทำให้ต้องเก็บข้อมูล 2 ระบบปีนี้ที่ สรอ.จะพัฒนาบริการให้ประชาชนผ่านบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด นำร่องที่บริการข้อมูลเกษตรกร ต้องแก้กฎระเบียบหลายหน่วยงานเพื่อให้ทำ e-service ได้โดยไม่ผิดกฎ

ส่วนระบบคลาวด์ภาครัฐช่วยแก้ปัญหาการจัดซื้อที่ต้องใช้เวลาเป็นปี ๆ ใช้ระบบกลางเข้าใช้ได้ใน 1 อาทิตย์ ปีนี้ สรอ.
ได้งบฯ 1,500 ล้านบาท มากกว่าปีก่อน

ปี 2557 น่าจะได้เยอะขึ้นต้องลงทุนคลาวด์และ GIN ระบบคลาวด์ สรอ.ไม่ได้สร้างฮาร์ดแวร์เอง แต่เป็นพาร์ตเนอร์กับ กสท โทรคมนาคม เราบริหารระบบให้ทำงานร่วมกันได้ มีมาตรฐานกลางเชื่อมต่อกันไม่ต้องเสียเวลาจัดซื้อ ร่วมมือได้ทั้งภาครัฐเอกชน แชร์ใช้ร่วมกันให้เกิด Economies of Scale

ปีที่แล้วมี KPI ในการประหยัดเงินภาครัฐไว้ 500 ล้านบาท มีหน่วยงานรัฐมาใช้กว่า 100 ถ้าประเมินว่าเซิร์ฟเวอร์รวมงบฯพัฒนาระบบต้องใช้เงิน 3-4 ล้านบาท มาใช้ระบบกลางประหยัดได้ 400 ล้าน ยังมี GIN เมล์โกไทย ถ้าไปตั้งเมล์เซิร์ฟเวอร์เองใช้งบฯ 5 แสน-1 ล้าน ปีนี้ตั้งเป้าประหยัดงบฯอย่างน้อย 1,000 ล้าน

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์