คุรุสภาคุมเข้มพฤติกรรมครู
Posted: 10 Mar 2014, 17:08
คุรุสภาคุมเข้มพฤติกรรมครู
กมว.เห็นชอบแนวทางการใช้ดุลยพินิจกำหนดระดับความผิดทางจรรยาบรรณวิชาชีพ ชี้โทษสูงสุดเพิกถอนใบอนุญาตฯ พร้อมตั้งคุรุสภาจังหวัดติดตามพฤติกรรมครู
วันนี้(10 มี.ค.) ดร.พลสัณฑ์ โพธิ์ศรีทอง ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ(กมว.) คุรุสภา เปิดเผยว่า ปี 2557 กมว.ได้กำหนดให้เป็นปีรณรงค์มาตรฐานวิชาชีพ โดยจะเร่งดำเนินการสะสางปัญหาต่างๆของครูที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพให้ เรียบร้อย โดยในเบื้องต้นได้สรุปข้อบังคับว่าด้วยการกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพปี 2556ทั้งหมด 13 ประเด็น ที่ได้มาจากผู้ร้องเรียน บัตรสนเท่ห์ หรือออกตามสื่อต่างๆ ในกรณีที่ครูกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งกมว.ได้วินิจฉัยข้อมูลเสร็จสิ้นแล้ว สามารถสรุประดับความผิด ได้แก่ ตักเตือนและภาคทัณฑ์จำนวน 5 เรื่อง และพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จำนวน 8 เรื่อง
ดร.พลสัณห์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับในปี 2557 กมว.เห็นว่าการกระทำความผิดของครูเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการเร่งด่วน เพราะถือว่าครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ดังนั้นกมว.จึงมีมติเห็นชอบแนวทางการใช้ดุลยพินิจกำหนดระดับความผิดทาง จรรยาบรรณของวิชาชีพ และให้คุรุสภาออกประกาศแจ้งให้ครูทั่วประเทศรับทราบ ทั้งทางหนังสือเวียนและทางเว็บไซต์ของคุรุสภา โดยแนวทางการใช้ดุลยพินิจดังกล่าวได้นำกรณีตัวอย่างจากคำตัดสินของคณะ กรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.) มาใช้เทียบเคียงกำหนดระดับความผิดที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 6 กรณี คือ 1.กรณีความผิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันชู้สาว 2. กรณีความผิดเกี่ยวกับการเสพสุรา 3.กรณีความผิดเกี่ยวกับการเล่นการพนัน 4. กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ 5. กรณีความผิดเกี่ยวกับการลงโทษศิษย์หรือนักเรียน และ 6.กรณีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งในแต่ละกรณีจะมีระดับความผิดตั้งแต่ การตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต ตามความร้ายแรงแห่งกรณี
“ คุรุสภาไม่มีหน้าที่ไปวิ่งไล่ตามความประพฤติของครูทั่วประเทศ แต่จะคอยควบคุมดูแลและรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย ก่อนส่งให้ฝ่ายกฏหมายพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอน อย่างไรก็ตามเพื่อให้การติดตามความประพฤติครูทั่วถึง ทางกมว.จะตั้งคุรุสภาจังหวัดขึ้นทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงาน เพื่อสอดส่องวินัย และจรรยาบรรณของครู แต่ก็ต้องยอมรับว่าครูบางคนมีพฤติกรรมที่ไม่ได้เรื่องทั้งส่วนตัวและการสอน แต่ไม่มีหลักฐานจึงไม่สามารถเอาผิดได้ ดังนั้นหากมีคุรุสภาจังหวัดติดตามใกล้ชิดก็จะสามารถหาหลักฐานมาเอาผิดได้ ส่วนกรณีที่ได้รับการร้องเรียนมากว่าในช่วงปิดภาคเรียนข้าราชการครูจำนวนมาก ข้ามไปเล่นพนันฝั่งกัมพูชานั้น ต้องดูว่าต้นสังกัดจัดการหรือไม่อย่างไร แต่ในส่วนคุรุสภาหากมีข้อเท็จจริงเชื่อถือได้และสอบสวนแล้วก็ต้องลงโทษตาม ระดับความผิดแน่นอน” ดร.พลสัณห์ กล่าว
ที่มา เดลินิวส์
ที่มา 10 มีนาคม 2557
กมว.เห็นชอบแนวทางการใช้ดุลยพินิจกำหนดระดับความผิดทางจรรยาบรรณวิชาชีพ ชี้โทษสูงสุดเพิกถอนใบอนุญาตฯ พร้อมตั้งคุรุสภาจังหวัดติดตามพฤติกรรมครู
วันนี้(10 มี.ค.) ดร.พลสัณฑ์ โพธิ์ศรีทอง ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ(กมว.) คุรุสภา เปิดเผยว่า ปี 2557 กมว.ได้กำหนดให้เป็นปีรณรงค์มาตรฐานวิชาชีพ โดยจะเร่งดำเนินการสะสางปัญหาต่างๆของครูที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพให้ เรียบร้อย โดยในเบื้องต้นได้สรุปข้อบังคับว่าด้วยการกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพปี 2556ทั้งหมด 13 ประเด็น ที่ได้มาจากผู้ร้องเรียน บัตรสนเท่ห์ หรือออกตามสื่อต่างๆ ในกรณีที่ครูกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งกมว.ได้วินิจฉัยข้อมูลเสร็จสิ้นแล้ว สามารถสรุประดับความผิด ได้แก่ ตักเตือนและภาคทัณฑ์จำนวน 5 เรื่อง และพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จำนวน 8 เรื่อง
ดร.พลสัณห์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับในปี 2557 กมว.เห็นว่าการกระทำความผิดของครูเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการเร่งด่วน เพราะถือว่าครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ดังนั้นกมว.จึงมีมติเห็นชอบแนวทางการใช้ดุลยพินิจกำหนดระดับความผิดทาง จรรยาบรรณของวิชาชีพ และให้คุรุสภาออกประกาศแจ้งให้ครูทั่วประเทศรับทราบ ทั้งทางหนังสือเวียนและทางเว็บไซต์ของคุรุสภา โดยแนวทางการใช้ดุลยพินิจดังกล่าวได้นำกรณีตัวอย่างจากคำตัดสินของคณะ กรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.) มาใช้เทียบเคียงกำหนดระดับความผิดที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 6 กรณี คือ 1.กรณีความผิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันชู้สาว 2. กรณีความผิดเกี่ยวกับการเสพสุรา 3.กรณีความผิดเกี่ยวกับการเล่นการพนัน 4. กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ 5. กรณีความผิดเกี่ยวกับการลงโทษศิษย์หรือนักเรียน และ 6.กรณีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งในแต่ละกรณีจะมีระดับความผิดตั้งแต่ การตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต ตามความร้ายแรงแห่งกรณี
“ คุรุสภาไม่มีหน้าที่ไปวิ่งไล่ตามความประพฤติของครูทั่วประเทศ แต่จะคอยควบคุมดูแลและรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย ก่อนส่งให้ฝ่ายกฏหมายพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอน อย่างไรก็ตามเพื่อให้การติดตามความประพฤติครูทั่วถึง ทางกมว.จะตั้งคุรุสภาจังหวัดขึ้นทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงาน เพื่อสอดส่องวินัย และจรรยาบรรณของครู แต่ก็ต้องยอมรับว่าครูบางคนมีพฤติกรรมที่ไม่ได้เรื่องทั้งส่วนตัวและการสอน แต่ไม่มีหลักฐานจึงไม่สามารถเอาผิดได้ ดังนั้นหากมีคุรุสภาจังหวัดติดตามใกล้ชิดก็จะสามารถหาหลักฐานมาเอาผิดได้ ส่วนกรณีที่ได้รับการร้องเรียนมากว่าในช่วงปิดภาคเรียนข้าราชการครูจำนวนมาก ข้ามไปเล่นพนันฝั่งกัมพูชานั้น ต้องดูว่าต้นสังกัดจัดการหรือไม่อย่างไร แต่ในส่วนคุรุสภาหากมีข้อเท็จจริงเชื่อถือได้และสอบสวนแล้วก็ต้องลงโทษตาม ระดับความผิดแน่นอน” ดร.พลสัณห์ กล่าว
ที่มา เดลินิวส์
ที่มา 10 มีนาคม 2557