Page 1 of 1

ระบบสมองกลอัจฉริยะ

Posted: 17 Mar 2014, 13:20
by brid.ladawan
ระบบสมองกลอัจฉริยะ

นักศึกษาจากทีมคณะวิศว กรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้พิสูจน์ให้เห็นจากการคว้าชัยชนะจากการแข่งขันประชันทักษะระบบสมองกลฝังตัวชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 8

การนำเทคโนโลยีสารสน เทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนมาส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย โดยจัด

ให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับจัดการเรียนการสอน

นักศึกษาจากทีมคณะวิศว กรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้พิสูจน์ให้เห็นจากการคว้าชัยชนะจากการแข่งขันประชันทักษะระบบสมองกลฝังตัวชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 8 (TESA Top Gun Rally) ที่จัดขึ้นโดยสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (Thai Embedded Systems Association) หรือ TESA

ถือเป็นเวทีระดับประเทศในการค้นหาสุดยอดฝีมือวิศวกรทางด้านระบบสมองกลฝังตัวของประเทศไทย ในระบบเครือข่าย ควบคุม และตรวจวัดประมาณการใช้ไฟฟ้ารายอุปกรณ์ (Energy Controller and Monitoring in Home Area Network)

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษาทีมผู้ชนะเลิศ อธิบายว่า “ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System)” เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่พัฒนาใช้เป็นอุปกรณ์ควบคุมอัจฉริยะฝังไว้ในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความฉลาดและความสามารถในการทำงานที่กำหนดไว้กับอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านั้นผ่านซอฟต์แวร์

ซึ่งปัจจุบันมีการนำระบบสมองกลฝังตัวมาประยุกต์ใช้ทุกวงการ และมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างกว้างขวาง เช่น ยานยนต์ สมาร์ทโฟน เครื่องมือวัดทางการแพทย์ หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ เครื่องเล่นเกม เป็นต้น

ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อนำมาพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้ก้าวลํ้ามีคุณภาพมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะก้าวเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราจำเป็นที่จะต้องพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ดังเช่น ระบบสมองกลฝังตัว ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ

สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมของไทย เสริมสร้างคุณภาพชีวิตประชาชน เศรษฐกิจ ที่ยั่งยืน และลดการนำเข้า โดยจะต้องใช้เทคโนโลยีแบบไมโครคอนโทรล เลอร์ มิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Meter) การสื่อสารข้อมูลแบบเครือข่ายไร้สาย Zigbee การถ่ายโอนข้อมูลแบบ NFC และการควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน ในการพัฒนาระบบ

ทั้งนี้จะเห็นแล้วว่าการนำบทเรียนที่ได้รับจากห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมโลกแห่งอนาคต พร้อมกับการเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาต่อยอดคุณภาพการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบโจทย์ความเจริญในด้านต่าง ๆ ที่มีผลมาจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง

หรือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และประยุกต์มาใช้ในการพัฒนางานจนเกิดเป็นเทคโนโลยี.

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 12 มีนาคม 2557