กนง.เสียงแตกลดดอกเบี้ย0.25%
Posted: 12 Mar 2014, 17:15
กนง.เสียงแตกลดดอกเบี้ย0.25%
กนง.มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 2 % หลังประเมินเศรษฐกิจมีความเสี่ยง การเมืองยังยืดเยื้อ พร้อมปรับจีดีพีปีนี้โตต่ำกว่า 3 %
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน และในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนง.มีมติ 4 ต่อ 3 ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 2% จาก 2.25% ต่อปีโดยมีผลทันที เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่าความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมีมากขึ้น สถานการณ์การเมืองที่ยังยืดเยื้อ นโยบายการเงินจึงสามารถผ่อนคลายเพิ่มเติมได้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน กนง.ได้พิจารณาปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีนี้ลง โดยคาดว่าจะต่ำกว่า 3% ซึ่งจะต้องติดตามการประกาศตัวเลขอีกครั้งในวันที่ 21 มี.ค. นี้
"คณะกรรมการ 3 ท่านที่มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ย เพราะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันยังเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่ได้มาจากปัจจัยทางการเงิน จึงควรรอจังหวะเวลาที่เหมาะสม หรือเก็บกระสุนไว้ใช้ในยามจำเป็นมากกว่า ในยามที่นโยบายการเงินมีประสิทธิผลในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ"
ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 12 มีนาคม 2557
กนง.มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 2 % หลังประเมินเศรษฐกิจมีความเสี่ยง การเมืองยังยืดเยื้อ พร้อมปรับจีดีพีปีนี้โตต่ำกว่า 3 %
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน และในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนง.มีมติ 4 ต่อ 3 ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 2% จาก 2.25% ต่อปีโดยมีผลทันที เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่าความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมีมากขึ้น สถานการณ์การเมืองที่ยังยืดเยื้อ นโยบายการเงินจึงสามารถผ่อนคลายเพิ่มเติมได้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน กนง.ได้พิจารณาปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีนี้ลง โดยคาดว่าจะต่ำกว่า 3% ซึ่งจะต้องติดตามการประกาศตัวเลขอีกครั้งในวันที่ 21 มี.ค. นี้
"คณะกรรมการ 3 ท่านที่มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ย เพราะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันยังเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่ได้มาจากปัจจัยทางการเงิน จึงควรรอจังหวะเวลาที่เหมาะสม หรือเก็บกระสุนไว้ใช้ในยามจำเป็นมากกว่า ในยามที่นโยบายการเงินมีประสิทธิผลในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ"
ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 12 มีนาคม 2557