ลือดทุกหยดของ “มานะ กลัดกลีบ” อุทิศแด่ผู้ป่วย
Posted: 10 Mar 2014, 14:26
ลือดทุกหยดของ “มานะ กลัดกลีบ” อุทิศแด่ผู้ป่วย
โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
การเป็นผู้ให้บ่งบอกได้ชัดเจนว่าคุณคือผู้ที่ “เสียสละ” แล้วหากเป็นการให้ชีวิตที่เพียงเสียสละเลือดในร่างกายเพียงแค่ 1 ยูนิต ซึ่งไม่ถึงกับทำให้ตาย แต่สามารถต่อลมหายใจให้ผู้ที่กำลังเข้าสู่เงื้อมมือมัจจุราชให้กลับมามีชีวิตขึ้นใหม่ได้อีกครั้ง จึงถือเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่และสามารถทำได้ง่ายอีกวิธีหนึ่ง
แต่อุปสรรคใหญ่ของการมาบริจาคโลหิตก็คือ ผู้บริจาคต้องมีสุขภาพที่ดีจริงๆ แต่จากการทำงานในปัจจุบันเชื่อได้ว่าส่วนใหญ่มักจะมีอาการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ และที่สำคัญเลยก็คือคนไม่กล้ามาบริจาคโลหิต เพราะกลัวเข็ม กลัวเจ็บ
แม้แต่ นายมานะ กลัดกลีบ อายุ 52 ปี พนักงานธนาคาร ซึ่งล่าสุดได้รับรางวัล “Rh-The Best of Champions for life” หรือผู้บริจาคโลหิตที่บริจาคต่อเนื่องปีละ 4 ครั้งขึ้นไป ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี (ระหว่างปี 2546-2556) ก็เคยยอมรับว่ากลัวเข็มและกลัวเจ็บเช่นกัน
เลือดทุกหยดของ “มานะ กลัดกลีบ” อุทิศแด่ผู้ป่วย
“ผมบริจาคเลือดครั้งแรกเมื่อตอนอายุประมาณ 17-18 ปี ช่วงนั้นยังเรียนวิชา รด.อยู่ ซึ่งเขาก็มีการนำรถรับบริจาคโลหิตมารับบริจาคถึงศูนย์ฝึก ซึ่งครูฝึกก็มีการพูดจาหว่านล้อมเพื่อให้พวกเราออกไปบริจาค โดยยกเรื่องราวของทหารที่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อ จากการต้องเป็นรั้วของชาติเพื่อปกป้องประเทศ และมีความจำเป็นต้องได้รับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือชีวิต จนสุดท้ายก็มาจบตรงที่ว่าหากใครต้องการบริจาคให้แยกแถวไปอยู่อีกแถว”
นายมานะ ย้อนอดีตให้ฟังอีกว่า ตอนนั้นเพื่อนหลายคนก็ลุกขึ้นไปเข้าแถวอีกแถวหนึ่ง และก็ทยอยลุกออกไปเรื่อยๆ จนเกือบจะหมด แต่ตนก็ยังไม่ได้ลุกออกไป เพราะกลัวเข็ม กลัวที่จะต้องเจ็บตัว แต่สุดท้ายก็เรียกได้ว่าต้องลุกตามเพื่อนไป เพราะทุกคนก็ลุกไปบริจาคกันทั้งหมด แต่ใจจริงก็ยังกลัวเข็มอยู่ แต่อีกใจหนึ่งก็รู้สึกสงสาร เมตตาอยากช่วยทหาร
“แต่พอถึงเวลาต้องบริจาคเลือดจริงๆ ช่วงวินาทีที่เข็มแทงเข้าไปก็รู้สึกเจ็บนิดหน่อย เหมือนถูกมดต่อย แต่สักพักก็ไม่รู้สึกเจ็บอะไร และหลังจากนั้นมาเมื่อมีรถบริจาคมารับบริจาคโลหิตอีกใน 3 เดือนให้หลัง ผมก็เลยไปบริจาคกับเขาอีก ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาผมก็บริจาคเลือดมาโดยตลอด ไม่เคยขาด โดยบริจาคทุกๆ 3 เดือนหรือปีละ 4 ครั้ง”
นับตั้งแต่บริจาคเลือดเมื่อครั้งอายุ 17-18 ปี บัดนี้อายุ 52 ปี เรียกได้ว่า นายมานะ บริจาคเลือดไปไม่น้อยกว่า 100 กว่าครั้ง ซึ่งเจ้าตัวก็เปิดเผยให้ทราบว่าบริจาคเลือดติดต่อกันมาแล้วถึง 166 ครั้ง ได้รับเข็มเชิดชูต่างๆ มากมาย ซึ่งที่พิเศษก็คือเลือดของตนเป็นหมู่เลือด Rh- ซึ่งเป็นหมู่เลือดพิเศษ หาได้ยาก ทำให้เป็นที่ต้องการมาก ซึ่งสภากาชาดไทยก็จะจัดให้คนที่มีหมู่เลือดนี้อยู่ในชมรมผู้บริจาคหมู่โลหิตพิเศษ เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ เพราะหากรักษาให้สุขภาพดีแข็งแรงอยู่เสมอก็จะสามารถมาบริจาคเลือดได้บ่อยครั้ง คือทุกๆ 3 เดือน โดยในชมรมก็จะมีการติดตามให้มาบริจาคเลือดทุก 3 เดือนด้วยเช่นกัน
เรียกได้ว่า การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริจาคเลือด ซึ่งการจะบริจาคเลือดติดต่อกันตั้งแต่วัยรุ่นจนกระทั่งเป็นหนุ่มใหญ่วัย 50 กะรัต แสดงว่าจะต้องมีสุขภาพร่างกายที่ดีและแข็งแรงมาก ซึ่งนายมานะ กระซิบบอกถึงการดูแลสุขภาพของตนเองให้ฟังว่า สิ่งสำคัญคือเรื่องของ อาหาร และ การออกกำลังกาย โดยอาหารนั้นให้กินตามปกติ 3 มื้อ แต่อาหารควรที่จะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆ อย่ากินอาหารซ้ำๆ แบบเดิม
“ข้อห้ามสำคัญสำหรับคนบริจาคเลือดเลยอย่างผมเลยคือ ไม่กินเหล้า และไม่สูบบุหรี่ ส่วนการออกกำลังกายผมอาศัยการจ็อกกิ้งวันละ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ก็อาศัยการไปวิ่งมินิมาราธอน ฮาล์ฟมาราธอน และมาราธอนด้วย ก็ช่วยให้ผมมีสุขภาพที่แข็งแรงจนถึงทุกวันนี้”
นายมานะ ฝากอีกว่า อยากเชิญชวนให้คนทั่วไปรักษาสุขภาพให้แข็งแรง แล้วมาร่วมบริจาคโลหิต ซึ่งไม่ได้น่ากลัวและเจ็บอย่างที่คิดหรือกังวล ตนในฐานะคนเคยกลัวมาก่อน ก็ยังผ่านจุดนั้นมาได้ นอกจากนี้ การบริจาคโลหิตเป็นเรื่องที่ดี เพราะถือเป็นผู้ให้ เป็นการทำบุญช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ที่สำคัญทำแล้วคุณจะเกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองได้ทำความดีและมีความสุขกับการเป็นผู้ให้ที่อย่างน้อยเลือดของคุณก็สามารถนำไปช่วยชีวิตของผู้อื่นได้ต่อไป
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 10 มีนาคม 2557
โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
การเป็นผู้ให้บ่งบอกได้ชัดเจนว่าคุณคือผู้ที่ “เสียสละ” แล้วหากเป็นการให้ชีวิตที่เพียงเสียสละเลือดในร่างกายเพียงแค่ 1 ยูนิต ซึ่งไม่ถึงกับทำให้ตาย แต่สามารถต่อลมหายใจให้ผู้ที่กำลังเข้าสู่เงื้อมมือมัจจุราชให้กลับมามีชีวิตขึ้นใหม่ได้อีกครั้ง จึงถือเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่และสามารถทำได้ง่ายอีกวิธีหนึ่ง
แต่อุปสรรคใหญ่ของการมาบริจาคโลหิตก็คือ ผู้บริจาคต้องมีสุขภาพที่ดีจริงๆ แต่จากการทำงานในปัจจุบันเชื่อได้ว่าส่วนใหญ่มักจะมีอาการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ และที่สำคัญเลยก็คือคนไม่กล้ามาบริจาคโลหิต เพราะกลัวเข็ม กลัวเจ็บ
แม้แต่ นายมานะ กลัดกลีบ อายุ 52 ปี พนักงานธนาคาร ซึ่งล่าสุดได้รับรางวัล “Rh-The Best of Champions for life” หรือผู้บริจาคโลหิตที่บริจาคต่อเนื่องปีละ 4 ครั้งขึ้นไป ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี (ระหว่างปี 2546-2556) ก็เคยยอมรับว่ากลัวเข็มและกลัวเจ็บเช่นกัน
เลือดทุกหยดของ “มานะ กลัดกลีบ” อุทิศแด่ผู้ป่วย
“ผมบริจาคเลือดครั้งแรกเมื่อตอนอายุประมาณ 17-18 ปี ช่วงนั้นยังเรียนวิชา รด.อยู่ ซึ่งเขาก็มีการนำรถรับบริจาคโลหิตมารับบริจาคถึงศูนย์ฝึก ซึ่งครูฝึกก็มีการพูดจาหว่านล้อมเพื่อให้พวกเราออกไปบริจาค โดยยกเรื่องราวของทหารที่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อ จากการต้องเป็นรั้วของชาติเพื่อปกป้องประเทศ และมีความจำเป็นต้องได้รับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือชีวิต จนสุดท้ายก็มาจบตรงที่ว่าหากใครต้องการบริจาคให้แยกแถวไปอยู่อีกแถว”
นายมานะ ย้อนอดีตให้ฟังอีกว่า ตอนนั้นเพื่อนหลายคนก็ลุกขึ้นไปเข้าแถวอีกแถวหนึ่ง และก็ทยอยลุกออกไปเรื่อยๆ จนเกือบจะหมด แต่ตนก็ยังไม่ได้ลุกออกไป เพราะกลัวเข็ม กลัวที่จะต้องเจ็บตัว แต่สุดท้ายก็เรียกได้ว่าต้องลุกตามเพื่อนไป เพราะทุกคนก็ลุกไปบริจาคกันทั้งหมด แต่ใจจริงก็ยังกลัวเข็มอยู่ แต่อีกใจหนึ่งก็รู้สึกสงสาร เมตตาอยากช่วยทหาร
“แต่พอถึงเวลาต้องบริจาคเลือดจริงๆ ช่วงวินาทีที่เข็มแทงเข้าไปก็รู้สึกเจ็บนิดหน่อย เหมือนถูกมดต่อย แต่สักพักก็ไม่รู้สึกเจ็บอะไร และหลังจากนั้นมาเมื่อมีรถบริจาคมารับบริจาคโลหิตอีกใน 3 เดือนให้หลัง ผมก็เลยไปบริจาคกับเขาอีก ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาผมก็บริจาคเลือดมาโดยตลอด ไม่เคยขาด โดยบริจาคทุกๆ 3 เดือนหรือปีละ 4 ครั้ง”
นับตั้งแต่บริจาคเลือดเมื่อครั้งอายุ 17-18 ปี บัดนี้อายุ 52 ปี เรียกได้ว่า นายมานะ บริจาคเลือดไปไม่น้อยกว่า 100 กว่าครั้ง ซึ่งเจ้าตัวก็เปิดเผยให้ทราบว่าบริจาคเลือดติดต่อกันมาแล้วถึง 166 ครั้ง ได้รับเข็มเชิดชูต่างๆ มากมาย ซึ่งที่พิเศษก็คือเลือดของตนเป็นหมู่เลือด Rh- ซึ่งเป็นหมู่เลือดพิเศษ หาได้ยาก ทำให้เป็นที่ต้องการมาก ซึ่งสภากาชาดไทยก็จะจัดให้คนที่มีหมู่เลือดนี้อยู่ในชมรมผู้บริจาคหมู่โลหิตพิเศษ เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ เพราะหากรักษาให้สุขภาพดีแข็งแรงอยู่เสมอก็จะสามารถมาบริจาคเลือดได้บ่อยครั้ง คือทุกๆ 3 เดือน โดยในชมรมก็จะมีการติดตามให้มาบริจาคเลือดทุก 3 เดือนด้วยเช่นกัน
เรียกได้ว่า การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริจาคเลือด ซึ่งการจะบริจาคเลือดติดต่อกันตั้งแต่วัยรุ่นจนกระทั่งเป็นหนุ่มใหญ่วัย 50 กะรัต แสดงว่าจะต้องมีสุขภาพร่างกายที่ดีและแข็งแรงมาก ซึ่งนายมานะ กระซิบบอกถึงการดูแลสุขภาพของตนเองให้ฟังว่า สิ่งสำคัญคือเรื่องของ อาหาร และ การออกกำลังกาย โดยอาหารนั้นให้กินตามปกติ 3 มื้อ แต่อาหารควรที่จะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆ อย่ากินอาหารซ้ำๆ แบบเดิม
“ข้อห้ามสำคัญสำหรับคนบริจาคเลือดเลยอย่างผมเลยคือ ไม่กินเหล้า และไม่สูบบุหรี่ ส่วนการออกกำลังกายผมอาศัยการจ็อกกิ้งวันละ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ก็อาศัยการไปวิ่งมินิมาราธอน ฮาล์ฟมาราธอน และมาราธอนด้วย ก็ช่วยให้ผมมีสุขภาพที่แข็งแรงจนถึงทุกวันนี้”
นายมานะ ฝากอีกว่า อยากเชิญชวนให้คนทั่วไปรักษาสุขภาพให้แข็งแรง แล้วมาร่วมบริจาคโลหิต ซึ่งไม่ได้น่ากลัวและเจ็บอย่างที่คิดหรือกังวล ตนในฐานะคนเคยกลัวมาก่อน ก็ยังผ่านจุดนั้นมาได้ นอกจากนี้ การบริจาคโลหิตเป็นเรื่องที่ดี เพราะถือเป็นผู้ให้ เป็นการทำบุญช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ที่สำคัญทำแล้วคุณจะเกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองได้ทำความดีและมีความสุขกับการเป็นผู้ให้ที่อย่างน้อยเลือดของคุณก็สามารถนำไปช่วยชีวิตของผู้อื่นได้ต่อไป
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 10 มีนาคม 2557