กลยุทธ์ไมโครซอฟท์ด้วยการเมือง

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

กลยุทธ์ไมโครซอฟท์ด้วยการเมือง

Post by brid.ladawan »

กลยุทธ์ไมโครซอฟท์ด้วยการเมือง

ก็ได้เขียนในบทความที่แล้วเกี่ยวกับไมโครซอฟท์ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่คือ บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งลาออกจากประธานกรรมการ สตีฟ บอลเมอร์ ลาออกจากซีอีโอ และก็ได้เลือกซีอีโอจากภายในบริษัท

นึกไม่ถึงว่ายักษ์ใหญ่ไมโครซอฟท์จะเปลี่ยนขนานใหญ่นอกจากเปลี่ยนซีอีโอ เปลี่ยนประธานกรรมการผู้ถือหุ้น แถมยังจะเปลี่ยนกลยุทธ์การทำธุรกิจด้วยนักกลยุทธ์ทางการเมืองมือฉมังระดับโลก

ก็ได้เขียนในบทความที่แล้วเกี่ยวกับไมโครซอฟท์ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่คือ บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งลาออกจากประธานกรรมการ สตีฟ บอลเมอร์ ลาออกจากซีอีโอ และก็ได้เลือกซีอีโอจากภายในบริษัท เพราะอยู่กับไมโครซอฟท์นานและก็แสดงความสามารถให้ปรากฏชัดเจนตลอดคือ สัตยา นาเดลลา ชาวอินเดีย และที่เปลี่ยนหนักคือ นวัตกรรมทางเชิงกลยุทธ์ โดยเลือกมาร์ค เพนน์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดี บิล คลินตัน มาเป็นผู้นำด้านกลยุทธ์ให้กับไมโครซอฟท์

ซึ่งการมาครั้งนี้มาพร้อมกับอำนาจเต็มซึ่งมาทำคู่กับซีอีโอ สัตยา นาเดลลา ส่วนรองประธานด้านกลยุทธ์และการตลาดเดิม คือ โทนี่ เบทส์ และแทมมี่ เรลเลอร์ ลาออก

จึงคาดว่าไมโครซอฟท์จะเปลี่ยนไปมาก ซึ่งก็น่าจะติดตาม คาดว่าต้องการจะกลับมาเป็นอันดับหนึ่งแทนแอปเปิล ซึ่งได้แซงหน้าไปช่วงสตีฟ จ็อบส์ เป็นซีอีโอ

สำหรับ มาร์ค เพนน์ มีประสบการณ์ทางการเมืองระดับมือฉกาจคนหนึ่ง เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับประธานาธิบดี บิล คลินตัน นางฮิลลารี คลินตัน และก็เคยทำงานด้านกลยุทธ์ให้กับนายกรัฐมนตรี โทนี่ แบลร์ ของอังกฤษ และก็รวมถึง เมนัคเฮ็ม เบกัน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล

นอกจากนี้ มาร์ค เพนน์ ก็เคยช่วยไมโครซอฟท์ทำแคมเปญด้านการตลาดมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2012 ด้วย เช่น การทำให้ไมโครซอฟท์มีส่วนร่วมในงานซูเปอร์โบว์ล โดยมีการรายงานโฆษณาออกจากทีวีว่า เทคโนโลยีของไมโครซอฟท์สามารถช่วยคนพิการได้อย่างไรบ้าง งานซูเปอร์โบว์ลของอเมริกันนั้นถือเป็นงานใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของสหรัฐอเมริกาและระดับโลก โดยมีผู้ชมนับพันล้านคนทั่วโลก

ก็คอยติดตามดูบทบาทและผลงานของมาร์ค เพนน์ ว่าจะเป็นอย่างไร

สำหรับโทนี่ เบทส์ นั้นเป็นซีอีโอของสไกป์ ซึ่งไมโครซอฟท์ได้ซื้อสไกป์ในปี ค.ศ. 2011 และสำหรับโทนี่ เบทส์นั้นก็ถือว่าเป็นคู่แข่งขันซีอีโอของไมโครซอฟท์ด้วยก่อนหน้านี้ หลังจากที่ สตีฟ บอลเมอร์ ประกาศลาออกจากซีอีโอของไมโครซอฟท์เมื่อปีที่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญก็เลยคิดไปว่าหลังหลังจาก สัตยา นาเดลลา ขึ้นเป็นซีอีโอแล้ว โทนี่ เบสท์ก็คงจะต้องไม่อยู่ไมโครซอฟท์แน่

และแทมมี่ เรลเลอร์ ได้อยู่กับไมโครซอฟท์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 โดยดูแลทั้งด้านการเงินและการตลาดในไมโครซอฟท์มาก่อนและเคยเป็นตัวเก็งในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดด้านการเงินเช่นกัน แต่ขณะนี้ผู้มาดูแลด้านการเงินคือ เอมี่ ฮูด ซึ่งเลยคิดว่าน่าจะออกเช่นกัน

วัฒนธรรมการทำงานธุรกิจในสหรัฐ อเมริกามักจะเลือกทางใดทางหนึ่งให้ชัดเจนกันไปเลย เพราะฉะนั้นผู้ที่ไม่ได้รับเลือกทั้ง ๆ ที่เก่งมากก็คงจะไม่ได้อยู่ แม้ว่าจะทำคุณให้กับบริษัทมาก่อนอย่างมหาศาล แต่การออกค่าตอบแทนก็พอสมน้ำสมเนื้อและก็ยังหางานใหม่ได้

ตัวละครซึ่งเป็นซีอีโอของบริษัทยักษ์ใหญ่ไฮเทคชาวสหรัฐอเมริกาน่าสนใจศึกษาและติดตามผลงาน เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับการบริหารธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งจะนำมาใช้ดัดแปลงในธุรกิจไทยก็ไม่แปลก.

ที่มา เดลินิวส์
วันที่13 มีนาคม 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”