Page 1 of 1

?‘อินิทรี ดิจิตอล’ ดึงทุนยักษ์ขยายธุรกิจเกมอาเซียน?

Posted: 07 Mar 2014, 14:20
by brid.ladawan
?‘อินิทรี ดิจิตอล’ ดึงทุนยักษ์ขยายธุรกิจเกมอาเซียน?

‘อินิทรี ดิจิตอล’ ดึงทุนยักษ์ขยายธุรกิจเกมอาเซียน

“ซอฟต์แบงค์ เวนเจอร์ส โคเรีย” กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ เข้าร่วมลงทุนในบริษัท อินิทรี ดิจิตอล ลุยขยายธุรกิจสู่อาเซียน ระบุจากเครือข่ายที่แข็งแกร่งช่วยให้นำคอนเทนต์ระดับโลกเข้ามาให้บริการง่ายขึ้น
วันศุกร์ 7 มีนาคม 2557 เวลา 00:00 น.

“ซอฟต์แบงค์ เวนเจอร์ส โคเรีย” กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ เข้าร่วมลงทุนในบริษัท อินิทรี ดิจิตอล ลุยขยายธุรกิจสู่อาเซียน ระบุจากเครือข่ายที่แข็งแกร่งช่วยให้นำคอนเทนต์ระดับโลกเข้ามาให้บริการง่ายขึ้น

น.ส.ภัทธีรา อภิธนาคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินิทรี ดิจิตอล จำกัด เปิดเผยว่า ซอฟต์แบงค์ เวนเจอร์ส โคเรีย (SBVK) ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนในเครือซอฟต์แบงค์ ที่มีชื่อเสียงอันดับต้น ๆ ของโลกที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการสื่อสาร ได้เข้ามาลงทุนกับบริษัทโดยเข้าถือหุ้นจำนวน 23% ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถนำคอนเทนต์ สินค้าและบริการระดับโลกเข้ามาให้บริการในไทยมากขึ้น เนื่องจากซอฟต์แบงค์ ได้เข้าไปลงทุนในบริษัทพัฒนาเกมใหญ่ ๆ ของเกาหลีหลายรายที่ได้พัฒนาเกมที่ดังและประสบความสำเร็จมากมาย ขณะเดียวกันยังสามารถนำคอนเทนต์เหล่านี้ขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ได้ด้วย

“จากโครงข่ายทางธุรกิจของ ซอฟต์แบงค์ เวนเจอร์ส โคเรีย ที่มีอยู่ทั่วโลก ทำให้การต่อยอดธุรกิจโดยเฉพาะบริษัทมีเป้าหมายขยายธุรกิจเข้าไปลงทุนในประเทศเวียดนามที่กำลังอยู่ในช่วงดำเนินงานขณะนี้ รวมถึงการศึกษาตลาดประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ด้วย โดยปัจจุบันเวียดนามถือว่ามีตลาดเกมใหญ่เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน รองลงมาคือประเทศไทย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ”

ด้าน นายแดเนียล คัง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ซอฟต์แบงค์ เวนเจอร์ส โคเรีย กล่าวว่า การลงทุนในอินิทรี ดิจิตอล ครั้งนี้ถือเป็นการเข้าลงทุนในธุรกิจเกมเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของบริษัท ซึ่งอินิทรี ดิจิตอล เป็นพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่ง เชี่ยวชาญและมีความพร้อมในธุรกิจเกมที่มีการเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงมีแนวทางธุรกิจใกล้เคียงกับบริษัท เชื่อว่าการที่บริษัทมีเครือข่ายที่กว้างขว้างในธุรกิจไอทีและเกม จะส่งเสริมภาพลักษณ์ให้อินิทรี ดิจิตอล สามารถขยายตัวสู่ธุรกิจระดับภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

น.ส.ภัทธีรา กล่าวต่อว่า สำหรับตลาดเกมออนไลน์ของไทยในปี 2556 ที่ผ่านมา มีมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ประมาณ 8% ปีนี้คาดว่าตลาดเกมออนไลน์จะเติบโตขึ้นเป็น 5,000 ล้านบาท โดยโมบายจะมีอัตราการเติบโตสูงสุด ซึ่งบริษัทได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเป็น 15% อย่างไรก็ตามปัจจุบันบริษัทมีบัญชีผู้เล่นเกมอยู่ 17 ล้านราย จากเกมที่ให้บริการทั้งหมด 17 เกม ในปีนี้บริษัทมีแผนจะเปิดตัวเกมออนไลน์ใหม่อีก 4 เกม และโมบายเกมอีก 7 เกม.

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 7 มีนาคม 2557

Re: ?‘อินิทรี ดิจิตอล’ ดึงทุนยักษ์ขยายธุรกิจเกมอาเซียน?

Posted: 07 Mar 2014, 14:26
by brid.ladawan
”โบอิ้ง”เปิดโฉม"แบล็ค" โทรศัพท์ไฮเทคเก็บความลับสุดยอด ถ้าโดนฉกข้อมูลถูกทำลายอัตโนมัติ

วันที่ 04 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 17:23:51 น.


"แบล็ก"สมาร์ตโฟนผลิตโดย"โบอิ้ง"ยักษ์ใหญ่แห่งวงการบิน





"โบอิ้ง"ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลกแห่งสหรัฐอเมริกา หันมาสนใจพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ

แต่เป็นมือถือชนิดพิเศษ มีชื่อว่า"แบล็ก"รูปร่างหน้าตาเหมือนสมาร์ตโฟนทั่วไป


มีจุดเด่นคือสามารถทำลายข้อมูลและใช้งานไม่ได้ในทันทีถ้าหากโทรศัพท์ถูกโจรกรรม หรือไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่อง


"โบอิ้ง"หวังว่าแบล็กโฟนจะเข้าถึงเป้ากลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคที่คำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูล สามารถปกป้องคุ้มกันข้อมูลของทางการสหรัฐรวมทั้งประธานาธิบดี

ในงานโมบาย เวิล์ด ครองเกรส ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โบอิ้งนำ“แบล็คโฟน” ไปเปิดตัว สร้างความฮือฮาไม่น้อย


โบอิ้งยังไม่กำหนดขาย”แบล็ค”อย่างเป็นทางการ รวมถึงยังไม่บอกราคาเครื่อง


สำหรับตัวเครื่องโทรศัพท์ใช้เวลาผลิต 36 เดือน โดยบริษัทโบอิ้งว่าจ้างเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมือถือโดยเฉพาะ


โทรศัพท์รุ่นนี้ใช้ได้สองซิมการ์ดเปลี่ยนโหมดสำหรับใช้งานเฉพาะเช่นงานความลับทางราชการและการพาณิชย์ ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของกูเกิล


โบอิ้งเพิ่มเติมแอพพลิชั่นเพื่อความปลอดภัยให้ “แบล็ค”เหนือกว่ามือถือทั่วไปโดยปรับปรุงฮาร์ดแวร์ประสิทธิภาพสูง


“ไม่มีอะไรจะทำลายผลิตภัณฑ์ให้เสียหายได้" นี่คือคำอธิบายของโบอิ้งต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา


โบอิ้งยังปั้นแต่ง”แบล็ก”ให้เป็นอุปกรณ์ที่ปิดสนิทด้วยกาวเหนียวพิเศษ ตัวเครื่องถูกยึดโดยน็อตซึ่งหากใครมีความพยายามเปิดเครื่องโดยผิดปกติ ข้อมูลในเครื่องและซอฟท์แวร์จะถูกทำลายโดยอัตโนมัติ
ฮาร์ดแวร์ของแบล็กยังสามารถเพิ่มให้ตรวจสอบข้อมูลทางพันธุกรรม รับสัญญานดาวเทียมและใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้


ใครสนใจ”แบล็ก”ของโบอิ้งหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.boeing.com/boeing/defense-sp ... index.page

ที่มา matichon Online
วันที่ 4 มีนาคม 2557

Re: ?‘อินิทรี ดิจิตอล’ ดึงทุนยักษ์ขยายธุรกิจเกมอาเซียน?

Posted: 07 Mar 2014, 14:31
by brid.ladawan
?อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เสี่ยงโดนโจมตีจากแฮกเกอร์?
?อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เสี่ยงโดนโจมตีจากแฮกเกอร์?
?อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เสี่ยงโดนโจมตีจากแฮกเกอร์?
?อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เสี่ยงโดนโจมตีจากแฮกเกอร์?

Previous
Next

?อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เสี่ยงโดนโจมตีจากแฮกเกอร์?
?อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เสี่ยงโดนโจมตีจากแฮกเกอร์?
?อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เสี่ยงโดนโจมตีจากแฮกเกอร์?
?อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เสี่ยงโดนโจมตีจากแฮกเกอร์?

อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เสี่ยงโดนโจมตีจากแฮกเกอร์

การมาถึงของอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Every Things) ทำให้ปัญหาการรักษาความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม ยิ่งขนาดของเครือข่าย
วันอังคาร 4 มีนาคม 2557 เวลา 00:00 น.



การมาถึงของอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Every Things) ทำให้ปัญหาการรักษาความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม ยิ่งขนาดของเครือข่าย และจำนวนดีไวซ์จำนวนมหาศาลที่ต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเท่าไร อัตราความเสี่ยงของการโจมตีบนไซเบอร์ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น ระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถต่อสู้กับอาชญากรไซเบอร์ หรือแฮกเกอร์ที่พร้อมโจมตีตลอดเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญ

นายสุธี อัศวสุนทรางกูร ผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีน ซอร์สไฟร์ (ประเทศ ไทย) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของซิสโก้ กล่าวว่า ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อโซเชียลเน็ตเวิร์กยอดนิยมอย่างเฟซบุ๊ก ประกอบกับอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ทำให้ภัยคุกคามมีมากขึ้น โดยเฉพาะในอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อไวไฟได้ ความปลอดภัยในระบบเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ

จากการประชุม RSA Conference ซึ่งเป็นงานประชุมสัมมนาระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยครั้งยิ่งใหญ่ประจำปี ระบุรูปแบบความซับซ้อนในการโจมตี และความสามารถของอาชญากรไซเบอร์ที่มุ่งเป้าไปที่เครือข่ายที่ขยายการทำงานออกไปภายนอก และปฏิบัติการโจมตีของแฮกเกอร์เหล่านี้ได้ปรับเปลี่ยนมาทำแบบมืออาชีพมากกว่าที่จะทำเป็นงานอดิเรก

นายสุธี กล่าวต่อว่า การเติบโตขึ้นของอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์ทุกประเภทเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกันเป็นจำนวนมาก โดยซิสโก้ประมาณการว่าการที่ทุกสรรพสิ่งสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ จะเป็นการขยายพื้นที่ที่จะถูกโจมตีให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งซิสโก้คาดการณ์ว่าจำนวนของสรรพสิ่งจะขยายตัว และเติบโตขึ้นสูงถึง 50,000 ล้านดีไวซ์ภายในปี ค.ศ. 2020 ถ้านึกภาพไม่ออกลองมองไปรอบ ๆ บ้าน จะเห็นว่าทั้งของเล่น อุปกรณ์ควบคุม หรือสรรพสิ่งที่ต่อไวไฟได้มีจำนวนมากจริง ๆ

ตัวอย่างของการโจมตีที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือการที่ตู้เย็นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สามารถส่งสแปมได้ โดยตู้เย็นดังกล่าวถูกโจมตีจนกลายเป็นบอทเน็ต ที่ถูกควบคุมจากแฮก เกอร์ในระยะไกล เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ซึ่งในกรณีนี้คือการส่งสแปมเมลมากกว่า 750,000 เมลไปยังเป้าหมาย ที่เป็นองค์กรธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไป โดยส่งเมลโจมตีต่อเนื่องกว่า 100,000 เมล สามเวลาในแต่ละวัน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการที่ สมาร์ท ดีไวซ์ ทุกประเภทที่ต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตไม่มีการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอ

ด้าน นายสุวิชชา มุสิจรัล วิศวกรระบบรักษาความปลอดภัยของ ซอร์สไฟร์ (ประเทศ ไทย) กล่าวว่า แนวคิดอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งจะเกิดขึ้นแน่นอน ต่อไปการใช้งานในอุปกรณ์ต่าง ๆ จะเป็นแบบเครื่องไปยังเครื่อง (machine to machine) คนจะไม่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ตู้เย็นเมื่อนมในตู้หมดเครื่องก็สามารถส่งอีเมลสั่งซื้อได้เอง หรือกล้องถ่ายรูป เมื่อถ่ายแล้วรูปก็ส่งขึ้นเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ได้เลย ทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจากข้อมูลพบว่าผู้ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อ 1 ใน 5 จะติดไวรัส และมัลแวร์

“อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งจะมาพร้อมกับดีไวซ์ที่หลากหลายและจำนวนเพิ่มมากขึ้น เครือข่ายไม่มีขอบเขตเหมือนก่อน จึงจำเป็นต้องมีโมเดลในการรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับทุกสรรพสิ่งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เพราะผู้โจมตีในปัจจุบันเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีในระดับสูง ใช้วิธีการโจมตีที่ซับซ้อนและแฝงตัวอยู่ในเครือข่ายของเป้าหมายให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรอเวลาในการโจมตีไปยังเครือข่ายที่ขยายการใช้งานออกไปภายนอก รวมถึงคลาวด์ เวอร์ชวล และบรรดาจุดเชื่อมต่อปลายทาง หรือเอนด์พ้อยน์ทั้งหลาย”

สำหรับการเตรียมการเพื่อรับมือกับการโจมตี องค์กรต้องพิจารณาให้ขอบเขตการป้องกันครอบคลุมทุกช่วงเวลา ทั้งก่อนการโจมตี ระหว่างการโดนโจมตี และหลังการถูกโจมตี เพื่อลดความเสี่ยง ให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ล่าสุด ซิสโก้ได้ประกาศเสริมระบบป้องกันมัลแวร์ขั้นสูง (AMP–Advanced Malware Protection) เทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาโดยซอร์สไฟร์เข้าไว้ในสายผลิตภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัยในระดับเนื้อหา (Content Security)

ซึ่งครอบคลุมถึงเว็บ และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยสำหรับระบบอีเมล รวมถึงบริการการรักษาความปลอดภัยเว็บบน คลาวด์ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถดูแล ป้องกัน และรับมือกับการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ.