สสว.ชี้เอสเอ็มอีร้อนเงิน
Posted: 10 Mar 2014, 16:18
สสว.ชี้เอสเอ็มอีร้อนเงิน
สสว.ระบุ เอสเอ็มอีร้อนเงิน แห่ขอกู้ดอกเบี้ยต่ำกว่าหมื่นราย หลังโดนพิษการมืองกระหน่ำเดือดร้อนหนัก พร้อมเตรียมเพิ่มโอกาสทางด้านการค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค
นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งเปิดตั้งแต่วันที่ 19 ก.พ.ว่า มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 10,000 ราย สนใจขอรับความช่วยเหลือ โดยโทรเข้ามาที่แสดงความต้องการที่สายด่วน สสว. 1301 และที่ www.sme.go.th สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการมากที่สุด คือ ช่วยเหลือด้านการเงิน โดยเฉพาะขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มในอัตราดอกเบี้ยพิเศษมากที่สุด รองลงมา ขอพักชำระเงินต้น และการขยายระยะเวลาชำระหนี้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนได้รับช่วยเหลือจากสถาบันการเงินแล้ว 50 ราย ส่วนที่เหลือ สสว. จะนำส่งข้อมูลให้สถาบันการเงินดำเนินการต่อไป
สำหรับ มาตรการความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อบรรเทาผลกระทบ และลดภาระหนี้ให้กับผู้ประกอบการ คือ การพักชำระเงินต้นเป็นเวลา 6-12 เดือน , การขยายระยะเวลาชำระหนี้ ระยะเวลา 3-12 เดือน และการให้สินเชื่อเพิ่มในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ได้รับความร่วมมือจาก 5 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
ส่วนมาตรการช่วยเหลือด้านการตลาด สสว. นั้น ทางผู้ประกอบการก็ได้แสดงความต้องการมาเช่นกัน ซึ่งสสว.ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยตลาดในประเทศ จะจัดพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานเพื่อขอใช้พื้นที่ในย่านกลางเมือง เช่น หัวหมาก พหลโยธิน รวมทั้งจะจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการไทยและคู่ค้าจากต่างประเทศในกลุ่มธุรกิจภาพยนตร์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
นอกจากนี้ จะสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการค้าของผู้ประกอบการผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ส่วนตลาดต่างประเทศ จะนำผู้ประกอบการไปร่วมงานแสดงและจำหน่ายสินค้าในประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น ออสเตรเลีย ออสเตรีย มาเลเซีย พม่า และจีน รวมทั้งจะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการ โดยจัดหลักสูตรอบรม เพื่อให้ข้อมูลความรู้กับผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ในเดือนมี.ค.-เม.ย. นี้ ด้จัดอบรมหัวข้อดีจิตัล มาเก็ตติ้ง , แนวโน้มอี-คอมเมิร์ช , ระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และการบริหารจัดการความเสี่ยง และจัดกิจกรรมศึกษาดูงานผู้ประกอบการต้นแบบที่มีการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอี
ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 10 มีนาคม 2557
สสว.ระบุ เอสเอ็มอีร้อนเงิน แห่ขอกู้ดอกเบี้ยต่ำกว่าหมื่นราย หลังโดนพิษการมืองกระหน่ำเดือดร้อนหนัก พร้อมเตรียมเพิ่มโอกาสทางด้านการค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค
นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งเปิดตั้งแต่วันที่ 19 ก.พ.ว่า มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 10,000 ราย สนใจขอรับความช่วยเหลือ โดยโทรเข้ามาที่แสดงความต้องการที่สายด่วน สสว. 1301 และที่ www.sme.go.th สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการมากที่สุด คือ ช่วยเหลือด้านการเงิน โดยเฉพาะขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มในอัตราดอกเบี้ยพิเศษมากที่สุด รองลงมา ขอพักชำระเงินต้น และการขยายระยะเวลาชำระหนี้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนได้รับช่วยเหลือจากสถาบันการเงินแล้ว 50 ราย ส่วนที่เหลือ สสว. จะนำส่งข้อมูลให้สถาบันการเงินดำเนินการต่อไป
สำหรับ มาตรการความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อบรรเทาผลกระทบ และลดภาระหนี้ให้กับผู้ประกอบการ คือ การพักชำระเงินต้นเป็นเวลา 6-12 เดือน , การขยายระยะเวลาชำระหนี้ ระยะเวลา 3-12 เดือน และการให้สินเชื่อเพิ่มในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ได้รับความร่วมมือจาก 5 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
ส่วนมาตรการช่วยเหลือด้านการตลาด สสว. นั้น ทางผู้ประกอบการก็ได้แสดงความต้องการมาเช่นกัน ซึ่งสสว.ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยตลาดในประเทศ จะจัดพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานเพื่อขอใช้พื้นที่ในย่านกลางเมือง เช่น หัวหมาก พหลโยธิน รวมทั้งจะจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการไทยและคู่ค้าจากต่างประเทศในกลุ่มธุรกิจภาพยนตร์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
นอกจากนี้ จะสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการค้าของผู้ประกอบการผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ส่วนตลาดต่างประเทศ จะนำผู้ประกอบการไปร่วมงานแสดงและจำหน่ายสินค้าในประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น ออสเตรเลีย ออสเตรีย มาเลเซีย พม่า และจีน รวมทั้งจะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการ โดยจัดหลักสูตรอบรม เพื่อให้ข้อมูลความรู้กับผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ในเดือนมี.ค.-เม.ย. นี้ ด้จัดอบรมหัวข้อดีจิตัล มาเก็ตติ้ง , แนวโน้มอี-คอมเมิร์ช , ระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และการบริหารจัดการความเสี่ยง และจัดกิจกรรมศึกษาดูงานผู้ประกอบการต้นแบบที่มีการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอี
ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 10 มีนาคม 2557