พิมพ์สามมิติเปลี่ยนโลก - 1001
Posted: 20 Apr 2013, 14:40
พิมพ์สามมิติเปลี่ยนโลก - 1001
สวัสดีครับ วันนี้ผมจะขอเล่าถึงของเล่นชิ้นล่าสุดที่ผมเพิ่งจะจัดหามาให้นิสิตได้ลองเล่นกัน
ของชิ้นนั้นก็คือเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printer) นั่นเอง เครื่องพิมพ์สามมิตินั้นก็เหมือนกับเครื่องพิมพ์ทั่วไป ต่างกันแค่ว่าเครื่องพิมพ์ทั่วไปนั้นพิมพ์หมึกลงไปบนกระดาษ แต่เครื่องพิมพ์สามมิตินั้นพิมพ์ “วัสดุ” บางอย่างออกมาเป็นรูปทรงสามมิติ จริง ๆ แล้วเครื่องพิมพ์สามมิตินี้ก็ไม่ได้เป็นอุปกรณ์ใหม่อะไร เพียงแต่ว่าในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ ราคาของเครื่องพิมพ์สามมิติถูกลงมาก อย่างเครื่องที่ผมเพิ่งจัดหามานี้ก็มีราคาพอ ๆ กันกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์รุ่นที่มีราคาแพง ๆ หน่อยที่เรา ๆ ท่าน ๆ ใช้กันอยู่ทุกวันนั่นเอง
หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์สามมิติคือการใช้ “วัสดุ” พิมพ์ที่สามารถละลายได้ด้วยความร้อน ตัวอย่างเช่นพลาสติกประเภท ABS ซึ่งเครื่องพิมพ์จะทำการหลอมพลาสติกนี้และพ่นเส้นที่เกิดจากพลาสติกที่หลอมละลายนี้ออกมาเป็นรูปทรงต่าง ๆ โดยการขยับหัวพิมพ์ไปมา เมื่อพลาสติกที่ละลายนี้ออกมาสัมผัสกับอากาศ มันก็จะแข็งตัวเป็นรูปร่างต่าง ๆ นั่นเอง ตัวอย่างเช่นผมเพิ่งจะพิมพ์เคสของโทรศัพท์
ไอโฟน ขึ้นมาก่อนที่จะเขียนบทความนี้พอดี โดยแน่นอนว่า เคสที่พิมพ์ขึ้นมานั้นคุณภาพสู้ไม่ได้กับเคสราคาแพงต่าง ๆ แต่ต้นทุนวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์ของผมนั้นไม่ถึง 20 บาท
ความฝันของการใช้งานระบบพิมพ์สามมิติก็คือเราอยากได้อุปกรณ์ที่สามารถผลิตอะไรขึ้นมาก็ได้ หรือคิดง่าย ๆ ว่ามันเป็นโรงงานอัจฉริยะในบ้านของเรา ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากได้โทรศัพท์สักเครื่องหนึ่ง เราก็เพียงแค่ดาวน์โหลดแม่แบบของโทรศัพท์ดังกล่าว และให้เครื่องพิมพ์ของเราพิมพ์โทรศัพท์ทั้งเครื่องออกมา ซึ่งถึงแม้ตอนนี้เรายังไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะว่าเครื่องพิมพ์สามมิติที่มีในปัจจุบันยังไม่มีความละเอียดมากเพียงพอที่จะพิมพ์ IC หรือ chip ต่าง ๆ ขึ้นมาได้ และการพิมพ์วัสดุบางชนิดยังไม่สามารถทำได้ แต่ข้อจำกัดเหล่านี้ก็กำลังถูกแก้ไขไปเรื่อย ๆ ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ถึงตรงนี้ ผู้อ่านบางท่านก็อาจจะสงสัยขึ้นมาว่าแล้วไอ้ระบบการพิมพ์สามมิตินี้มันแตกต่างจากโรงงานที่ผลิตของทั่วไปอย่างไร หรือว่ามันมีผลกระทบอะไรต่อชีวิตของเรา เพราะว่ามันก็เหมือนกับเราย่อโรงงานมาอยู่ในบ้านเท่านั้นเอง
ก่อนอื่นก็ต้องขอเล่าเรื่องของคนที่ชื่อว่าโยฮันน์ กูเทนแบร์กให้ฟังกันก่อนครับ กูเทนแบร์กเป็นนักประดิษฐ์ที่ได้พัฒนาวิธีการพิมพ์แบบที่ใช้แม่พิมพ์ตัวอักษร (Movable Type) ขึ้นมาเป็นคนแรกในยุโรป (การพิมพ์แบบที่ใช้แม่พิมพ์ตัวอักษรนั้นมีขึ้นมาในจีนและเกาหลีมาหลายร้อยปีก่อนยุคสมัยของกูเทนแบร์ก แต่ไม่ได้แพร่หลายเพราะวิธีการนั้นยังยุ่งยากแถมตัวอักษรภาษาจีนก็ซับซ้อนมาก) วิธีการพิมพ์ของกูเทนแบร์กนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ หนังสือนั้นมีมานานแล้ว และการทำสำเนาของหนังสือก็เป็นเรื่องที่ทุกคนรู้กันว่าเป็นไปได้ โดยการใช้ เพียงแต่ว่ากูเทนแบร์กนั้นทำให้การ “พิมพ์” หรือการผลิตหนังสือเป็นจำนวนมากนั้นทำได้ง่ายและถูกมาก และเทคโนโลยีการพิมพ์นี้ก็ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติการพิมพ์ซึ่งนำไปสู่การเผยแพร่ความรู้ไปสู่มวลชน เนื่องจากความรู้นั้นสามารถส่งต่อกันได้ผ่านการพิมพ์ และนำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ในที่สุด
ระบบการพิมพ์สามมิตินั้นก็เทียบกันได้กับการเกิดขึ้นของ Movable Type นั่นเอง การพิมพ์สามมิติทำให้คนทั่ว ๆ ไปเช่นผมหรือท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดแม่แบบและทำการพิมพ์สิ่งต่าง ๆ ออกมาได้ด้วยตัวเอง การสร้างของต่าง ๆ จะไม่ถูกจำกัดให้ขึ้นอยู่กับโรงงานเท่านั้น แต่ทุก ๆ คนมีความสามารถที่จะผลิตของต่าง ๆ ขึ้นมาได้ทันที ถ้าท่านผู้อ่านมีไอเดียที่จะผลิตของอะไรบางอย่างขึ้นมา ท่านผู้อ่านไม่จำเป็นต้องลงทุนจ้างโรงงาน เพียงแค่วาดแบบขึ้นมาแล้วสั่งพิมพ์ก็จะได้ของตามที่ต้องการทันที มันทำให้การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ทำได้ง่ายดายขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม เหรียญมันมีสองด้านเสมอการพิมพ์สามมิตินั้นทำให้เราสามารถสร้างของต่าง ๆ ได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น แต่จะสร้างอะไรนั้นมันขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ให้เราดาวน์โหลดแม่แบบของส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาวุธปืน ซึ่งแทบจะทำให้เราสามารถพิมพ์ปืนขึ้นมาได้เกือบครบทั้งกระบอก สำหรับคำถามที่ว่าการพิมพ์ของดังกล่าวขึ้นมานั้นเป็นเรื่องที่เหมาะสมหรือถูกต้องหรือไม่ ผมขอยกให้เป็นหน้าที่ของคุณผู้อ่านลองพิจารณาดูก็แล้วกันครับ
สำหรับผม ตอนนี้ขอไปสนุกกับการพิมพ์ของเล่นต่าง ๆ ออกมาก่อนดีกว่า.
นัทที นิภานันท์
nattee.n@chula.ac.th
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.facebook.com/1001FanPage
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2556 เวลา 00:00 น.
สวัสดีครับ วันนี้ผมจะขอเล่าถึงของเล่นชิ้นล่าสุดที่ผมเพิ่งจะจัดหามาให้นิสิตได้ลองเล่นกัน
ของชิ้นนั้นก็คือเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printer) นั่นเอง เครื่องพิมพ์สามมิตินั้นก็เหมือนกับเครื่องพิมพ์ทั่วไป ต่างกันแค่ว่าเครื่องพิมพ์ทั่วไปนั้นพิมพ์หมึกลงไปบนกระดาษ แต่เครื่องพิมพ์สามมิตินั้นพิมพ์ “วัสดุ” บางอย่างออกมาเป็นรูปทรงสามมิติ จริง ๆ แล้วเครื่องพิมพ์สามมิตินี้ก็ไม่ได้เป็นอุปกรณ์ใหม่อะไร เพียงแต่ว่าในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ ราคาของเครื่องพิมพ์สามมิติถูกลงมาก อย่างเครื่องที่ผมเพิ่งจัดหามานี้ก็มีราคาพอ ๆ กันกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์รุ่นที่มีราคาแพง ๆ หน่อยที่เรา ๆ ท่าน ๆ ใช้กันอยู่ทุกวันนั่นเอง
หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์สามมิติคือการใช้ “วัสดุ” พิมพ์ที่สามารถละลายได้ด้วยความร้อน ตัวอย่างเช่นพลาสติกประเภท ABS ซึ่งเครื่องพิมพ์จะทำการหลอมพลาสติกนี้และพ่นเส้นที่เกิดจากพลาสติกที่หลอมละลายนี้ออกมาเป็นรูปทรงต่าง ๆ โดยการขยับหัวพิมพ์ไปมา เมื่อพลาสติกที่ละลายนี้ออกมาสัมผัสกับอากาศ มันก็จะแข็งตัวเป็นรูปร่างต่าง ๆ นั่นเอง ตัวอย่างเช่นผมเพิ่งจะพิมพ์เคสของโทรศัพท์
ไอโฟน ขึ้นมาก่อนที่จะเขียนบทความนี้พอดี โดยแน่นอนว่า เคสที่พิมพ์ขึ้นมานั้นคุณภาพสู้ไม่ได้กับเคสราคาแพงต่าง ๆ แต่ต้นทุนวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์ของผมนั้นไม่ถึง 20 บาท
ความฝันของการใช้งานระบบพิมพ์สามมิติก็คือเราอยากได้อุปกรณ์ที่สามารถผลิตอะไรขึ้นมาก็ได้ หรือคิดง่าย ๆ ว่ามันเป็นโรงงานอัจฉริยะในบ้านของเรา ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากได้โทรศัพท์สักเครื่องหนึ่ง เราก็เพียงแค่ดาวน์โหลดแม่แบบของโทรศัพท์ดังกล่าว และให้เครื่องพิมพ์ของเราพิมพ์โทรศัพท์ทั้งเครื่องออกมา ซึ่งถึงแม้ตอนนี้เรายังไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะว่าเครื่องพิมพ์สามมิติที่มีในปัจจุบันยังไม่มีความละเอียดมากเพียงพอที่จะพิมพ์ IC หรือ chip ต่าง ๆ ขึ้นมาได้ และการพิมพ์วัสดุบางชนิดยังไม่สามารถทำได้ แต่ข้อจำกัดเหล่านี้ก็กำลังถูกแก้ไขไปเรื่อย ๆ ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ถึงตรงนี้ ผู้อ่านบางท่านก็อาจจะสงสัยขึ้นมาว่าแล้วไอ้ระบบการพิมพ์สามมิตินี้มันแตกต่างจากโรงงานที่ผลิตของทั่วไปอย่างไร หรือว่ามันมีผลกระทบอะไรต่อชีวิตของเรา เพราะว่ามันก็เหมือนกับเราย่อโรงงานมาอยู่ในบ้านเท่านั้นเอง
ก่อนอื่นก็ต้องขอเล่าเรื่องของคนที่ชื่อว่าโยฮันน์ กูเทนแบร์กให้ฟังกันก่อนครับ กูเทนแบร์กเป็นนักประดิษฐ์ที่ได้พัฒนาวิธีการพิมพ์แบบที่ใช้แม่พิมพ์ตัวอักษร (Movable Type) ขึ้นมาเป็นคนแรกในยุโรป (การพิมพ์แบบที่ใช้แม่พิมพ์ตัวอักษรนั้นมีขึ้นมาในจีนและเกาหลีมาหลายร้อยปีก่อนยุคสมัยของกูเทนแบร์ก แต่ไม่ได้แพร่หลายเพราะวิธีการนั้นยังยุ่งยากแถมตัวอักษรภาษาจีนก็ซับซ้อนมาก) วิธีการพิมพ์ของกูเทนแบร์กนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ หนังสือนั้นมีมานานแล้ว และการทำสำเนาของหนังสือก็เป็นเรื่องที่ทุกคนรู้กันว่าเป็นไปได้ โดยการใช้ เพียงแต่ว่ากูเทนแบร์กนั้นทำให้การ “พิมพ์” หรือการผลิตหนังสือเป็นจำนวนมากนั้นทำได้ง่ายและถูกมาก และเทคโนโลยีการพิมพ์นี้ก็ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติการพิมพ์ซึ่งนำไปสู่การเผยแพร่ความรู้ไปสู่มวลชน เนื่องจากความรู้นั้นสามารถส่งต่อกันได้ผ่านการพิมพ์ และนำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ในที่สุด
ระบบการพิมพ์สามมิตินั้นก็เทียบกันได้กับการเกิดขึ้นของ Movable Type นั่นเอง การพิมพ์สามมิติทำให้คนทั่ว ๆ ไปเช่นผมหรือท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดแม่แบบและทำการพิมพ์สิ่งต่าง ๆ ออกมาได้ด้วยตัวเอง การสร้างของต่าง ๆ จะไม่ถูกจำกัดให้ขึ้นอยู่กับโรงงานเท่านั้น แต่ทุก ๆ คนมีความสามารถที่จะผลิตของต่าง ๆ ขึ้นมาได้ทันที ถ้าท่านผู้อ่านมีไอเดียที่จะผลิตของอะไรบางอย่างขึ้นมา ท่านผู้อ่านไม่จำเป็นต้องลงทุนจ้างโรงงาน เพียงแค่วาดแบบขึ้นมาแล้วสั่งพิมพ์ก็จะได้ของตามที่ต้องการทันที มันทำให้การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ทำได้ง่ายดายขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม เหรียญมันมีสองด้านเสมอการพิมพ์สามมิตินั้นทำให้เราสามารถสร้างของต่าง ๆ ได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น แต่จะสร้างอะไรนั้นมันขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ให้เราดาวน์โหลดแม่แบบของส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาวุธปืน ซึ่งแทบจะทำให้เราสามารถพิมพ์ปืนขึ้นมาได้เกือบครบทั้งกระบอก สำหรับคำถามที่ว่าการพิมพ์ของดังกล่าวขึ้นมานั้นเป็นเรื่องที่เหมาะสมหรือถูกต้องหรือไม่ ผมขอยกให้เป็นหน้าที่ของคุณผู้อ่านลองพิจารณาดูก็แล้วกันครับ
สำหรับผม ตอนนี้ขอไปสนุกกับการพิมพ์ของเล่นต่าง ๆ ออกมาก่อนดีกว่า.
นัทที นิภานันท์
nattee.n@chula.ac.th
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.facebook.com/1001FanPage
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2556 เวลา 00:00 น.