คุรุสภาเงื้อค้าง เหตุศธ.ไม่เข้าใจ เนื้อหาประกาศ
Posted: 10 Mar 2014, 13:48
คุรุสภาเงื้อค้าง เหตุศธ.ไม่เข้าใจ เนื้อหาประกาศ
ประกาศคุรุสภาเรื่องรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรฉบับใหม่อาจค้างเติ่ง เหตุ ศธ.ไม่เข้าใจในเนื้อหา "สุทธศรี" เผยอาจต้องหารือกันหลายครั้ง ไพฑูรย์ระบุหลายฝ่ายอาจไม่เข้าใจ แต่แจงได้ทุกประเด็น
ด้านนางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุม ศธ. ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการที่รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นประธาน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ได้มีการออกประกาศคุรุสภาเรื่องการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2557 ซึ่งในประกาศดังกล่าวจะเป็นการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาให้วิชาชีพครู ผู้บริหารการศึกษาเหมาะสมกับความเป็นวิชาชีพชั้นสูง เช่น มีการปรับเพิ่มมาตรฐานความรู้ครู จาก 9 มาตรฐาน เป็น 11 มาตรฐาน ปรับหลักเกณฑ์การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา จากเดิมรับรองเฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี ก็เพิ่มรับรองหลักสูตรปริญญาโท และหลักสูตรปริญญาเอก มีการฝึกปฏิบัติวิชาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา สถาบันการผลิตต้องรับนิสิตนักศึกษาตามแผนที่กำหนดในหลักสูตร โดยมีสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 1 ต่อ 30 อาจารย์นิเทศต่อนักศึกษา 1 ต่อ 10 เป็นต้น
ผลปรากฏว่าที่ประชุมได้อภิปรายในเรื่องนี้กันอย่างมาก เช่น เมื่อจัดสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจะเปิดกว้างให้ผู้ที่มีความเก่งในเนื้อหาสาระมาเป็นครูหรือไม่ เช่น ผู้จบสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจะมาสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา และหลักสูตรที่คุรุสภาให้การรับรองปริญญา ทำอย่างไรไม่ให้ซ้ำซ้อนกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ได้มีการกระจายอำนาจให้สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรได้เอง โดยนายจาตุรนต์ได้มอบให้ตนนัดประชุมผู้บริหารองค์กรหลักเพื่อสรุปประเด็นปัญหาต่างๆ ไปหารือกับคุรุสภาต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้ว่านายไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา จะได้ลงนามในประกาศคุรุสภาในเรื่องดังกล่าวไปแล้ว แต่จะต้องออกเป็นข้อบังคับรวมและต้องส่งมาให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ลงนามก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งรัฐมนตรียังมีอำนาจในการพิจารณา ดังนั้นในเรื่องนี้จึงต้องมีการหารือกันก่อน หากจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องแก้ไข
ด้านนายไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวว่า ปัญหาอาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจของผู้ที่ชี้แจงและผู้ที่รับฟัง เพราะหลายเรื่องที่มีการทักท้วงนั้นไม่ได้เป็นตามนั้น อย่างกรณีที่มีการทักท้วงว่าผู้ที่เรียนหลักสูตรการศึกษาในระดับปริญญาโทและเอกจะต้องฝึกงานนั้น เป็นเพียงเงื่อนไขของการรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นว่าหากผู้ที่เรียนไม่ต้องการใบประกอบวิชาชีพหรือมีใบประกอบวิชาชีพอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องฝึกปฏิบัติงาน และในกรณีของคนที่จบปริญญาโทสายวิทยาศาสตร์แล้วจะเข้ามาสอนในสายอาชีวศึกษาในปัจจุบันนี้ ก็สามารถมาสอนได้อยู่แล้ว โดยจะมีการออกใบอนุญาตปฏิบัติการสอนชั่วคราวให้ แต่จะมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีใบอนุญาตภายใน 2 ปี และหากยังไม่มีสามารถต่อได้อีก 2 ปี รวมเป็น 4 ปี อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าจะสามารถชี้แจงทำความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้แก่ผู้บริหาร ศธ.ได้.
ที่มา ไทยโพสต์
วันที่ 6 มีนาคม 2557
ประกาศคุรุสภาเรื่องรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรฉบับใหม่อาจค้างเติ่ง เหตุ ศธ.ไม่เข้าใจในเนื้อหา "สุทธศรี" เผยอาจต้องหารือกันหลายครั้ง ไพฑูรย์ระบุหลายฝ่ายอาจไม่เข้าใจ แต่แจงได้ทุกประเด็น
ด้านนางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุม ศธ. ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการที่รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นประธาน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ได้มีการออกประกาศคุรุสภาเรื่องการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2557 ซึ่งในประกาศดังกล่าวจะเป็นการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาให้วิชาชีพครู ผู้บริหารการศึกษาเหมาะสมกับความเป็นวิชาชีพชั้นสูง เช่น มีการปรับเพิ่มมาตรฐานความรู้ครู จาก 9 มาตรฐาน เป็น 11 มาตรฐาน ปรับหลักเกณฑ์การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา จากเดิมรับรองเฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี ก็เพิ่มรับรองหลักสูตรปริญญาโท และหลักสูตรปริญญาเอก มีการฝึกปฏิบัติวิชาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา สถาบันการผลิตต้องรับนิสิตนักศึกษาตามแผนที่กำหนดในหลักสูตร โดยมีสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 1 ต่อ 30 อาจารย์นิเทศต่อนักศึกษา 1 ต่อ 10 เป็นต้น
ผลปรากฏว่าที่ประชุมได้อภิปรายในเรื่องนี้กันอย่างมาก เช่น เมื่อจัดสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจะเปิดกว้างให้ผู้ที่มีความเก่งในเนื้อหาสาระมาเป็นครูหรือไม่ เช่น ผู้จบสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจะมาสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา และหลักสูตรที่คุรุสภาให้การรับรองปริญญา ทำอย่างไรไม่ให้ซ้ำซ้อนกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ได้มีการกระจายอำนาจให้สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรได้เอง โดยนายจาตุรนต์ได้มอบให้ตนนัดประชุมผู้บริหารองค์กรหลักเพื่อสรุปประเด็นปัญหาต่างๆ ไปหารือกับคุรุสภาต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้ว่านายไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา จะได้ลงนามในประกาศคุรุสภาในเรื่องดังกล่าวไปแล้ว แต่จะต้องออกเป็นข้อบังคับรวมและต้องส่งมาให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ลงนามก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งรัฐมนตรียังมีอำนาจในการพิจารณา ดังนั้นในเรื่องนี้จึงต้องมีการหารือกันก่อน หากจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องแก้ไข
ด้านนายไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวว่า ปัญหาอาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจของผู้ที่ชี้แจงและผู้ที่รับฟัง เพราะหลายเรื่องที่มีการทักท้วงนั้นไม่ได้เป็นตามนั้น อย่างกรณีที่มีการทักท้วงว่าผู้ที่เรียนหลักสูตรการศึกษาในระดับปริญญาโทและเอกจะต้องฝึกงานนั้น เป็นเพียงเงื่อนไขของการรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นว่าหากผู้ที่เรียนไม่ต้องการใบประกอบวิชาชีพหรือมีใบประกอบวิชาชีพอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องฝึกปฏิบัติงาน และในกรณีของคนที่จบปริญญาโทสายวิทยาศาสตร์แล้วจะเข้ามาสอนในสายอาชีวศึกษาในปัจจุบันนี้ ก็สามารถมาสอนได้อยู่แล้ว โดยจะมีการออกใบอนุญาตปฏิบัติการสอนชั่วคราวให้ แต่จะมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีใบอนุญาตภายใน 2 ปี และหากยังไม่มีสามารถต่อได้อีก 2 ปี รวมเป็น 4 ปี อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าจะสามารถชี้แจงทำความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้แก่ผู้บริหาร ศธ.ได้.
ที่มา ไทยโพสต์
วันที่ 6 มีนาคม 2557