Page 1 of 1

7 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่องค์กรต้องปรับตัว

Posted: 17 Aug 2013, 17:10
by brid.ladawan
7 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่องค์กรต้องปรับตัว


technology-for-company-organizationเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2556ที่ผ่านมา เอคเซนเชอร์ ได้จัดทำรายงานการวิจัยใหม่เรื่อง “วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีแห่งปี 2556” (The Accenture Technology Vision 2013) พร้อมนำเสนอ 7 เทรนด์เทคโนโลยี ที่องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและซอฟท์แวร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคดิจิตอลแล้ว

ยกระดับสร้างความสัมพันธ์มิติใหม่กับลูกค้าในยุคดิจิตอล

เทคโนโลยีช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจลูกค้าได้ดีกว่าที่เคยมีมา แต่หลายองค์กรยังไม่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้แน่นแฟ้นและลึกซึ้ง และเพิ่มความภักดีของลูกค้าอย่างเต็มที่ ซึ่งเทคโนโลยีโมบายล์คอมพิวติ้ง เครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ค และบริการที่ออกแบบหรือนำเสนอตรงตาม ความต้องการและลักษณะการทำงานของลูกค้านั้น ทำให้ธุรกิจต่างๆ สามารถติดต่อเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันบริษัทหลายรายกลับมองว่าช่องทางเหล่านี้เป็นเพียงช่องทางการติดต่อสื่อสารหรือการทำธุรกรรมมากกว่าเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทำให้สูญเสียโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

accenture นายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เอคเซนเชอร์ กล่าวว่า “องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยมีศักยภาพในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาและยกระดับการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าไม่ให้เป็นเพียงการติดต่อทำธุรกรรมโดยทั่วๆ ไป แต่เป็นการสร้างสัมพันธภาพกับกลุ่มลูกค้าแบบเฉพาะตัวที่มีความแน่นแฟ้น โดยการใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงลึกและช่องทางดิจิตอลต่างๆในการเข้าถึงข้อมูล จะทำให้เกิดการพัฒนาความสัมพันธ์ กับลูกค้าอย่างลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์มิติใหม่นี้จะทำให้บริษัทไทยต่างๆ ต้องมี การปรับเปลี่ยนวิธีการนำเทคโนโลยีมาใช้ รวมทั้งปรับกลยุทธ์การเจาะตลาดใหม่ เพื่อดำเนินการแบบของไอทีและฝ่ายธุรกิจต่างๆ”

วางแผนเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ เพื่อข้อมูลที่ “ใช่”

ซอฟท์แวร์แอพพลิเคชั่นระดับองค์กรในปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบให้มีฟังก์ชั่นเฉพาะเพื่อรองรับข้อมูลที่สนับสนุนฟังก์ชั่นนั้นๆ องค์กรจึงมักพบว่า ข้อมูลที่ตนมีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้ เนื่องจากไม่มีการวางแผนการเก็บข้อมูลที่ธุรกิจต้องการตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้น องค์กรยุคใหม่ต้องมีกลยุทธ์สำคัญในการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกซึ่งเป็นข้อมูลที่ธุรกิจของตนต้องการอย่างแท้จริง โดยเริ่มจากการการวางแผนและออกแบบแอพพลิเคชั่นเพื่อได้ข้อมูล “ที่ถูกต้อง” และให้ความสำคัญกับข้อมูลเป็นเสมือนสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนผลสัมฤทธิ์ในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรมีมีแต้มต่อเหนือคู่แข่ง

นำข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว (Data Velocity)

นอกจากความหลากหลาย (variety) และปริมาณอันมหาศาล (volume) ของข้อมูลแล้ว ความเร็ว (velocity) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่บริษัทต่างๆ ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยรูปแบบการทำงานได้ทุกที่ (mobility) และการบริโภคไอทีกันอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดการคาดหวังของผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูล ที่รวดเร็วฉับไวและการนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ โซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูง เทคโนโลยี in-memory computing การวิเคราะห์ข้อมูลสุดล้ำ ระบบดาต้าเวอร์ช่วลไลเซชั่น ระบบการสอบถามข้อมูล (streaming data querying) ทำให้สามารถนำข้อมูลทั้งหมดมาใช้ในการตัดสินใจและดำเนินการทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ทักษะในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละองค์กรจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วฉับไวก่อนที่จะสูญเสียโอกาสดีๆ ไป

ใช้ ‘โซเชียล’ ในการทำงานภายในองค์กร

การนำกลไกแบบ ‘โซเชียล’ ที่พนักงานมีความคุ้นเคยและใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว มาใช้ในกระบวนการทำงานและสื่อสารภายในองค์กร จะสามารถเพิ่มประสิทธิผลใน การทำงานได้มากขึ้น ดังนั้น การประสานงานในการทำงานอย่างราบรื่นจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้โซเชียลมีเดียของพนักงาน แต่ต้องเกิดจากการขับเคลื่อนให้งานและกระบวนการต่างๆเป็นไปในรูปแบบ ‘โซเชียล’ ยิ่งขึ้น


ขับเคลื่อนการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นระบบเครือข่ายด้วยซอฟท์แวร์

ปัจจุบัน ธุรกิจต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของระบบ แอพพลิชั่น เครือข่าย และช่องทางการสื่อสารต่างๆ ส่งผลให้การควบคุมการไหลเวียนของข้อมูลเป็น สิ่งหนึ่งที่ท้าทายที่สุดของฝ่ายไอทีในองค์กร การทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นหรือระบบเสมือนของเครื่องเซิร์ฟเวอร์อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีด้านอื่นๆ ทำให้การทำงานมีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ระบบเครือข่ายส่วนใหญ่ยังไม่มีการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นแต่อย่างใด โซลูชั่น software-defined networking หรือ SDN เป็นโซลูชั่นการจัดการเครือข่ายโดยใช้ซอฟท์แวร์แทนระบบฮาร์ดแวร์ เพื่อให้องค์กรต่างๆมีความคล่องตัวในการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งยังสามารถตั้งค่าการต่อเชื่อมของระบบต่างๆ ได้ใหม่โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนคุณสมบัติตามปกติที่มีอยู่เดิม ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ จึงสามารถดูแลและบริหารการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ผนวกรวมบริการคลาวด์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนด้านระบบเครือข่ายได้เพิ่มขึ้น


มาตรการรุกและตั้งรับภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ยุคใหม่

แม้ว่าเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยจะมีพัฒนาการที่ล้ำหน้าอย่างมาก แต่การป้องกันธุรกิจในยุคดิจิตอลยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง ช่วงนี้ภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ได้แพร่ขยายลุกลามสู่ อุปกรณ์ที่มีหลากหลายขึ้น ผู้ใช้งานที่มีจำนวนมากขึ้น และระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายกว้างขึ้น ดังนั้น การรักษาความปลอดภัยระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพที่สุดจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเชิงรุกที่เป็นมากกว่า การป้องกัน ฝ่ายไอทีไม่เพียงต้องอัพเดทความรู้เรื่องระบบรักษาความปลอดภัยอยู่เสมอ แต่จะต้องรู้เท่าทันและรู้จักกับผู้คุกคาม สามารถปรับเปลี่ยนมาตรการป้องกันขององค์กรให้สอดคล้องกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้องค์กรต้องใช้สถาปัตยกรรมระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีที่มีความยืดหยุ่น และมีมาตรการป้องกัน”เชิงรุก” เพื่อจัดการและรับมือกับการคุกคามในรูปแบบต่างๆ


เพิ่มคุณค่าแก่ธุรกิจด้วยเทคโนโลยีคลาวด์

เทคโนโลยีคลาวด์มาพร้อมกับคุณประโยชน์อันมหาศาล และพร้อมช่วยเหลือบริษัทต่างๆ พัฒนาธุรกิจของตนให้แตกต่างและโดดเด่นจากคู่แข่ง สามารถนำสินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพ
การทำงานมากขึ้น และตอบสนองโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น ถึงเวลาที่ธุรกิจต่างๆ ต้องถามตนเองแล้วว่า “เราควรใช้เทคโนโลยีคลาวด์อย่างไร?” มากกว่า “ทำไมเราจึงต้องใช้เทคโนโลยีคลาวด์?” องค์กรหลายแห่งได้ติดตั้งเทคโนโลยีคลาวด์บนระบบไอทีแบบเดิมและนำไปใช้กับซอฟท์แวร์ที่มีอยู่เดิมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมแบบ “ไฮบริด” ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวนั้น องค์กรดังกล่าวต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้องและชัดเจนและสามารถเข้าถึงทักษะ สถาปัตยกรรม การกำกับดูแล และการรักษาความปลอดภัยของแอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์ม และระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่อยู่ในระบบคลาวด์

“ปัจจุบัน ความท้าทายที่แท้จริงของธุรกิจไทยในยุคดิจิตอล คือ การสร้างโมเดลธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและสามารถรองรับสภาพแวดล้อมที่ใช้ซอฟท์แวร์และแอพพลิเคชั่นเป็นแรงขับเคลื่อนได้อย่างราบรื่น และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จดังกล่าว องค์กรต่างๆ ต้องนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่ยังไม่มีการจัดระเบียบและมีปริมาณมหาศาล เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมทั้งหมดและสามารถนำมาใช้ ขับเคลื่อนธุรกิจของตนให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ใช้โอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างเต็มที่ เพิ่มความภักดีของลูกค้า และสร้างผลสัมฤทธิ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น” นนทวัฒน์ กล่าวปิดท้าย

ที่มา บทความไอที 24 ชั่วโมง
วันที่: 17 สิงหาคม 2013
หมวดหมู่: social trend,
ป้ายคำ: accenture, business, company, organization, plan, social network, technology, trend, visions, การปรับตัว, ธุรกิจ กลยุทธ์, นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี, บริษัท, องค์กร, เทคโนโลยี, เทรนด์