จับตา"อีสุกอีใส ไข้สมอง-อหิวาต์ ไข้กาฬคืนสังเวียน
Posted: 10 Mar 2014, 13:45
จับตา"อีสุกอีใส ไข้สมอง-อหิวาต์ ไข้กาฬคืนสังเวียน
กรมควบคุมโรคห่วงหน้าร้อนเชื้อโรคโตเร็ว แพร่ระบาด จับตาปี 2557 มีผู้ป่วยเพิ่ม โรคสุกใสพุ่ง 33% โรคไข้สมองอักเสบ 5% โรคไข้กาฬหลังแอ่น 15% โรคอหิวาตกโรค 3.8% โรคไทฟอยด์ 19% และโรคไวรัสตับอักเสบเอ 30% แนะประชาชนกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ฉีดวัคซีนตามมาตรฐาน
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุม DDC Forum เรื่อง “การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ ปี 2557” ว่า จากการประเมินการเกิดโรคย้อนหลัง 10 ปี ทำให้สามารถพยากรณ์โรคที่อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้ 4 กลุ่มโรค คือ 1.โรคที่มากับอาหารและน้ำ เช่น โรคอหิวาตกโรค คาดว่าถ้าไม่มีการเฝ้าระวังและควบคุมโรคที่ดี น่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 280-340 ราย หรือเพิ่มขึ้น 3.8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2556 ทั้งนี้ โรคดังกล่าวจะมีลักษณะการระบาดปีเว้นสองปี นอกจากนี้ยังมีโรคที่น่าเป็นห่วงอีกคือโรคไทฟอยด์ คาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นประมาณ 2,700-3,300 ราย หรือเพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับปี 2556 โรคไวรัสตับอักเสบเอ คาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นประมาณ 430-520 ราย หรือเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับปี 2556
2.กลุ่มโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคสุกใส คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 58,000-71,000 ราย หรือเพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยสูงสุดอยู่ในช่วง ม.ค., ก.พ. หรือ มี.ค. โดยเกิดในกลุ่มคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ทั้งจากการที่ประชากรไม่คงที่ มีการเกิด การตาย การย้ายถิ่น ทำให้มีการสะสมของคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน กลุ่มคนไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อน คนที่ไม่ได้รับวัคซีนสุกใส เพราะไม่ได้อยู่ในตารางเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และฤดูกาลทำให้ระยะการถ่ายทอดโรคยาวนานขึ้น เช่น ฤดูหนาว ทำให้ไวรัสมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น จึงมีโอกาสถ่ายทอดโรคได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีโรคไอกรน
3.กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับประสาทและสมอง เช่น โรคไข้สมองอักเสบ คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 680-830 ราย เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2556 เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าปี 2547-2549 มีอัตราป่วยคงที่ แต่ในช่วงปี 2550-2555 อัตราป่วยกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะเดือน มิ.ย.ปี 2555 ที่มีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าที่คาดการณ์ โรคไข้กาฬหลังแอ่นคาดว่าจะมีผู้ป่วยในปี 2557 ประมาณ 14-17 ราย เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยโรคไข้กาฬหลังแอ่นเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์ค่อนข้างต่ำ พบผู้ป่วยตลอดทั้งปีและทุกภาคทั่วประเทศ จำนวนผู้ป่วยจะกระจายเดือนละประมาณ 1-3 ราย ปีที่พบผู้ป่วยมากกว่าค่าปกติที่คาดการณ์ไว้คือ ปี 2547 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 50 ราย และปี 2549 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 35 ราย และกลุ่มที่ 4 คือกลุ่มโรคที่มาจากสัตว์ เช่น พิษสุนัขบ้า
นพ.โสภณกล่าวว่า ส่วนคำแนะนำสำหรับโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ให้ยึดหลักป้องกันการป่วยด้วยมาตรการ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ส่วนโรคสุกใส ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการร่วมกิจกรรมคลุกคลีกับผู้ป่วย เมื่อมีอาการป่วยให้รีบไปหาแพทย์ทันที ในบางรายแพทย์อาจให้ยาต้านไวรัสเพื่อลดความรุนแรง ถัดไปโรคไข้สมองอักเสบ พ่อแม่พาเด็กไปรับการฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่สำคัญคือจากสถิติปีล่าสุดที่พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ 700-800 รายนั้น ยังไม่ทราบว่ามาจากเชื้อตัวไหน จึงต้องมีการตรวจหาสาเหตุของโรคในผู้ป่วยทุกราย อย่างไรก็ตาม ตนยังเป็นห่วงในกลุ่มคนที่อยู่ห่างไกล คนด้อยโอกาสและคนต่างด้าว ส่วนโรคไข้กาฬหลังแอ่น แนะนำให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด เมื่อมีอาการป่วยให้รีบไปหาแพทย์ทันที สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบเอ เราพบมากขึ้น พบว่ามีเชื้อไวรัสปนอยู่ในน้ำแข็ง
“ตอนนี้เข้าสู่ช่วงหน้าแล้ง อากาศร้อนจัดยิ่งน่าเป็นห่วง เพราะจะมีน้ำน้อย คนไม่ค่อยล้างมือ และอากาศร้อนๆ ยิ่งทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี” นพ.โสภณกล่าว.
ที่มา ไทยโพสต์
วันที่ 10 มีนาคม 2557
กรมควบคุมโรคห่วงหน้าร้อนเชื้อโรคโตเร็ว แพร่ระบาด จับตาปี 2557 มีผู้ป่วยเพิ่ม โรคสุกใสพุ่ง 33% โรคไข้สมองอักเสบ 5% โรคไข้กาฬหลังแอ่น 15% โรคอหิวาตกโรค 3.8% โรคไทฟอยด์ 19% และโรคไวรัสตับอักเสบเอ 30% แนะประชาชนกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ฉีดวัคซีนตามมาตรฐาน
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุม DDC Forum เรื่อง “การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ ปี 2557” ว่า จากการประเมินการเกิดโรคย้อนหลัง 10 ปี ทำให้สามารถพยากรณ์โรคที่อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้ 4 กลุ่มโรค คือ 1.โรคที่มากับอาหารและน้ำ เช่น โรคอหิวาตกโรค คาดว่าถ้าไม่มีการเฝ้าระวังและควบคุมโรคที่ดี น่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 280-340 ราย หรือเพิ่มขึ้น 3.8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2556 ทั้งนี้ โรคดังกล่าวจะมีลักษณะการระบาดปีเว้นสองปี นอกจากนี้ยังมีโรคที่น่าเป็นห่วงอีกคือโรคไทฟอยด์ คาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นประมาณ 2,700-3,300 ราย หรือเพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับปี 2556 โรคไวรัสตับอักเสบเอ คาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นประมาณ 430-520 ราย หรือเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับปี 2556
2.กลุ่มโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคสุกใส คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 58,000-71,000 ราย หรือเพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยสูงสุดอยู่ในช่วง ม.ค., ก.พ. หรือ มี.ค. โดยเกิดในกลุ่มคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ทั้งจากการที่ประชากรไม่คงที่ มีการเกิด การตาย การย้ายถิ่น ทำให้มีการสะสมของคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน กลุ่มคนไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อน คนที่ไม่ได้รับวัคซีนสุกใส เพราะไม่ได้อยู่ในตารางเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และฤดูกาลทำให้ระยะการถ่ายทอดโรคยาวนานขึ้น เช่น ฤดูหนาว ทำให้ไวรัสมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น จึงมีโอกาสถ่ายทอดโรคได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีโรคไอกรน
3.กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับประสาทและสมอง เช่น โรคไข้สมองอักเสบ คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 680-830 ราย เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2556 เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าปี 2547-2549 มีอัตราป่วยคงที่ แต่ในช่วงปี 2550-2555 อัตราป่วยกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะเดือน มิ.ย.ปี 2555 ที่มีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าที่คาดการณ์ โรคไข้กาฬหลังแอ่นคาดว่าจะมีผู้ป่วยในปี 2557 ประมาณ 14-17 ราย เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยโรคไข้กาฬหลังแอ่นเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์ค่อนข้างต่ำ พบผู้ป่วยตลอดทั้งปีและทุกภาคทั่วประเทศ จำนวนผู้ป่วยจะกระจายเดือนละประมาณ 1-3 ราย ปีที่พบผู้ป่วยมากกว่าค่าปกติที่คาดการณ์ไว้คือ ปี 2547 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 50 ราย และปี 2549 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 35 ราย และกลุ่มที่ 4 คือกลุ่มโรคที่มาจากสัตว์ เช่น พิษสุนัขบ้า
นพ.โสภณกล่าวว่า ส่วนคำแนะนำสำหรับโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ให้ยึดหลักป้องกันการป่วยด้วยมาตรการ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ส่วนโรคสุกใส ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการร่วมกิจกรรมคลุกคลีกับผู้ป่วย เมื่อมีอาการป่วยให้รีบไปหาแพทย์ทันที ในบางรายแพทย์อาจให้ยาต้านไวรัสเพื่อลดความรุนแรง ถัดไปโรคไข้สมองอักเสบ พ่อแม่พาเด็กไปรับการฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่สำคัญคือจากสถิติปีล่าสุดที่พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ 700-800 รายนั้น ยังไม่ทราบว่ามาจากเชื้อตัวไหน จึงต้องมีการตรวจหาสาเหตุของโรคในผู้ป่วยทุกราย อย่างไรก็ตาม ตนยังเป็นห่วงในกลุ่มคนที่อยู่ห่างไกล คนด้อยโอกาสและคนต่างด้าว ส่วนโรคไข้กาฬหลังแอ่น แนะนำให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด เมื่อมีอาการป่วยให้รีบไปหาแพทย์ทันที สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบเอ เราพบมากขึ้น พบว่ามีเชื้อไวรัสปนอยู่ในน้ำแข็ง
“ตอนนี้เข้าสู่ช่วงหน้าแล้ง อากาศร้อนจัดยิ่งน่าเป็นห่วง เพราะจะมีน้ำน้อย คนไม่ค่อยล้างมือ และอากาศร้อนๆ ยิ่งทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี” นพ.โสภณกล่าว.
ที่มา ไทยโพสต์
วันที่ 10 มีนาคม 2557