แผน"USO"2หมื่นล. ลงทุน"เน็ต-สื่อสาร" นำร่องประมูล2จว.

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

แผน"USO"2หมื่นล. ลงทุน"เน็ต-สื่อสาร" นำร่องประมูล2จว.

Post by brid.ladawan »

แผน"USO"2หมื่นล. ลงทุน"เน็ต-สื่อสาร" นำร่องประมูล2จว.

เกาะติดเงินกองทุน USO "กสทช." กางแผนลงทุน 5 ปี 2 หมื่นล้าน ขยายลงทุนทั่วถึงทั่วประเทศ ประเดิมเปิดประมูล 2 จังหวัด "พิษณุโลก-หนองคาย" ต.ค.นี้ แยก "โทรสาธารณะ-บรอดแบนด์" กว่า 400 ล้านบาท ส่วนงบฯอีก 150 ล้านที่เปิดให้ผู้สนใจยื่นขอทุนสนับสนุน รอลุ้นบอร์ดอนุมัติ 14 ส.ค.นี้ ก่อนประกาศผล 20 โครงการผ่านคัดเลือก

พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สำนักงาน กสทช.ได้ประกาศแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานทั่วไป และบริการเพื่อสังคม (USO) ปี 2555-2559 แล้ว ใน 5 ปีนี้ตั้งงบฯดำเนินงาน 2 หมื่นล้านบาท ขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขั้นต่ำ 2 Mbps. ครอบคลุมประชากร 80% ให้คนพิการและผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงการใช้อินเทอร์เน็ตได้ และที่ประชุมบอร์ด กสทช. ได้อนุมัติข้อกำหนดทางเทคนิค (TOR) ตามแนวทางให้บริการ USO รูปแบบใหม่ 2 จังหวัดนำร่อง คือ พิษณุโลกและหนองคายแล้ว คาดว่าจะลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนจัดประชุมชี้แจง TOR ต่อผู้ที่สนใจต้น ก.ย.นี้ และ 18 ก.ย. จะเสนอที่ประชุม กสทช.อนุมัติเริ่มกระบวนการจัดจ้าง เพื่อกำหนดวันเปิดให้เอกชนยื่นซองประกวดราคาในต้นเดือน ต.ค.

โครงการ ดังกล่าวจะเปิดให้ยื่นซองประกวดราคา 4 โครงการ ได้แก่ โครงการติดตั้งและบริหารโทรศัพท์สาธารณะในหมู่บ้านจังหวัดพิษณุโลก 31 ล้านบาท หนองคาย 3.7 ล้านบาท โครงการขยาย

โครงข่ายใยแก้วนำแสงในตำบล การเชื่อมโยงโครงข่ายการให้บริการบรอดแบนด์ไปยังสถานศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมถึงจัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนประจำตำบล พร้อมสนับสนุนค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 3 ปีในพิษณุโลก 283 ล้านบาท และหนองคาย มูลค่า 120 ล้านบาท

"แม้ปัจจุบันมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ มากแล้ว แต่ กสทช.เห็นความจำเป็นต้องมีโทรศัพท์สาธารณะสำหรับผู้มีรายได้น้อยตามหลัก USO สากล ใน TOR ต้องติดตั้งหมู่บ้านละ 2 ตู้ ตามพื้นที่ที่ กสทช.กำหนด และต้องมีค่าโทร.ถูกกว่ามือถือ ขณะที่การให้บริการบรอดแบนด์ใน TOR นี้ กำหนดให้หน่วยงานปลายทางต้องใช้งานได้ในระดับ 30 Mbps. (ดาวน์โหลด) และ 5 Mbps. (อัพโหลด) การกำหนดงบฯสนับสนุนในแต่ละโครงการพิจารณาจากพื้นที่ให้บริการ เมื่อแยกบึงกาฬออกจากหนองคายแล้ว ทำให้มีพื้นที่ให้บริการไม่มากนัก"

คุณสมบัติ ผู้มีสิทธิ์ยื่นซองประกวดราคา ต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กสทช. เนื่องจากต้องติดตั้งโครงข่ายให้เสร็จภายใน 1 ปี นับจากลงนามในสัญญา ได้สิทธิบริหารโครงข่ายหารายได้เชิงพาณิชย์ 5 ปี หากมีความจุโครงข่ายเหลือตามที่ กสทช.กำหนด ต่างจากการติดตั้ง USO ในอดีต ส่วนการบริหารโครงข่ายหลังครบ 5 ปีที่ให้สิทธิ์บริการผู้ชนะโครงการ กสทช.จะออกหลักเกณฑ์บริหารจัดการต่อไป แต่มีแนวคิดว่าอาจ 07:46:21 น.ยกให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น

และเพื่อ ประสิทธิภาพในการบริหารโครงการ ได้กำหนดให้ผู้ชนะประมูลต้องวางเงินประกันล่วงหน้า (Advance Payment Bond) เป็นงวดตามที่ กสทช.กำหนด ส่วนการติดตั้งโครงข่ายตามแผน USO ในจังหวัดที่เหลือ กสทช.จะเปิดให้ยื่นซองประกวดราคาได้ทั้งหมดในปีหน้า โดยนำประสบการณ์จาก 2 จังหวัดนำร่องมาปรับปรุง เพื่อให้มีโครงข่ายครบตามแผนงาน และพร้อมให้บริการได้ในปี 2559

ขณะ ที่การจัดสรรเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กทปส.) หลังคณะกรรมการบริหารกองทุนเปิดให้หน่วยงานรัฐ

สถาบัน การศึกษา องค์กรไม่แสวงหากำไรเสนอโครงการ ขอรับเงินสนับสนุน (18 ม.ค.-28 ก.พ. 2556) มีผู้ยื่นขอรับการสนับสนุน 223 โครงการ รวมเป็นเงิน 2,635.45 ล้านบาท แบ่งเป็นกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ 138 โครงการ 1,269.37 ล้านบาท และโทรคมนาคม 85 โครงการ 1,366.08 ล้านบาท

แหล่งข่าวจาก กทปส.เปิดเผยว่า กำหนดวันประกาศผลผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเมื่อ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่กองทุนจัดสรรเงินสนับสนุนไว้เพียง 150 ล้านบาท จึงต้องใช้เวลาพิจารณามากขึ้น จึงเลื่อนเป็น 12 ส.ค.

และล่าสุดเป็น 11 ต.ค. เพราะตามกฎหมาย คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจพิจารณาหาโครงการที่เหมาะสม แล้วเสนอให้บอร์ด กสทช.อนุมัติ แต่เนื่องจากบอร์ด กสทช.ประชุมแค่เดือนละครั้ง และมีวาระพิจารณามาก ทำให้การประชุมเมื่อ ก.ค.ที่ผ่านมายังไม่ได้พิจารณารายชื่อโครงการที่เสนอไป "ในทางปฏิบัติอาจประกาศผลเร็วกว่านั้น ประชุม 14 ส.ค.นี้ก็ได้ เพราะเสนอรายชื่อที่เหมาะสมไปหมดแล้วทั้ง 20 โครงการ วงเงิน 152 ล้านบาท หากบอร์ด กสทช.อนุมัติก็จะประกาศรายชื่อทั้งหมดภายใน 7 วัน"
แผน"USO"2หมื่นล. ลงทุน"เน็ต-สื่อสาร" นำร่องประมูล2จว.
โครงการ ที่ผ่านการคัดเลือกส่วนใหญ่เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาของสถาบันการศึกษา อาทิ โครงการวิจัยเกี่ยวกับกล่องรับสัญญาณ (Set-Top-Box) ดิจิทัลทีวี เสาส่งสัญญาณโทรคมนาคม และบรอดแคสต์, เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์สำหรับคนพิการ เป็นต้น

สำหรับ การจัดสรรเงินกองทุนแต่ละปี มี 3 ประเภท ประเภทที่ 1 กำลังพิจารณาคำขอ เป็นงบฯโครงการที่เกิดจากผู้ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกกลุ่มให้ได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ทั่วถึง ส่งเสริมชุมชนและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชน รวมถึงพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพ คุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้บริการ และให้ความรู้ประชาชนเท่าทัน

สื่อเทคโนโลยี รวมถึงสนับสนุนเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมต่อเนื่องประเภทที่ 2 เป็นกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกำหนดรายละเอียดโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐ และแผนแม่บท กสทช. เพื่อให้ผู้สนใจรับไปดำเนินการภายใต้งบฯกองทุน ซึ่งปีนี้อนุมัติกรอบวงเงินไว้ 100 ล้านบาท คาดว่าจะประกาศรายละเอียดโครงการได้เร็ว ๆ นี้ ส่วนประเภทที่ 3 ให้ทุนสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้าง สรรค์ อยู่ระหว่างการพิจารณา

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
5 ส.ค. 2556
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”