Page 1 of 1

นักวิจัยไทยไทยคว้ารางวัลระดับโลก

Posted: 20 Apr 2013, 13:54
by brid.ladawan
นักวิจัยไทยไทยคว้ารางวัลระดับโลก

นักประดิษฐ์ไทยยกคณะนับสิบโชว์ผลงานวิจัยในงานแสดงระดับอินเตอร์ ที่สวิส กวาดรางวัลระดับซูเปอร์โกลด์ ทั้งเหรียญทอง และรางวัลเกียรติยศ ถึง 3 ผลงาน เหรียญทองอีก 11

วันนี้ ( 19 เม.ย.) ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ แถลงว่า ได้นำนักประดิษฐ์และผลงานร่วมแสดงในงาน นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ เจนีวาครั้งที่ 41 หรือ 41 st International Exibition of Inventions Geneva ที่จัดขึ้นร ะหว่างวันที่ 10 - 14 เมย.ที่กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธ์รัฐสวิส โดยมีนักประดิษฐ์จากภาครัฐ เอกชน และสภาบันการศึกษาทั่วโลกร่วประกวด มากกว่า 1,000 ชิ้น โดยผลงานของนักประดิษฐ์จากไทย จาก 14 หน่วยงาน 37ผลงาน ที่ส่งเข้าประกวด ใน 11 กลุ่ม ได้รางวัล เหรียญทองเกียรติยศ 3 ผลงาน รางวัลเหรียญทอง 11 ผลงาน เหรียญเงิน 12 ผลงาน เหรียญทองแดง 9 ผลงาน และยังได้รางวัล สเปเชียล ไพรซ์ จากประเทศต่างๆ เช่น ไต้หวัน 4 ผลงาน สาธารณรัฐเกาหลี 3 ผลงาน สาธารณ รัฐอิสลามอิหร่าน 3 ผลงาน ประเทศมาเลเซีย 1 ผลงาน และ 2 รางวัลจาก สถาบันนักประดิษฐ์นานาชาติ

รางวัลเหรียญทองเกียติยศ 3 ผลงาน ได้แก่ 1อุปกรณ์ช่วยพ่นยาชนิดทำได้ด้วยตนเอง ของ รศ.พญ.อรวรรณ โพชนุกูล และ นายปริญญา จันทร์หุณีย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) 2.หุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กออทิสติกส์ ของ ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ และ น.ส.อรวรรณ คำดี ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รางวัล สเปเชียล ไพรซ์ จากไต้หวัน อีกด้วย 3. ลูกหมุนระบายอากาศผลิตกระแสไฟฟ้าและมอเตอร์ ของนายระพี บุญบุตร และดร.เอกกมล บุญยะผลานันท์ หจก.อาทิตย์ เวนติเลเตอร์ ซึ่งได้รางวัลพิเศษ สเปเชียลไพรซ์ จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลี อีกด้วย

ส่วนรางวัลเหรียญทอง 11 ผลงาน ได้แก่ 1. การใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในการกักเก็บสารสำคัญจากพืช ด้วยเบต้าไซโคลเด็กซ์ตริน ของ ผศ.ดร.พิษณุ ตุ้จินดา และรศ.ดร.ลักขณา หล่อตระกูล แห่งสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รางวัลพิเศษสเปเชียลไพรซ์ จากประเทศมาเลเซีย 2.ข้าววรางกูร ของ นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการผลิตวัสดุซับเลือดจากการผ่าตัด้วยข้าวเจ้า 3.ชุดทดสอบ ซาลโมเนลล่า ดีเอ็นเอ เทสต์คิด ของ รศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ และคณะจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 4.การพัฒนมระบบรักษาสภาพน้ไยางไร้แอมโมเนียสำหรับผลิตภัณฑ์จากจุกนมยาง ของ ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 5.การพัฒนาระบบจัดการน้ำยางสกิมและของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำยางข้น ของดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

6.ฝาจุกสำหรับภาชนะบรรจุของเหลว ช่วยป้องกันการสำลักระหว่างริน ของ ดร.พัชรี ลาภสุริยกุล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 7.เอนไซม์ฟอกเยื่อกระดาษจากแบคทีเรียในลำไส้ปลวก ของ ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชือ จากห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. 8.อุปกรณ์ช่วยผ่าตัดโรคพังผืดกดรัดสเนประสาทข้อมือ ของ ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 9.เครืองเจียระไน รูใน ของนายบุญทัน พุฒลา จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 10.โทรศัพท์สำหรับผู้พิการทางการได้ยินของนายพิเชษฐ์ พานเที่ยง และคณะจากส ถาบันนวัตกรรม บริษัททีโอทีจำกัด(มหาชน) 11.เครื่องกำจัดการสะสมตะกอนน้ำมันดิบ ปตท. ของ ดร.วิชาพันธ์ วีระภาคย์การุณ จากสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)
ศ.นพ.สุทธิพร กล่าวว่า ในการต่อยอด นำงานวิจัยไปใช้เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์กับผู้ประกอบการเอกชนนั้น ขณะนี้หน่วยงานสนับสนุนทางการวิจัยกำลังกำหนดหลักการเพื่อให้นำไปใช้ได้ โดยเฉพาะงานที่มีสิทธิบัตร จะเปิดให้มาเจรจาและเอื้อให้เอกชนนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) สามารถมาขอดูผลงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ได้ โดยเข้าไปดูข้อมูลโดยย่อมได้ที่http://thai-explore.net/

ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2556 เวลา 18:15 น.