โมเดลง่ายๆดูแลโรคหืดปอดอุดกั้นเวิร์ก
โมเดลรักษาโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่ายได้ผล เครือข่ายโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นจับมือ สปสช.-บริษัทเอกชน ลุยช่วยเหลือผ่านไป 4 ปี ลดการนอน รพ.ได้ถึง 29% ตั้งเป้าอีก 5 ปี ไม่มีผู้ป่วยหนักต้องนอน รพ.แม้แต่รายเดียว
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับเครือข่ายคลินิกโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (Easy Asthma and COPD Clinic Network) บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด จัดประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 10 เรื่องความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดย รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย กล่าวว่า โรคหอบหืดเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมและการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ โดยหากพบว่าบ้านไหนที่พ่อสูบบุหรี่ ลูกก็มีโอกาสเป็นโรคหอบหืดมากขึ้น หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีไรฝุ่นมากๆ จะส่งผลให้เป็นโรคหอบหืดได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องดูแลความสะอาดของที่อยู่อาศัยให้ปราศจากฝุ่นอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่เป็นโรคแล้วนั้นก็ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องกังวล เพราะโรคดังกล่าวหากตรวจพบเร็วก็สามารถรักษาได้ หากมีอาการไอ หอบ หายใจดังวี้ดๆ ในช่วงกลางคืน และเป็นๆ หายๆ ก็มีโอกาสจะเป็นโรค และให้สันนิษฐานว่าเป็นโรคนี้ จึงขอให้ไปพบแพทย์เพื่อจะได้ทำการตรวจรักษาได้อย่างทันท่วงที
รศ.นพ.วัชรากล่าวว่า จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล (รพ.) เพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2548 พบมีผู้ป่วยเข้ารักษาที่ รพ.จำนวน 66,679 คน และเพิ่มสูงขึ้นในปี 2554 เป็น 112,961 คน และมีผู้ป่วยอาการรุนแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉินปีละกว่า 1 ล้านคน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผู้เสียชีวิตปีละประมาณกว่า 1 พันราย ทั้งนี้ เป็นเพราะสภาพแวดล้อม ประกอบกับที่ผ่านมาเรามีผู้เชี่ยวชาญน้อย ยิ่งในพื้นที่ห่างไกลยิ่งไม่มีเลย ดังนั้นเลยคิดโมเดลให้ รพ.เล็กๆ สามารถรักษาผู้ป่วยโรคเหล่านี้ได้ และเกิดเป็นโครงการพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคหอบหืดตามรูปแบบโปรแกรมอีซี่แอทม่า สำหรับหน่วยบริการขึ้นมาเมื่อปี 2552 โดยสนับสนุน รพ.ในการตั้งคลินิกโรคหอบหืดแบบง่ายด้วยการพ่นยาสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาหลักในการรักษาโรคดังกล่าว ขณะที่ สปสช.จะให้เงินสนับสนุนให้กับ รพ.ที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ดี และเงินสำหรับการลดจำนวนผู้ป่วยนอน รพ.
หลังดำเนินโครงการดังกล่าวประมาณ 3-4 ปีมานี้ พบว่าจากจำนวนผู้ป่วยโรคหอบหืดที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพประมาณ 2 แสนราย เข้ามารับการรักษาที่คลินิกประมาณ 30% ในจำนวนนี้พบว่าสามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวต่อที่ รพ.ได้ถึง 29% ซึ่งต่อจากนี้ได้มีการตั้งเป้าเอาไว้ว่าใน 4-5 ปีข้างหน้าจะต้องไม่มีผู้ป่วยอาการหนักจนต้องนอนที่ รพ.เลย หรือยอดการนอน รพ.เป็นศูนย์
ด้านนายวิริยะ จงไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด ทางบริษัทได้ให้การสนับสนุนด้านองค์ความรู้สำหรับเครือข่ายโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่ายมาตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยเอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ทำให้ที่ผ่านมาผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีขึ้น สามารถประกอบอาชีพได้ ถือว่าเห็นผลพอสมควร แม้ว่าจะยังมีอีกหลายคนที่ยังเข้าไม่ถึงการรักษาตรงนี้ ดังนั้นจึงหวังว่าจะมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการดำเนินโครงการนี้อย่างยั่งยืน และคาดว่าน่าจะมีการขยายความร่วมมือกันไปดูแลโรคอื่นๆ ที่เป็นปัญหาด้วยเช่นกัน เช่น โรคภูมิแพ้ เป็นต้น.
ที่มา ไทยโพสต์
วันที่ 12 มีนาคม 2557
- Board index การใช้งานบอร์ด และข่าวสาร ERP ไทย / PlanetOne ERP / งานบัญชี / Linux แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
โมเดลง่ายๆดูแลโรคหืดปอดอุดกั้นเวิร์ก
-
- Posts: 7045
- Joined: 29 Mar 2013, 13:36
Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”
Jump to
- การใช้งานบอร์ด และข่าวสาร ERP ไทย / PlanetOne ERP / งานบัญชี / Linux
- ↳ กฏการใช้บอร์ด
- ↳ แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
- คำถาม คำตอบเกี่ยวกับระบบ ไทย ERP: AdvanceBusinessSystem - PlanetOne และ ERP ระบบบัญชี
- ↳ ข้อมูลหลัก (Master Data)
- ↳ ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory)
- ↳ ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Account Payable)
- ↳ ระบบบัญชีลูกหนี้ (Account Receivable)
- ↳ ระบบขาย (Sales System)
- ↳ ระบบจัดซื้อ (Purchasing System)
- ↳ ระบบบัญชีทั่วไป (General Ledger and Financial Statement)
- ↳ ระบบผลิตและวางแผนการผลิต (Manufacturing / Shop Floor Control / Production Planning)
- ↳ ระบบบริหารงานบุคคล (Human Resource Management / HRM)
- ↳ ระบบบริหารสินทรัพย์ (Assets Management)
- ↳ ระบบลูกค้าสัมพันธ์ และบริการ (CRM / Service Center / Call Center)
- ↳ ระบบต้นทุนสินค้า (Product / Job Costing)
- ↳ หัวข้อทั่วไป
- การติดตั้ง ใช้งาน Linux, OSX และ OpenSource Softwares
- ↳ การใช้งาน PostgreSQL
- ↳ การใช้งาน Java และ JVM
- ↳ การใช้งาน Dart
- ↳ การใช้งาน Linux
- ↳ การใช้งาน Mac และ OSX
- AdvanceBusinessSystem Developer Forum
- ↳ Java Programming Techinics
- ↳ ABS Developer Exchange
- ↳ การ admin ระบบ